ความคิดเห็นต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา
การศึกษาค้นคว้านี้เป็นการศึกษาหาข้อมูลและเปรียบเทียบเกี่ยวกับการใช้พืชกัญชา ทางด้านการแพทย์ของสหพันธรัฐรัสเซียและประเทศไทย ซึ่งอาจแตกต่างกับประเทศอื่น ๆ ที่ยังไม่เปิด เสรีหรือยังไม่ถูกกฎหมาย รวมไปถึงการนาพืชกัญชามาใช้ทางการแพทย์ที่หลาย ๆ คนเชื่อว่าหากใช้ใน ปริมาณที่เหมาะสมก็จะส่งผลดีกับผู้ใช้ บรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ ประเทศไทยนั้นก็มีกระแสการเรียกร้องให้มีการอนุญาตให้นำกัญชามาใช้ในการรักษาโรค
ขอบเขตการวิจัย :
ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของกัญชาซึ่งกล่าวกันว่าช่วยบรรเทาอาการของโรคพาร์คินสัน โรคหอบหืด และโรคมะเร็งได้ การอภิปรายส่วนใหญ่เกี่ยวกับส่วนผสมหลักสองอย่างของกัญชา เตตร้าไฮดรอแคนาบินอล (THC) และ แคนนาบิดออยล์ (CBD)ที่ทราบกันคือทั้ง THC และ CBD ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ในสมองมนุษย์ แต่การตอบสนองที่สารดังกล่าวก่อให้เกิดนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ THC เป็นส่วนที่ออกฤทธิ์ทางจิตและสารนี้ทำให้เกิด “อาการมึนเมา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องกัญชาทางการแพทย์
ผู้ใช้กัญชาทุกคนควรมีใบสั่งยาหรือใบรับรองเเพทย์อย่างชัดเจนเพื่อระบุเหตุผลในการใชั,ประเทศไทยควรอนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์และทางการวิจัยมี่ค่าเฉลี่ย 4.24% และ 4.44% อยู่ในระดับดีมาก ผู้มีกัญชาไว้ครอบครองควรมีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี และพร้อมกับค่าปรับค่อนข้างสูง,ควรให้กัญชาถูกต้องตามกฎหมายทางการเกษตรมีค่าเฉลี่ย 3.60% และ 4.16% อยู่ในระดับดี ส่วนกัญชาทำให้มีอาการมึนเมาอย่างเดียวมีค่าเฉลี่ย 3.08% อยู่ในระดับปานกลาง ตอนที่ 2 ความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องกัญชาทางการแพทย์ กัญชาได้รับการรับรองในประเทศไทยเพื่อรักษาโรคใน พ.ศ. 2561 ทราบ 16 ไม่ทราบ 9, กัญชาช่วยบรรเทาอาการโรคพาร์คินสันแลโรคมะเร็งได้ ทราบ 19 ไม่ทราบ 6, สาร THC ช่วยผ่อนคลายหลอดเลือด ซึ่งเป็นประโยชน์ในการผ่อนคลายอาการปวด ทราบ 15 ไม่ทราบ 10,
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง:
iการใช้กัญชารักษาโรคมะเร็ง มีความจำเป็นต้องศึกษาวิจัยถึงประสิทธิผลของกัญชาในหลอดทดลองความปลอดภัยและประสิทธิผลในสัตว์ทดลอง ก่อนการศึกษาวิจัยในคนเป็นลำดับต่อไป เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลหลักฐานทางวิชาการที่สนับสนุนว่ากัญชามีประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ยังมีไม่เพียงพอ แต่สมควรได้รับการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียด
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง:
1.การวิจัยกัญชาทางการแพทย์
2.กัญชาทางการแพทย์สาหรับมะเร็ง
3.การใช้กัญชาทางการแพทย์
4.คู่มือคำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์
วัตถุประสงค์
: เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ระเบียบการวิจัย:
ส่วนที่1 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ต่อการนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ มีจำนวน 5 ข้อ โดยให้เลือกตามระดับความคิดเห็นของนักศึกษา คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่มีต่อการนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ มีจำนวน 5 ข้อ โดยมีข้อมูลให้นักศึกษาเลือกว่า ทราบ หรือ ไม่ทราบ ข้อมูลเหล่านั้น
คำถามการวิจัย
นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความคิดอย่างเห็นต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นอย่างไร
สมมุติฐาน :
นักศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ส่วนให้ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการที่จะใช้ประโยชน์จากกัญชาในทางการแพทย์