ความพึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ การจัดการและดูแลสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจของนักศึกษา
ขอบเขตด้านประชากร
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาการจัดการ หลักสูตรอุตสาหกรรมการบริการ (การท่องเที่ยว โรงแรม) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 40 คน
ขอบเขตด้านระยะเวลา
ดำเนินการเก็บแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาการจัดการ หลักสูตรอุตสาหกรรมการบริการ (การท่องเที่ยว โรงแรม) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2563
นิยามศัพท์
1. ความพึงพอใจ หมายถึง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการให้บริการในด้านกายภาพ ด้านสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก จนกระทั่งก่อให้เกิดความชื่นชอบ ความรู้สึกยอมรับ พอใจ และประทับใจแก่ผู้มารับบริการในระดับมากที่สุด ระดับมาก ระดับปานกลาง ระดับน้อย และระดับน้อยที่สุด
2. สุนัขจรจัด หมายถึง สุนัขไม่มีเจ้าของ ดูแลรับผิดชอบมีความอิสระในการดำรงชีวิตทั้งการหาอาหารที่อยู่อาศัยและการผสมพันธุ์
3. ความรู้ หมายถึง พฤติกรรมและสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเน้นการจำ ไม่ว่าจะเป็นการระลึกถึงหรือระลึกได้ก็ตาม เป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการเรียนรู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมสาระต่าง ๆ จนกระทั่งพัฒนาไปสู่ขั้นที่มีความ สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยความรู้นี้อาจแยกออกเป็นความรู้เฉพาะสิ่งและความรู้เรื่องสากล เป็นต้น
4. พฤติกรรม หมายถึง การกระทำ หรือกิริยาอาการที่แสดงออกทางร่างกาย ความคิด หรือความรู้สึกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า
5. การจัดการ หมายถึง การให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือสั่งการและการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับสุนัขจรจัดในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2. ทราบเกี่ยวกับการจัดการภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ระเบียบวิธีวิจัย
รูปแบบ/ประเภทของงานวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาการจัดการ หลักสูตรอุตสาหกรรมการบริการ (การโรงแรมและการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 40 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม Google Form โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ศาสนา
ตอนที่ 2 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสุนัขจรจัดของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณในการจัดการดูแลสุนัขจดจัด การดูแลความสะอาด การให้อาหาร การจัดสรรที่อยู่ของสุนัข การดูแลรักษายามเจ็บป่วย การทำหมัน การจัดการกับมูลสุนัข การคุ้ยถังขยะ การสร้างความเดือนร้อน และการจัดการกับซากสุนัขจรจัด ลักษณะของคำถามเป็นแบบประมาณค่า 5 ตามหลักสากล ซึ่งระดับความคิดเห็นของแต่ละคำถามมีดังนี้
เกณฑ์การให้คะแนน
ระดับความคิดเห็น มากที่สุด 5 คะแนน
ระดับความคิดเห็น มาก 4 คะแนน
ระดับความคิดเห็น ปานกลาง 3 คะแนน
ระดับความคิดเห็น น้อย 2 คะแนน
ระดับความคิดเห็น น้อยที่สุด 1 คะแนน
เกณฑ์การแปลความหมาย
คะแนน 4.51 – 5.00 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับมากที่สุด
คะแนน 3.51 – 4.50 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับมาก
คะแนน 2.51 – 3.50 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับปานกลาง
คะแนน 1.51 – 2.50 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับน้อย
คะแนน 0.51 – 1.50 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นคำถามลักษณะปลายเปิด ดังนี้ ข้อเสนอแนะในการเพิ่มเติม ปรับปรุง แก้ไขต่อการจัดการดูแลสุนัขจรจัดของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความน่ารัก ซื่อสัตย์ แสนรู้ และมีความผูกพันกับคนไทยมาอย่างยาวนาน ในช่วงแรก ๆ นั้น จะเป็นการเลี้ยงสุนัขเพื่อเฝ้าบ้าน แต่ในปัจจุบันนี้การเลี้ยงสุนัขจะมีจุดประสงค์ที่เปลี่ยนไป เนื่องจากความน่ารัก และความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสายพันธ์ จึงนิยมเลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความสวยงาม เป็นเพื่อนยามเหงา สุนัขเมื่อแรกเกิดจะตัวเล็ก ซุกซน น่ารัก ขี้อ้อน แต่เมื่อโตขึ้นความน่ารัก ขี้เล่น ขี้อ้อน จะค่อย ๆ หายไป จนอาจทำให้เจ้าของไม่รู้สึกรักและเอ็นดูอย่างแต่ก่อน และสุนัขเมื่อโตขึ้นจะมีโอกาส โรคต่าง ๆ เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นจำนวนเงินที่มากจนเจ้าของไม่สามารถที่จะจ่ายไหว หรือบางครั้งเจ้าของไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ที่มากพอ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงลงเอยด้วยการนำสุนัขไปปล่อยทิ้งข้างทาง วัด หรือสถานศึกษา จากสุนัขที่เคยเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านสวยงามกลายเป็นสุนัขจรจัด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบความพึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คำถามการวิจัย
1. การจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการจัดการที่ดีพอแล้วหรือยัง
2. ควรเพิ่มแนวทาง มาตรการ หรือโครงการในการดูแลสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์หรือไม่
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรม พบว่า เฉลิมพล ตันสกุล (2542) อ้างถึงใน วนิดา เวียงพิทักษ์ (2544) อธิบายไว้ว่า พฤติกรรม หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการกระทําที่บุคคลนั้นแสดงออกมา รวมทั้งกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลและกิจกรรมนี้อาจสังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสหรือไม่สามารถสังเกตได้ประกอบด้วยพฤติกรรมภายในและภายนอกตัวบุคคล
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ พบว่า วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ (2547,33) อธิบายไว้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติในทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นความพอใจในการปฏิบัติต่อสิ่งนั้น
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศรันยู ภักดีวงษ์ (2560) ศึกษาแนวทางการจัดการสุนัขที่ถูกทอดทิ้งในที่สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี โดยร่วมกันดําเนินการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดอย่างไร รวมถึงวิเคราะห์แนวทางในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัด เพื่อเสนอเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา
เบจมาศ สุนนทะนาม และหัชชากร วงศ์สายัณห์ (2561) ศึกษาถึงสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสุนัขจรจัดในกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบนโยบายสาธารณะในท้องถิ่น เกี่ยวกับการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดระหว่างกรุงเทพมหานคร กับเมืองชิคาโก เพื่อศึกษาหาวิธีการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดในกรุงเทพมหานครโดยมีต้นแบบมาจากเมืองชิคาโก
สมปอง เจริญสุข (2556) อธิบายไว้ว่า สุนัขจรจัด หมายถึง สุนัขไม่มีสังกัด ไม่ได้ถูกควบคุมดูแล ในพื้นที่ที่กำหนด และไม่มีเจ้าของ ไม่มีผู้เอาใจใส่ดูแล ส่วนสุนัขที่ไม่มีที่พักอาศัยในบ้านคน หรือในอาคารสถานที่แต่มีคนเลี้ยงมีคนให้อาหาร หรือบางครั้งมีการนำไปตรวจ ดูแลสุขภาพหรือทำหมันให้ ไม่ได้เรียกสุนัขจรจัด แต่ให้เรียกเป็นเป็นสุนัขชุมชน
วิรงรอง หุ้นสุวรรณ และคณะ (2548) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง Rabies Control in Thailand โดยใช้วิธีการศึกษา คือ การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ผลการวิจัยพบว่ามาตรการลดจำนวนสุนัขที่ไม่มีเจ้าของหรือสุนัขจรจัดเป็นวิธีหนึ่งที่จะลดการแพร่ระบาดของโรคได้เพราะสุนัขเหล่านี้ไม่สามารถจับมาฉีดวัคซีนได้ทุกปี และเป็นการตัดวงจรการติดต่อของโรคได้ เนื่องจากผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ ถูกสุนัขไม่มีเจ้าของกัดแต่การกำจัดสุนัขเหล่านี้ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน เนื่องจากขัดต่อหลักศาสนา จึงต้องหาวิธีที่ลดจำนวนสุนัขจรจัดลง เช่น การจับมาฉีดวัคซีน การทำหมัน และการนำไปไว้ในสถานสงเคราะห์สัตว์
สมมติฐานการวิจัย
1.ปัญหาสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีสาเหตุมาจากการดูแลที่ไม่ทั่วถึง
2.ปัญหาสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีสาเหตุมาจากการไม่คุมกำเนิดของสุนัข