สถิติพื้นฐานการวิจัย

คำจำกัดความ

ข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อการบริหารประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การทำสำมะโนครัวเพื่อจะทราบจำนวนพลเมืองในประเทศทั้งหมด

ตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม

ประเภทของสถิติ

Descriptive Statistice

เกี่ยวข้อกับการทำตาราง การพรรณนา การอธิบายข้อมูล

สถิติที่ใช้ เช่น ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน เป็นต้น

Inferential Statistics

วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำไปสู่การลงนัยสรุปไปยังประชากร

สถิติพารามิเตอร์

สถิติไร้พารามิเตอร์

ข้อพิจารณาการใช้สถิติเพื่อการวิจัย

ทราบวัตถุประสงค์ของการนำวิธีการสถิติมาใช้

ทราบประเภทของสถิติที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์

รู้ลักษณะของข้อมูลว่ามีการวัดระดับใด

สามารถกำหนดสถานภาพของตัวแปรที่ศึกษาได้ลว่าเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตาม

รู้หลักการเบื้องต้นของการใช้สถิติ

รู้การนำเสนอ การอ่าน และการตีความหมายผล

ตัวแปร

ตัวแปรอิสระ

คือตัวแปรที่กำหนดขึ้นเพื่อทดสอบสมมติฐานเป็นตัวแปรที่เราเปลี่ยนไปเพื่อจะดูผลที่ตามมา

ตัวแปรตาม

คือตัวแปรที่เปลี่ยนไปตรมตัวแปรต้น หรือผลของตัวแปรต้น

ประเภทของตัวแปรที่ใช้ในสถิติ

ประเภทของตัวแปรตามระดับการของวัด

ตัวแปรกลุ่ม หรือนามมาตร

ตัวแปรอันดับ

ตัวแปรช่วงหรืออันตรภาค

ตัวแปรอัตราส่วน

ประเภทของข้อมูล

นามบัญญัติ

เป็นระดับการวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลหรือตัวแปรออกเป็นกลุ่ม เช่น เพศ อาชีพ

ใช้สถิติง่าย ๆ ในการคำนวณ คือ ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ

เรียงอันดับ

เป็นข้อมูลที่ใช้จัดอันดับของสิ่งของต่าง ๆ โดยจัดเรียงอันดับของข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้จากสูงสุดไปต่ำสุด

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ

อัตรภาค

เป็นข้อมูลที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างค่าที่วัดได้แต่ละช่วง ที่มีความห่างเท่ากัน ทุกช่วงเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข สามารถ บวก ลบ กันได้แต่ไม่มีศูนย์แท้

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ สัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติชั้นสูงทุกตัว

อัตราส่วน

เป็นข้อมูลที่ใช้วัดในระดับสูงสามารถบวก ลบ คูณ หารได้ และมีศูนย์แท้

ข้อมูลเหลานี้สามารถนำไปวิเคราะห์กับสถิติได้ทุกตัว

วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการใช้สถิติเพื่อการวิจัย

พรรณนาคุณสมบัติของหน่วยศึกษา/วิเคราะห์

ศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

ศึกษาการประมาณค่าหรือพยากรณ์

หลักการเบื้อต้นที่สำคัญของการใช้สถิติ

หลีกเลี่ยงการเสนอซ้ำซาก

เสนอในรูปแบบมาตรฐานของแต่ละวิธีการหรือที่วงวิชาการยอมรับ

แปลผลค่าสถิติต่าง ๆ ได้ถูกต้อง

ตีความหมาย