โรคไข้เลือดออก
การวินิจฉัยโรค
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบทั้งหมดของเลือด
เม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว
เกล็ดเลือด
ความเข้มข้นของเลือด
ตรวจภูมิคุ้มกันต่อไข้เลือดออก (IgM) หรือตรวจ NS1 Ag ต่อเชื้อโดยตรง
ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน
เด็กทารกและผู้สูงอายุ
หญิงตั้งครรภ์
ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร
ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างมีประจำเดือนหรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
ผู้ที่มีโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย หรือโรคที่เกิดจากฮีโมโกลบินผิดปกติ
ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ผู้ที่รับประทานยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid)
การป้องกัน
ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด
โดยสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด
ใช้สารไล่ยุงชนิดต่างๆ
DEET
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้านและใกล้เคียง
ปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขังไม่ให้ยุงเข้าไปวางไข่ได้
เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดไม่ได้
ฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกจากสายพันธุ์อื่น ในกรณีที่เคยเป็นไข้หวัดมาแล้ว
สาเหตุ
เชื้อไวรัสเดงกี 4 สายพันธ์ุ
DENV-1
DENV-2
DENV-3
DENV-4
การแพร่ระบาด
ยุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา
อาการ
มีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล
ปวดท้องอย่างรุนแรง กดเจ็บชายโครงด้านขวา
การรักษาอาการเบื้องต้น
ควรดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อลดไข้เป็นระยะๆ
รับประทานอาหารอ่อน
งดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสีคล้ายเลือดเพื่อไม่ให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อน
รับประทานยาลดไข้
ยาพาราเซทตามอลได้แต่ในปริมาณที่แพทย์สั่งเท่านั้น
ห้ามรับประทานยาแอสไพรินและยากลุ่ม NSAID เด็ดขาดเพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายและมากขึ้น