Personal Income Tax

ประเภทเงินได้พึงประเมินและการหักค่าใช้จ่าย

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 (มาตรา 40(1))

เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เงินเดือน ค่าจ้างบําเหน็จ บํานาญ

การหักค่าใช้จ่าย สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 (มาตรา 40(2))

เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เงินอุดหนุนในงานที่ทํา

การหักค่าใช้จ่าย สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3(มาตรา 40(3))

ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

การหักค่าใช้จ่าย กฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้เฉพาะเงินได้ที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์โดยให้หักเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 (มาตรา 40(4))

40(4)(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

40(4)(ข) เงินปันผล ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

การหักค่าใช้จ่าย ในการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 (มาตรา 40(5))

เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือ
ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้ เนื่องจาก

มาตรา 40(5)(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

มาตรา 40(5)(ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

มาตรา 40(5)(ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน

การหักค่าใช้จ่าย

หักตามความจําเป็นและสมควร

หักเป็นการเหมาในอัตราที่กําหนด

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 (มาตรา 40(6))

เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย
การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม

การหักค่าใช้จ่าย

หักตามความจําเป็นและสมควร

หักตามอัตราเหมา

1) เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60

2) เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระนอกจาก 1) ให้หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 30

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 (มาตรา 40(7))

เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้อง
ลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสําคัญนอกจากเครื่องมือ

การหักค่าใช้จ่าย

หักตามความจําเป็นและสมควร

หักตามอัตราเหมาในอัตราร้อยละ 60

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 (มาตรา 40(8))

เงินได้จากการธุรกิจ การเกษตร การ
อุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่น

การหักค่าใช้จ่าย

หักตามความจําเป็นและสมควร

หักตามอัตราเหมาในอัตราร้อยละตามที่กฎหมายกําหนด

ค่าลดหย่อน

ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน หรือไม่ก็ตาม

คู่สมรสของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

คู่สมรสของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิหักลดหย่อนจะต้องเป็นสามีหรือภรรยาชอบด้วยกฎหมาย

บุตร คนละ 30,000 บาท

บุตรชอบด้วยกฎหมาย หักได้ไม่จํากัดจํานวน

เป็นผู้เยาว์

อายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาหรือในมหาวิทยาลัย

ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

บิดามารดาของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส คนละ 30,000 บาท

บิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 30,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิต

เบี้ยประกันชีวิต

หักลดหย่อนได้10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาทยกเว้นเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย

เบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ

หักลดหย่อนได้ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่นํามาเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

เบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ หักลดหย่อนได้ตามจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000บาท

เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

เงินสะสมจ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หักได้ตามจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมสํารองเลี้ยงชีพ(RMF) หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยตามจํานวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ตามจํานวนที่จ่ายจริง

เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

เงินบริจาค

เงินบริจาค หักได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว เช่น ให้แก่สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลรัฐ

เงินบริจาคหักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ เช่น การบริจาคให้วัด สภากาชาดไทย เป็นต้น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

บุคคลธรรมดา

บุคคลที่คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อถึงแก่ความตาย

ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปี

บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำต้องเสียภาษี แต่ถึงแก่ความตายระหว่างปี

กองมรดกที่ยกไม่ได้แบ่ง

ทรัพย์สินของผู้ตายในปีถัดไปถัดจากปีที่ถึงแก่ความตาย แต่ยังไม่ได้แบ่งให้ทายาท

ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

เนื่องจากไม่มีการจดทะเบียนนิติบุคคล จึงถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นบุคคลธรรมดา

วิสาหกิจชุมชน

เฉาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรมดา

ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้แก่ เงินได้สุทธิ คํานวณได้จากเงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในรอบปีภาษี

แหล่งเงินได้

เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ

หน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย

กิจการที่ทําในประเทศไทย

กิจการของนายจ้างในประเทศไทย

ทรัพย์สินที่อย่ในประเทศไทย

เงินได้จากแหล่งนอกประเทศ

ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลารวมทั้งหมดถึง 180 วัน

ผู้มีเงินได้ นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปีภาษีนั้น

เงินได้พึงประเมิน

เงิน

เงินตราไทย หรือเงินตราต่างประเทศ หรือตราสารที่มีค่าเสมือนเงินสดที่ได้รับ

ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน

ทรัพย์สินหรือสิ่งที่ได้รับและสามารถคิดคํานวณได้เป็นเงินในระหว่างปีภาษีนั้น เช่น ลงทุนซื้อหุ้นได้รับผลตอบแทนเป็นหุ้นปันผล

ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน

สิ่งที่ได้รับมากไม่ใช่เงินหรือทรัพย์สินแต่เป็นประโยชน์ที่ได้รับซึ่งสามารถนํามาคํานวณได้เป็นตัวเงิน

เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด

เครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกําไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้

การว่าจ้างบุคคลบางครั้งอาจให้สิทธิพิเศษ คือให้ทั้งเงินเดือนและออกภาษีแทนให้ด้วย ซึ่งเงินค่าภาษีที่ออกแทนให้นี้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินด้วย

เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

การยกเว้นที่สำคัญ มีดังนี้

เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือ
สถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้

ดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยสลากออมสิน

ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์

ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร

ดอกเบี้ยเงินฝากเป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า24เดือนโดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากันแต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน รวมทั้งแล้วต้องไม่เกิน 600,000 บาท

การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งทางการค้าหรือหากําไร

เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

บํานาญพิเศษ บําเหน็จพิเศษ บํานาญตกทอดหรือบําเหน็จตกทอด

เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว

เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล

เป็นต้น

แบบเเสดงรายการที่ใช้

ภ.ง.ด. 90

มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท

ภ.ง.ด. 91

มีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 (ม.40(1)) ประเภทเดียว

ภ.ง.ด. 93

มีเงินได้ขอชําระภาษีล่วงหน้า

ภ.ง.ด. 94

ยื่นครึ่งปีสําหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินเฉพาะประเภทที่ 5,6,7, 8