การเปรียบเทียบการฝึกทักษะการตีลูกโด่งหลัง
โดยใช้อุปกรณ์ริบบิ้นกับการฝึกแบบปกติในกีฬาแบดมินตัน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการใช้อุปกรณ์
เสริมริบบิ้นในการฝึกทักษะการตีลูกโด่งหลังกับการฝึก
แบบปกติในกีฬาแบดมินตัน

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ผู้เล่นแบดมินตันอยู่ไม่น้อยที่มีทักษะในขั้น
พื้นฐานยังไม่ถูกต้อง ทำ ให้ผู้เล่นนั้นมีแบบฉบับการเล่น
ที่ขาดประสิทธิภาพจึงทำ ให้ไม่พัฒนาของทักษะ และถ้า
ผู้เล่นยังฝึกและเล่นแบบผิดวิธีต่อเนื่องกันมานาน ซึ่ง
จะยากแก่การแก้ไขทักษะให้ถูกต้อง เป็นผลให้ผู้เล่นไม่
สามารถพัฒนาตัวเองไปถึงจุดสุดยอดในกีฬาแบดมินตัน
ได้ ทั้ง ๆ ที่เล่นมานานเหมือนจะดีและดูเก่งขึ้นแต่ไม่
พัฒนาไปกว่าเดิม ดังนั้นผู้เล่น ผู้ฝึกสอนรวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง
ควรจะได้ทำ ความเข้าใจและให้ความสำ คัญกับการฝึก
ทักษะขั้นพื้นฐานให้ถูกต้องโดยละเอียดที่สุดเสียก่อน
ก็จะทำ ให้สามารถพัฒนาทักษะการเล่นไปได้อย่าง
สมบูรณ์ และพลิกแพลงไปได้ทุก ๆ รูปแบบ

ประโยชน์การเล่นกีฬาแบดมินตัน

ทำให้มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ

ทำให้มีสายตาและการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วว่องไว

ทำให้เป็นผู้ที่มีการคาดการณ์ล่วงหน้าได้

ทำให้เป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจได้อยางรวดเร็วทันเวลา

สามารถเข้ากับคนอื่นได้ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

สรุปผลการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ของการฝึกด้วยอุปกรณ์เสริมใน
การฝึกทักษะการตีลูกโด่งหลังและการฝึกแบบปกติก่อน
การทดลองฝึก (Pretest) และหลังการทดสอบสัปดาห์ที่8 (Posttest) ของกลุ่มทดลองที่1 และกลุ่มที่2 แตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ผลสัมฤทธิ์ของการฝึกด้วยอุปกรณ์เสริมใน
การฝึกทักษะการตีลูกโด่งหลัง หลังการทดสอบสัปดาห์
ที่ 8 (Posttest) ของกลุ่มทดลองที่ 1 แตกต่างกับการฝึก
แบบปกติของกลุ่มทดลองที่2 อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. นำข้อมูลที่ได้มาจากการฝึกของกลุ่มทดลอง
ทั้ง 2กลุ่ม หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ค่ามัธยฐาน (Medain) ของคะแนนที่ได้มาจากการ
ทดสอบความสามารถในการตีลูกหน้ามือโด่งหลังในกีฬา
แบดมินตัน ก่อนการฝึก

2. นำข้อมูลที่ได้มาจากการฝึกของกลุ่มทดลอง
ทั้ง 2 กลุ่ม หา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) ค่ามัธยฐาน (Medain) ของคะแนนที่ได้มาจาก
การทดสอบความสามารถในการตีลูกหน้ามือโด่งหลังใน
กีฬาแบดมินตัน หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8

3. วิเคราะห์ผลการทดสอบความแตกต่างของ
คะแนน ระหว่างกลุ่มทดลองที่1กับกลุ่มทดลองที่2 โดย
ใช้สถิติทดสอบแบบ (t-test)