ไมโครพลาสติกเกี่ยวกับอาหารทะเล

ชื่อเรื่อง

ไมโครพลาสติกเกี่ยวกับอาหารทะเล

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย

ไมโครพลาสติก (Microplastics) คือชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กมากทอี่าจมองไม่เห็นด้วยตา เปล่า ซึ่งปนเปื้อนลงไปในสิ่งแวดล้อม พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้จะย่อยสลายได้จริงก็ต่อเมื่ออยู่บนบกเท่านั้น เพราะว่าบนบกมีแบคทีเรีย มีอุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นปัจจัยที่ช่วยในการย่อยสลาย แต่พอลงสู่ทะเล ในทะเลไม่ได้มี แบคทีเรียชนิดนั้น และอุณหภูมิของน้ําทะเลก็ไม่ได้สูงจนสามารถที่จะย่อยพลาสติกเหล่านั้นได้ เมื่อตกลงไปในทะเล พอถูกแสงแดดพลาสติกจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆลงไปเรื่อยจนสุดท้ายมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเราจึง เรียกพลาสติกชิ้นเล็กๆพวกนี้ว่า‘‘ไมโครพลาสติก”จากการที่สุ่มสํารวจในสัตว์ทะเลได้เเก่ปลาทูจํานวน60ตัว ทําให้ทราบว่าในกระเพาะปลาทุกตัวพบไมโครพลาสติกเฉลี่ย 78.04ชิ้นต่อตัวประกอบไปด้วยลักษณะที่เป็นเส้นใย เเท่งสีดําเเละกลิตเตอร์ซึ่งลักษณะของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือชิ้นสีดําด้วยค่าร้อยละ33.96

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อศึกษาเกี่ยวกับไมโครพลาสติกที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารทะเล

เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับไมโครพลาสติกที่มีความสัมพันธ์กบัพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารทะเล

คำถามของการวิจัย

ไมโครพลาสติกในอาหารทะเลส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.แนวคิดเกี่ยวกับไมโครพลาสติก
1.1 สาเหตุการเกิดไมโครพลาสติก
เกิดจากมนุษย์ที่ทิ้งขยะสู่ทะเลทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ซึ่งขยะดังกล่าวเป็นขยะพลาสติกมีนเกหนักเบาและไม่สามารถย่อยสลายได้ในเวลาที่สนั้จึงถกู พัดพาไปในที่ที่ห่างไกลจากแหล่งกําเนิด โดยคลื่น ลม กระแสน้ํา และน้ําขึ้นน้ําลง ขยะ
1.2 ผลกระทบจากไมโครพลาสติก ไมโครพลาสติกเกิดการถ่ายทอดผ่านกระบวนการห่วงโซ่อาหารหรือการกินเป็นทอดๆจากสตัว์
ทะเลสู่คน หากรับประทานอาหารทะเลที่มีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกาย ส่งผล ให้เกิดโรค ต่างๆตามมา

2.แนวคิดเกี่ยวกับการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม
2.1ปนเปื้อนของสารเคมี
จากปัญหาการทิ้งขยะพลาสติกในทะเลส่งผลต่อ การเคลื่อนย้าย การปนเปื้อน และการเปลี่ยนรูปทางเคมี ของไมโครพลาสติกในระบบนิเวศนํ้าและสิ่งแวดล้อม และ ปัญหาที่กระทบต่อความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ แหล่งน้ําสามารถบอกสาเหตุแหล่งที่มาของปัญหาการปนเปื้อนและเส้นทางการเชื่อมโยงในความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ แหล่งน้ําที่มีความสัมพันธ์กับทุกระบบนิเวศซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ประกอบไปด้วยแหล่งน้ําจืด น้ํากร่อย และน้ําเค็มที่มีความหลากหลาย ทางทรัพยากรชีวภาพของสิ่งมีชีวิต อาทิ พืชน้ํา สัตว์น้ํา สัตว์หน้าดิน ดินตะกอนท้องน้ํา น้ําใต้ดิน จุลินทรีย์ ที่มี การปนเปื้อนสารพิษและสารเคมีที่เกิดจากการสะสมของ สารไมโครพลาสติกส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ํา ไมโครพลาสติกเป็นอนุภาคพลาสติกขนาดเล็ก มีความ สามารถในการดูดซับสิ่งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมบนพื้นผิว ในขณะที่แขวนลอยอยู่ในทะเลเป็นเวลานานได้ทําให้ พื้นผิว ชของไมโครพลาสติกอาจมีสารพิษ สารปนเปื้อนที่ตกค้างอยู่ ในสิ่งแวดล้อมในทะเลเป็นเวลานาน (Persistent organic pollutants--POPs) เช่น สาร PCB, PAH

สมมติฐาน* และกรอบแนวความคิดในการวิจัย *

1.การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับไมโครพลาสติกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารทะเลของ ผู้บริโภค

2.ทัศนคติเกี่ยวกับไมโครพลาสติกมีความสัมพันธ์กบัพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับไมโครพลาสติกที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารทะเล

2.เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับไมโครพลาสติกที่มีความสัมพันธ์กบัพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารทะเล

การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย *

พลาสติก (en:Plastic) เป็นวัสดุในกลุ่มพอลิเมอร์ สังเคราะห์ขึ้นจากสารประกอบอินทรีย์ มีน้ำหนักโมเลกุลสูง สามารถหลอมขึ้นรูปเป็นของแข็งรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย มีการนำมาใช้งานหลากหลายรูปแบบ เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำ ภาชนะ บรรจุภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ท่อประปา เป็นต้น

สิ่งปนเปื้อน (contaminant) หมายถึง สารใดๆ ก็ตามที่ไม่ได้ตั้งใจเติมลงไปในอาหาร แต่มีการปนเปื้อน (contamination) ในอาหารจากสิ่งแวดล้อม การผลิตอาหาร หรือจากความพลั้งเผลอ การปนเปื้อนเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนต่างๆ ระหว่างกระบวนการผลิต จากบรรจุภัณฑ์ (packaging) การขนส่ง หรือการเก็บรักษา ซึ่งมีผลเสียต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร

แบคทีเรีย (bacteria) คือ จุลินทรีย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่เป็นเซลล์แบบโปรแคริโอต (prokariotic cell) พบทั่วไปในธรรมชาติ ดิน น้ำ อากาศ แบคทีเรียมีบทบาทสำคัญต่ออาหาร และการผลิตอาหาร เพราะแบคทีเรียเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (microbial spoilage) และทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning)    ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

นาโนพลาสติก มลพิษชนิดใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น สามารถสร้างความเสียหายต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์อย่างรุนแรงได้ มักอยู่ในรูปของอนุภาคที่แขวนลอยในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากมีขนาดเล็กและสามารถแทรกซึมทางชีวภาพในระดับสูง อนุภาคขนาดจิ๋วนี้จึงเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ผ่านการหายใจ และดูดซึมได้ง่ายโดยผ่านเยื่อบุทางเดินหายใจและเซลล์ปอด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

1.ผลการศึกษาจะทําใหท้ราบถึงทัศนคติที่มีต่อสารปนเปื้อนไมโครพลาสติกของผู้บริโภคชาวไทยและนําไปสู่ประโยชน์ในการปรบังเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่ออาหารทะเลในอนาคต

2.ผลการศึกษาจะทําใหท้ราบถึงแนวทางการสื่อสารที่มีผลต่อการรับรู้สารปนเปื้อนไมโครพลาสติกเพื่อนําไปสู่ผลประโยชน์ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยเข้าใจเรื่องสารไมโครพลาสติกต่อไปในอนาคต

3.ผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคชาวไทยเพื่อสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจอาหารทะเลได้

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยจะมีวิธีวิจัยโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างจากการสํารวจเเบบขั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling)

1.การสุ่มตัวอย่างเเละวิธีการสํารวจสอบถามข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ การสุ่มตัวอย่างในการศึกษาจะเป็นกลุ่ม นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ถนนมหาวิทยาลัยหมู่ที่ 10 ตําบลไทยบุรี อําเภอท่าศาลาจังหวัด นครศรีธรรมราช จํานวน 200 คน ตัวอย่างโดยเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทั้งชายและหญิงที่ได้สมัครใจ เข้าร่วมตอบเเบบสํารวจวิจัย ในการยินยอมตนและนํามาคํานวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของการ เบี่ยงเบนมาตราฐาน มาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล

2.เครื่องมือที่ใช้ในในการวิจัย เก็บเเละรวบรวมข้อมูล เป็นเเบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง โดยจะประกอบไป ด้วย 4 ส่วนดังนี้
ส่วนที่หนึ่ง ข้อมูลทั่วไปมีคําถามโดยจะเป็นข้อมูลเบื้องต้น คือ อายุ เพศเเละสาขาวิชา
ส่วนที่สอง จะเป็นคําถามเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่อง ไมโครพลาสติกในอาหารทะเล เเละการรณรงค์ในการตระหนักเกี่ยวกับการใช้พลาสติก มีลักษณะคําตอบเป็นเเบบเลือกตอบเเละเเบบเติมคําส่วนที่สาม เป็นคําถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในการเลือกทานอาหารทะเล ส่วนที่สี่ เป็นข้อเสนอเเนะเพิ่มเติมของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์