การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง
มีวัตถุประสงค์เพื่อกาจัดสิ่งสกปรก คราบเหงื่อไคล ไขมัน และกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทาให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกสุขสบาย สดชื่น
การเช็ดตัวบนเตียง (bed bath)
การเช็ดตัวให้ผู้ป่วยขณะผู้ป่วยอยู่บนเตียง ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงจากพยาธิสภาพของโรค ถูกจากัดการเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ พยาบาลจะทาการเช็ดร่างกายให้ทุกส่วน (complete bed bath)
สาหรับผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้างแต่ไม่สามารถลุกจากเตียงได้ พยาบาลเป็นผู้ดูแลเช็ดตัวให้เฉพาะส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถเช็ดได้เอง (partial bed bath)
Subtopic
การช่วยเหลือในการอาบน้าในห้องน้า(assisting in the bath room)
พยาบาลเป็นผู้ช่วยเหลือในการพาผู้ป่วยที่สามารถลุกเดินเข้าห้องน้าได้ พร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ และช่วยทาความสะอาดร่างกายในส่วนที่ผู้ป่วยทาไม่ได้
การดูแลให้ผู้ป่วยอาบน้าเอง (self-administrated bath)
ยพยาบาลเป็นผู้เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ และดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุ
หลักการดูแลความสะอาดของผิวหนัง
เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย โดยแจ้งให้ผู้ป่วยทราบก่อนลงมือปฏิบัติทุกครั้ง จัดสภาพแวดล้อมให้มิดชิด
ดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัย โดยยกราวกั้นเตียงด้านที่ไม่มีพยาบาลอยู่ขึ้นทุกครั้ง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความอบอุ่น โดยสถานที่เช็ดตัวควรอบอุ่น
การใช้น้าอุ่นจะช่วยให้รูขุมขนเปิด สามารถกาจัดสิ่งสกปรก คราบเหงื่อไคล ไขมัน กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ออกแรง โดยช่วยเหลือในการเช็ดตัวให้ผู้ป่วยเฉพาะในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติได้เอง
เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วยให้ครบก่อนลงมือปฏิบัติ
การสระผมบนเตียง
วัตถุประสงค์เพื่อกาจัดสิ่งสกปรกที่อยู่บนหนังศีรษะและเส้นผม กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณหนังศีรษะ และทาให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
สิ่งที่พยาบาลต้องคานึงถึง
ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย หากการสระผมอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยก็ควรงดการสระผมไว้ก่อน
อุณหภูมิของน้าที่ใช้ควรใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง
อุณหภูมิของห้องขณะสระผมควรอบอุ่น
เป็นการปฏิบัติสาหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือผู้ป่วยที่พอจะช่วยเหลือตนเองได้แต่ไม่สามารถสระผมได้ตามปกติ
การทาความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
เป็นการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกรวมถึงฝีเย็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและลดการติดเชื้อ กาจัดกลิ่นและสิ่งที่ขับออกมา ทาให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
การทาความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้ปฏิบัติโดยยึดตามหลักการ
ทำความสะอาดทุกครั้งที่ทาความสะอาดร่างกาย และภายหลังการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระ
ไม่เปิดเผยร่างกายผู้ป่วยเกินจำเป็น เปิดเฉพาะบริเวณที่จะทำความสะอาดเท่านั้น
ทำความสะอาดด้านไกลตัวก่อนด้านใกล้ตัว
ใช้สาลีก้อนใหญ่ในการเช็ด โดยใช้ 1 ก้อน ต่อการเช็ด 1 ครั้ง แล้วทิ้ง ไม่ใช้ซ้า
เช็ดจากด้านบนลงด้านล่าง ไม่เช็ดย้อนไปย้อนมา
เมื่อชาระล้างแล้ว ซับให้แห้ง
เมื่อทาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสร็จให้ผู้ป่วยนอนตะแคง เพื่อทาความสะอาดบริเวณก้นแล้วซับให้แห้ง
เอกสารอ้างอิง
สุปาณี เสนาดิสัย และวรรณา ประไพพานิช. (บรรณาธิการ). (2551). การพยาบาลพื้นฐาน: แนวคิดและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลรามาธิบดี.
อัจฉรา พุ่มพวง และคณะ. (2549). การพยาบาลพื้นฐาน: ปฏิบัติการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยสภากาชาดไทย.
การดูแลความสะอาดปากและฟัน
เพื่อขจัดสิ่งหมักหมม และแบคทีเรียในช่องปาก ขจัดกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ ลดการติดเชื้อ ป้องกันเยื่อบุภายในช่องปากแห้งและแตกซึ่งอาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก ช่วยทำให้ลมหายใจสดชื่น และยังช่วยกระตุ้นความอยากรับประทานอาหาร
การแปรงฟัน
ควรทาอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ หลังตื่นนอนตอนเช้า และก่อนนอน
กรณีฟันปลอม
หากผู้ป่วยใส่ฟันปลอมที่สามารถถอดออกได้ ให้ถอดออกมาแปรงทาความสะอาด และให้ผู้ป่วยบ้วนปาก
กรณีผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
ทาความสะอาดปากและฟันหลังตื่นนอน หลังอาหารทุกมื้อ และก่อนนอน หรือตามแผนการรักษา
ผู้ป่วยที่มีปัญหาในช่องปาก เช่น มีแผล ปากแห้ง เป็นต้น ต้องทาความสะอาดปากและฟันทุก 2 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ให้ทาความสะอาดปากและฟันด้วยน้ายาบ้วนปาก
การดูแลความสะอาดเล็บ
วัตถุประสงค์เพื่อขจัดสิ่งหมักหมมและเชื้อโรค เป็นการป้องกันการติดเชื้อ
การดูแลความสะอาดเล็บ มีหลักการคือ
เล็บมือควรตัดเป็นรูปมน ส่วนเล็บเท้าตัดเป็นรูปตรง เพื่อป้องกันเล็บงอกในเนื้อ
ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อหนังกาพร้า และผิวหนังรอบ ๆ
ไม่ตัดเล็บสั้นมากเกินจนถึงเนื้อ
การตัดเล็บในผู้สูงอายุ ให้แช่เล็บในน้าอุ่นก่อนตัดเล็บ
การนวดหลัง
ช่วยทาให้เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดลอกออก เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวหนัง ส่งเสริมสุขภาพของผิวหนัง ป้องกันการเกิดแผลกดทับ ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย
หลักในการนวดหลัง
พยาบาลไม่ควรละมือออกจากผิวหนังผู้ป่วย และควรนวดติดต่อกันเพื่อให้เกิดสัมผัสและแรงกดที่สม่าเสมอ
ไม่นวดหลังในกรณีที่มีบาดแผล รอยแดง รอยบวมช้า ผื่น กระดูกหัก
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคหัวใจต้องทาการตรวจสอบชีพจร และความดันโลหิตก่อน
ห้ามนวดหลังผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ
จัดท่าให้สุขสบาย และความปลอดภัยขณะนวดหลัง
การนวดหลังประกอบด้วยการนวดแบบพื้นฐาน 4 แบบ
การลูบตามยาว (lubricating) เป็นการลูบตามยาวตลอดแนวหลัง
การบีบนวดกล้ามเนื้อ (petrissage) เป็นการบีบนวดหรือกดโดยใช้นิ้วมือทั้ง 2 ข้าง จับกล้ามเนื้อตามยาวสลับกันโดยทาด้านใกล้กระดูกสันหลัง
การกดกล้ามเนื้อ (digital friction) ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางกดคล่อมกระดูกสันหลังทีละข้อ โดยเริ่มจากต้นคอไปถึงก้นกบ
การเคาะ (percussion) แบ่งเป็น 3 วิธี
การสับ (hacking) ใช้สันมือทั้ง 2 ข้าง สับสลับกันตามขวางของลำตัว
การทุบ (beating) มือทั้ง 2 ข้าง กาหลวม ๆ ใช้ด้านที่กำทุบเบา ๆ
การตบ (clapping) ใช้อุ้งมือตบโดยห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันทั้ง 5 นิ้ว เพื่อให้เกิดช่องว่างตรงกลางฝ่ามือ ตบเบา ๆ ขึ้นลงเช่นเดียวกับการสับและการทุบ