1.ปัจจัยในการเลือกซื้ออาหารทะเลแช่แข็งของผู้บริโภคในตำบลท่าศาลา

2.ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ปัจจุบันผู้คนโดยส่วนใหญ่นิยมหันมาดูแลสุขภาพตัวเองกันมากขึ้นซึ่งหนีพ้นการดูแลตนเองในเรื่องของอาหารการกินที่เป็นปัจจัยหลักในการดูแลสุขภาพและที่สำคัญการเลือกซื้ออาหารมาปรุงรับประทานเองก็เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากถ้าหากเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมารับประทาน ประสิทธิภาพที่ควรได้รับจากอาหารประเภทนั้นๆก็น้อยลงตามไปด้วย ซึ่งปัจจัยในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารจึงเข้ามามีบทบาทในการเลือกซื้อมากยิ่งขึ้นทั้งนี้อาหารทะเลแช่แข็งก็เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งที่คนโดยส่วนใหญ่นิยมรับประทานกัน เนื่องจากมีความสะดวกมากในการเลือกซื้อ การเดินทางหรือปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่อาจจะไม่ค่อยมีความสดใหม่มากหนักจึงต้องมีหลักการในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมารับประทาน

3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลแช่แข็งของผู้บริโภคในอำเภอท่าศาลา

เพื่อศึกษาความแตกต่างด้านปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารทะเลแช่แข็งของผู้บริโภคในอำเภอท่าศาลา

4.คำถามการวิจัย

ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารทะเลแช่แข็ง

5.ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าจากตราสินค้า

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยและพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค

6.สมมติฐานของการวิจัย

ปัจจัยการเลือกซื้อและพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็ง

การตัดสินใจเลือกซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในอำเภอท่าศาลา

10.ระเบียบวิธีการวิจัย

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยในการเลือกซื้ออาหารทะเลแช่แข็งของผู้บริโภคในตำบลท่าศาลาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคอาหารแช่แข็ง จำนวน 210 คน และเก็บแบบสอบถามจำนวน 15 ชุด ในหมู่บ้านต่างๆจำนวน 14 หมู่บ้าน และสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 6 ส่วน

9.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ทราบพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในอำเภอท่าศาลา

เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกซื้ออาหารแช่แข็งที่ได้คุณภาพและได้รับสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภค

8.นิยามศัพท์

ผลิตภัณฑ์(Product) หมายถึงสิ่งที่เสนอขายโดยธุรกิจเพื่อตอบสนองความจำเป็น หรือความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจ ประกอบด้วยสิ่งที่สัมผัสได้ และ สัมผัสไม่ได้

ราคา (Price) หมายถึง คุณค่าผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของเงินโดยที่ราคาเป็น P ตัวที่สองที่ เกิดขึ้นมาถัดจากผลิตภัณฑ์ และราคาถือเป็นต้นทุน (Cost) ของผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคจะเปรียบเทียบ ระหว่างคุณค่าผลิตภัณฑ์กับราคาผลิตภัณฑ์นั้นๆ

ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) หมายถึง ลักษณะโครงสร้างของช่องทางการจัดจาหน่าย ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้เพื่อขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการจากหน่วยธุรกิจกระจายไปยังที่ จำหน่ายต่างๆหน่วยงานที่นาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

การส่งเสริมการตลาด (Promotion) หมายถึง การสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลระหว่างผู้ขายและ ผู้ซื้อ เพื่อสร้างความรู้สึก ความต้องการ ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อของผู้ซื้อ

เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือ ตราสินค้าที่ได้รับการคุ้มครองอยากถูกต้อง ตามกฎหมาย ตราสินค้าอาจจะเป็นชื่อตรา เป็นเครื่องหมายตราธุรกิจที่นำไปจดทะเบียนการค้า เพื่อระบุชื่อสินค้า และปูองกันการเลียนแบบจากบุคคลอื่น

ผลิตภัณฑ์ควบ (Augmented Product) หมายถึง ประโยชน์เพิ่มเติม หรือบริการที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่ไปกับตัวสินค้า ประกอบด้วย การติดตั้ง การขนส่ง การให้สินเชื่อ การให้บริการก่อนหลังการขายอื่นๆ

ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง (Expected Product) หมายถึง กลุ่มของคุณสมบัติและ เงื่อนไขที่ผู้ซื้อคาดหวังว่าจะได้รับการใช้เป็นข้อตกลงเมื่อมีการซื้อสินค้า

การบรรจุภัณฑ์ (Packaging) คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การผลิตสิ่ง บรรจุหรือสิ่งห่อหุ้มผลิตภัณฑ์

ศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Potential Product) หมายถึง ส่วนของผลิตภัณฑ์ควบทั้งหมดที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต

7.ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นประชากรในตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 20,394 คน

ตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเลือกจากประชากรโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 210 คน