ความรู้เบื้องต้นเรื่อง
กระบวนการนโยบายสาธารณะ
Thomas A.Birkland
องค์ประกอบของการกำหนดนโยบาย
การกำหนดนโยบายและการออกแบบนโยบาย
Bardach (1980) ก็กล่าวว่า ความขัดแย้งในกระบวนการกำหนดนโยบาย มีผลต่อเนื่องถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติในภายหลัง
และไม่เฉพาะความขัดแย้งเท่านั้น แต่การขาดความสนใจของผู้มีส่วนร่วมในการออกกฎหมายก็จะนำไปสู่ความล้มเหลว และWinter (2006) ที่กล่าวว่ารากฐานของปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติมักจะพบในช่วงแรกของกระบวนการกำหนดนโยบาย ซึ่งทำให้เกิดความคลุมเครือในเป้าหมาย
1. การนำนโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดเป้าหมายและการกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
2. การนำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถที่จะผลักดันให้กลไกที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน สามารถดำเนินไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์
สิ่งเเวดล้อมทางเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจในแต่ละประเทศ โดยต้องคำนึงถึงขนาดของเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทรัพยากรการผลิตต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์ การกระจายรายได้ ความเป็นเมืองและชนบท
สภานิติบัญญัติ
สภานิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น
สถาบันการบริหาร
อำนาจบริหาร หรือ สถาบันบริหาร หมายถึงบุคคล คณะบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่นำนโยบายของรัฐไปดำเนินการและนำไปปฏิบัติ สถาบันบริหารนั้นนอกจากจะเป็นสถาบันสร้างกฎหมายแล้ว ยังเป็นสถาบันสร้างนโยบายบริหารประเทศด้วย สถาบันบริหารจะนำนโยบาย และกฎหมายที่ผ่านความเป็นชอบของรัฐสภาแล้วไปดำเนินหรือไปปฏิบัติ องค์ประกอบของสถาบันบริหารประกอบด้วย
1.ข้าราชการการเมือง คือข้าราชการซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้มาทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี เพื่อบริหารบ้านเมือง
2. ข้าราชการประจำ คือ บุคลากรซึ่งเป็นกลไกหรือเครื่องมือในการนำนโยบายและกฎหมายไปปฏิบัติ ซึ่งต้องปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมา มีประสิทธิภาพสูง มีความรอบรู้ในหลักวิชาการ มีประสบการณ์ และมีระเบียบประเพณีการประพฤติปฏิบัติที่เป็นแบบอย่าง มีสายการบังคับบัญชาของข้าราชการประจำอย่างชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะอย่างตามความชำนาญ
สิ่งเเวดล้อมทางสังคม
สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราที่คนสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น อาคารบ้านเรือน สิ่งของ เครื่องใช้ต่าง ๆ วัฒนธรรม ประเพณี กฎระเบียบทางสังคม เป็นต้น
โครงสร้างทางสิ่งแวดล้อม
โครงสร้างหลักเหล่านี้จะคลอบคลุมไปด้วยการเเบ่งเเยกของอำนาจ ไปสู่รัฐบาล ระบบของรัฐ และ สหพันธรัฐ ซึ่งโครงสร้างหลักเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการกำหนดกอบเเนวคิด รัฐธรรมนูญ:ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เต็มไปด้วยกฎระเบียบ
ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมามีกฎหมายต่างๆได้อนุญาตให้ประชาชนเข้าถึงรัฐบาลได้ ซึ่งทำให้ประชาชนช่วยสร้างรากฐานการปฎิบัติของรัฐบาล ทั้งการมีส่วนร่วมในนโยบาย ซึ่งทำให้เกิดความคิดเห็นในเชิงสาธารณะ
สิ่งเเวดล้อมทางการเมือง
มีแนวทางหนึ่งในการกำหนดนโยบาย ผู้มีส่วนร่วมในทางการเมืองได้ใช้เป็นตัวเลือกของนโยบายคือการสำรวจความคิดเห็นของสาธารณะ
ความชอบทางกฎหมายของการเมืองในระบอบของประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบส่วนใหญ่ซึ่งก็คือการไว้ใจที่เลือกให้รัฐบาลทำสิ่งที่ถูกต้อง
ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายอย่างเป็นทางการกับ
บทบาทในนโยบายสาธารณะ
แบบที่เป็นทางการ
ภาระที่ต้องรับผิดชอบจะถูกแทรกแซงผ่านทางกฎหมายพวกเขาเหล่านั้นจะมีอำนาจในการกำหนดเกิดเป็นนโยบายขึ้นมา
แบบที่ไม่เป็นทางการ
ประกอบไปด้วยผู้ที่มีบทบาทในกระบวนการนโยบายที่ไม่ได้มีคำอธิบายโดยตรง มีภาระหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงถึงการมีส่วนร่วม
การบริหารเเละระบบราชการ
ระบบราชการ
(bureaucracy)
เป็นรูปแบบโครงสร้างของการจัดองค์การขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปใช้เป็นวิธีการในการจัดองค์การได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่ระบบการบริหารที่ใช้ในองค์การภาครัฐเท่านั้น แต่ในองค์การภาคเอกชนขนาดใหญ่ก็นำไปใช้ด้วย Bureaucracy จึงเป็นระบบการบริหารระบบหนึ่งที่นิยมนำไปใช้ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก
องค์การแบบระบบราชการ
(bureaucracy)
- ยึดหลักการบริหารที่อาศัยความมีเหตุมีผลและความถูกต้องตามกฎหมายในการ
ปฏิบัติงาน
- มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็นทางการตามตัวบทกฎหมาย
- อาศัยหลักความรู้ความสามารถ(ระบบคุณธรรม)เป็นเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล
- สามารถพยากรณ์พฤติกรรมหรือปรากฎการณ์ได้