ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ความผิดทางภาษี
ความผิดทางแพ่ง
1. ความผิดในจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
กรณีที่ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งหรือหักและนำส่งแล้วแต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนเงินที่ขาด
กรณีที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วแต่มิได้นำส่ง ผู้จ่ายงเินได้ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่หักแต่เพียงฝ่ายดียว
กรณีผู้มีเงินได้แจ้งรายการหักลดหย่อนไม่ถูกต้อง ทำให้หักภาษี ณ ที่จ่ายพลาดผู้มีเงินได้ต้องรับผิดชำระเงินที่นพำส่งไม่ครบถ้วน ผู้หักภาษีไม่ต้องรับผิด
กรณีผู้มีเงินได้ได้นำเงินได้ที่ตนมีหน้าที่เสียไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้และยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว ย่อมมีผลทำให้ทั้งผู้มีเงินได้และผู้จ่ายได้พ้นจากความรับผิดในจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
2. ความผิดในเงินเพิ่มภาษี
ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดในจำนวนเงินเพอ่มภาษี ในกรณีที่นำส่งไม่ครบและพ้นกำหนดเวลานำส่ง
ต้อเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
ผู้มีเงินได้ต้องรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว
การคำนวณภาษีเงินได้ ผู้จ่ายเงินได้จะนำเงินเพิ่มภาษีไปถือเป็นจ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิหรือกำไรและขาดทุนสุทธิไม่ได้
ความผิดทงอาญา
กรณีผู้จ่ายเงินได้ไม่ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เว้นแต่จะแสดงได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย ต้องระวาวโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ไม่ยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษี หรือแบบรายการสรุปการจ่ายภาษีเงินได้และจำนวนเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ได้นำส่งไว้แล้วทั้งสิ้นตามมาตรา 17 กรมสรรพากรกำหนดอัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับ ดังนี้
1. กรณียื่นแบบแสดงรายการ เกินกำหนดเวลาไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงราย ปรับกระทงละ 100 บาท
2. กรณียื่นแบบแสดงรายการเกินกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงราย ปรับกระทงละ 200 บาท
3. กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด ปรับกระทงละ 1,000 บาท
ไม่จัดทำบัญชีพิเศษแสดงการจ่ายเงินได้และการนำส่งภาษีตามมาตรา 17 ควรเปรียบเทียบปรับกระทงละ 1,000 บาท
ไม่ออกหนังสือการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ควรเปรียบเทียบปรับกระทงละ 500 บาท
ไม่ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้พึงประเมิน 40(1)(2)(3)(4) หรือ (7) หรือพยานหลักฐานอื่นอัให้แก่เจ้าพนักงานประเมินหรือหนังสือแจ้งความ เพื่อตรวจสอบการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา51 ควรเปรียบเทียบปรับกระทงละ 1,000 บาท
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
มาตรา 50
1. กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2
1.1 กรณีปกติทั่วไป
1.2 กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี
1.3 กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครี้งคราวระหว่างปี
1.4 กรณีมีจำนวนคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินไม่สม่ำเสมอตลอดปีภาษี
1.5 กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน
1.6 กรณีนายออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีใดโยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียด้วยตนเอง
1.7 กรณีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
1.8 กรณีเงินได้ให้กับลูกจ้างรายวัน
1.9 กรณีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 นอกจากเงินที่นายจ้างให้ครั้งดียวเพราะเหตุออกจากงาน ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
1.10 กรณ๊จ่ายเงินได้พึงประเมินที่คนต่างด้าวได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
2. กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 และเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4
2.1 หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายร้อยละ 15
เช่น ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้
ผลประโยชน์ที่ได้จาการโฮนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน
ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราครจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก
2.2 หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายร้อยละ 10
เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้รับซึ่งอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน
2.3 ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นผู้จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
2.4 หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 และ 4
เช่น ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่นๆ กำไรจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน
3. กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 และเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6
เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ หักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้
4. กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5,6,7 และ 8
ไม่รวมถึงการจ่ายซื้อพืชผลทางการเกษตรที่ผู้จ่ายเป็นรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาลหรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
5.กรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับที่ขายอสังหาริมทรัพย์หรือโอนกรรมสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน
การหักภาษี ณ ที่จ่ายของเงินได้จาการขายอสังหาริมทรัพย์
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือได้รับจากหารให้โดยเสน่หา
คำนวณหัก ณ ที่จ่ายโดยหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น
ภาษีที่หักต้องไม่เกินร้อยละ 20
มาตรา 3 เตรส
1. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) และ (3)
2. การจ่ายดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) ทุกประเภท
3. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) เฉพาะที่เป็นดอกเบี้ยพันธบัตรและดอกเบี้ยหุ้นกู้
4. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) เฉพาะดอกเบี้ย
5. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข) จ่ายเงินปันผล เงินส่วนเเบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใด
6. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (ก) จาการกเช่าทรัพย์สิน
ผู้จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล , นิติบุคคลอื่น
ผู้รับ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีร้อยละ 5
7. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) (ก) จากวิชชีพอิสระ
ผู้จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล , นิติบุคคลอื่น
ผู้รับ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลำเนาหรืออยู่ในประเทศไทย
อัตราภาษีร้อยละ 3
8. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) และ (8) เฉพาะที่เป็นค่าจ้างทำของ
ผู้จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล , นิติบุคคลอื่น
ผู้รับ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีร้อยละ 3
9. การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าจ้างทำของ
10. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็นเงินรางวัลการประกวด การแข่งขัน การชิงโชคหรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ผู้จ่าย บุคคล , บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล , นิติบุคคลอื่น , ห้างหุ้นส่วนสามัญ , คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ผู้รับ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีร้อยละ 5
11. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็นค่านักแสดงสาธารณะ
ผู้จ่าย บุคคล , บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล , นิติบุคคลอื่น , ห้างหุ้นส่วนสามัญ , คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ผู้รับ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลำเนาหรืออยู่ในประเทศไทย
อัตราภาษีร้อยละ 5
12. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นค่าโฆษณา
ผู้จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล , นิติบุคคลอื่น
ผู้รับ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีร้อยละ 2
13. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการให้บริการ
ผู้จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล , นิติบุคคลอื่น
ผู้รับ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีร้อยละ 3
14. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อื่นใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
ผู้จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล , นิติบุคคลอื่น
ผู้รับ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีร้อยละ 3
15. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เช่น ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันในการขนส่งสินค้า
16. การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ที่เป็นเงินค่าขนส่ง
ผู้จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล , นิติบุคคลอื่น
ผู้รับ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีร้อยละ 1
17.การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการซื้อขายสินค้าไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย
การหักมี 3 มาตรา
1. การหักภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 69 ทวิ
ผู้จ่าย ได้แก่ รัฐบาล องค์การของรัฐบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
ผู้รับ ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั้งที่ตั้งขึ้นตามกฎมายของไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
หักภาษีอัตราร้อยละ 1
2. การหักภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 69 ตรี
ผู้จ่าย ได้แก่ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล จ่ายเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์
ผู้รับ ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
หักภาษีอัตราร้อยละ 1
3. การหักภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 3 เตรส
การหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส รายละเอียดเหมือนหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัวข้อ มาตรา 3 เตรส
หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้และผู้รับเงินได้
1. คำนวณภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้ถูกต้องครบถ้วน
2. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
3. จัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการนำส่ง
4. ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
1. ภ.ง.ด.1 ใช้สำหรับเงินได้ตามมาตรา ม.40 (1) และ (2) นำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้
2. ภ.ง.ด.2 ใช้สำหรับเงินได้ตามมาตรา ม.40 (3) และ (4) (ก) ถึง(ช) นำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้
3. ภ.ง.ด.3 ใช้สำหรับเงินได้ตามมาตรา ม.40 (5) (6) (7) หรือ (8) ไม่ว่าผู้มีเงินได้จะอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม นำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้
5. ยื่นแบบแสดงรายการสรุปการจ่ายเงินได้และการหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อสิ้นปี
1. ภ.ง.ด.1 ก , ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ
ใช้สำหรับการจ่ายเงินได้ตามมาตรา ม.40 (1) และ (2)
ยื่นรายการภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้
2. ภ.ง.ด.2 ก
ใช้สำหรับการจ่ายเงินได้ตามมาตรา ม.40 (3) และ (4)
ยื่นรายการภายในเดือนมกราคมของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้
3. ภ.ง.ด.3 ก
ใช้สำหรับการจ่ายเงินได้ตามมาตรา ม.40 (5) (6) (7) (8)
ยื่นรายการภายในเดือนมกราคมของปีถัดจากปีที่จ่ายเงินได้
6. จัดทำแบบแจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับเงินได้ของคนต่างด้าว
หน้าที่และสิทธิของผู้มีเงินได้หรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายได้
1. แจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน
2. นำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาเครดิตภาษีได้
3. ขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
หลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่าย
ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลทุกประเภท
ต้องเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามความหมายที่กำหนดไว้ในมาตรา 39 และไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
ผู้รับเงินได้ต้องเป็ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และหากเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับซึ่งไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้จ่ายไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
วัตถุประสงค์ของการหักภาษี ณ ที่จ่าย
เพื่อบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้รับเงินได้ ไม่ต้องเสียเป็นก้อนในครั้งเดียว แต่เสียเป็นคราวๆทีละน้อยๆ
เพื่อนให้รัฐบาลมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อลดเเรงกดดันในการหลักเลี่ยงภาษี
เพื่อเป็นเครื่องมือตรวจสอบผู้มีเงินได้ ว่าได้เสียภาษีถูกต้อง ครบถ้วนหรือไม่
ประเภทของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
กรณีที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายได้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรมมดาตามประมวลรัษฎากร
คนรับเป็นบุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย
กรณีที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายได้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
คนรับเป็นนิติบุคคล