ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือเรียกย่อๆ ว่า แวต(VAT) คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น

1.ภาษีซื้อ (Input Tax) คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจาการซื้อวัตถุดิบ/สินค้า/สินทรัพย์และบริการต่างๆ จากกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใบกำกับภาษี

1.ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (Tax Invoice) คือเอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ใบกำกับภาษีแบบนี้ต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กรมสรรพากรกำหนด (มาตรา 86/4) และใช้เป็นหลักฐานในการชำระหรือเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.ใบกำกับภาษีอย่างย่อย (Abbreviation Tax Invoice) หรือเรียกย่อๆว่า ABB Tax Invoice คือใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าในลักษณะขายปลีกให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ใบกำกับภาษีอย่างย่อยนี้อาจจะออกด้วยมือหรือออกด้วยเครื่องบันทึกเงินสด ใบกำกับภาษีแบบนี้ใช้เป็นหลักฐานในการชำระหรือเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ ดังนั้นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องแจ้งความประสงค์ต้องการใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

เอกสารที่ถือเป็นใบกำกับภาษี
1.ใบเพิ่มหนี้
2.ใบลดหนี้
3.ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด
4.ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม

สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาประกอบการตั้งอยู่
2.กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
3.กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความกำกับดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ประกอบการตั้งอยู่ก็ได้

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ให้คำนวณภาษีซื้อและภาษีขายประจำเดือน โดยดูจากบัญชีภาษีซื้อและภาษีขายหรือจากรายงานภาษีซื้อและภาษีขายและหาผลต่าง
2.กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ให้คำนวณภาษีขายในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งจะมีผลทำให้ภาษีขายเท่ากับ 0 และคำนวณภาษีซื้อในอัตราร้อยละ 7 ดังนั้นภาษีซื้อจะมียอดมากกว่าภาษีขาย ซึ่งมีผลทำให้ผู้ประกอบการได้รับคืนภาษี

2.ภาษีขาย (Output Tax) คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายวัตถุดิบ/สินค้าและบริการต่างๆ ของกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.ผู้ประกอบที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี
2.ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
3.ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
4.ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว

หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
2.1 รายงานภาษีซื้อ

2.2 รายงานภาษีขาย

2.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

3.ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.ร้อยละ 7 เป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือบริการทุกประเภท รวมทั้งการนำเข้า ซึ่งไม่อยู่ในข่ายยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฏากร อัตรานี้ได้รวมภาษีท้องถิ่นแล้ว(อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับประเทศไทยเดิมใช้อัตราร้อยละ 10 ปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ 7 เป็นการชั่วคราว

2.ร้อยละ 0 เป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือบริการสำหรับการประกอบการดังต่อไปนี้
2.1 การส่งออกสินค้าตามมาตรา 81 (3) และตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.33/2536 ลงวันที่ 24 มิถุยน 2536
2.2 การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำ โดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
2.3 การขายสินค้าหรือการให้บริการส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
2.4 การขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ตามที่อธิบดีกำหนด
2.5 การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนด้วยกันหรือระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก รวมทั้งการขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์กับผู้ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก