การสืบค้นสาระสนเทศและความรู้

คำศัพท์ (Vocabulary)

Intregrated = แบบบูรณาการ

Bibliographic description = ข้อมูลบรรณานุกรม

Periodical Index = ข้อมูลดรรชนีวารสาร

Query Processor = โปรแกรมค้นข้อมูล

Online Public Access Catalog = สารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์

3.การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลมี 2 ประเภท คือ

1. นามานุกรม (Web Directories) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่รวบรวมสารสนเทศ
บนอินเทอร์เน็ต และคัดแยกสารสนเทศเหล่านั้นออกเป็นกลุ่ม

2. เครื่องมือสืบค้น (Search engine) เป็นเครื่องมือในการสืบค้นที่อาศัยการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น โดยแต่ละตัวได้รับการพัฒนาจากบุคคลหลายๆ หน่วยงาน

องค์ประกอบของกลไกการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine)

1) ตัวสำรวจหรือรวบรวมข้อมูล (Spider หรือ Crawler หรือ Robot) เป็นซอฟต์แวร์
สำหรับสำรวจเว็บ

2) ตัวดรรชนี (Indexer) หรือ Catalog ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทำหน้าที่รวบรวมคำ และ ตำแหน่งทุกๆ เพจที่ตัวสำรวจรวบรวมมาได้

3) โปรแกรมค้นข้อมูล (Search Engine Software หรือ Query Processor) ทำหน้าที่เปรียบเทียบความเกี่ยวข้องระหว่างเว็บไซต์และความต้องการของผู้สืบค้น

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

1. เทคนิคตรรกบูลลีน แบ่งได้ออกเป็น 3

การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น

การใช้เทคนิคตรรกบูลลีนจากเมนูทางเลือก (Drop down menu)

การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus)

2. เทคนิคการตัดคำ สามารถทำได้ 2 ลักษณะ

การใช้เครื่อง กลไกส่วนใหญ่ใช้เครื่องหมาย * (asterisk) แทนการตัดคำส่วน
ใหญ่เป็นการตัดท้ายคำค้นที่ต้องการ

การสืบค้นในลักษณะของ Stemming

3. เทคนิคการใช้คำใกล้เคียง

4. เทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น สามารถทำได้ 2 ลักษณะ

สืบค้นจากเมนูทางเลือก (Drop down menu)

สืบค้นโดยใช้เขตข้อมูลกำกับลงในประโยคการค้น

5. เทคนิคอื่นๆ

เทคนิคการค้นด้วยเครื่องหมายคำพูด “…..” (Exact phrased search)

เทคนิคการค้นหาคำพ้องความหมาย (Synonyms)

เทคนิคการค้นกลุ่มคำหรือคำที่ไม่แน่ใจด้วยเครื่องหมาย * (Wildcard)

เทคนิคค้นหาช่วงชุดของตัวเลข (Number range)

เทคนิคการหานิยามหรือความหมายของคำ (Definition)

เทคนิคการกรองสิ่งที่ค้นหา (SafeSearch Filtering)

1. การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์ หรือ OPAC
(Online Public Access Catalog)

1.1 วิธีการสืบค้นโดยใช้ทางเลือกต่างๆ ใน OPAC

1.1.1 จากหน้าจอรายการหลักของ OPAC ให้เลือกรายการที่ต้องการจะใช้
เป็นทางเลือกในสืบค้นจากเมนู

1.1.2 ป้อนข้อมูลที่ต้องการสืบค้นตามรายการที่ใช้เป็นทางเลือก

1.1.3 หากต้องการได้รายละเอียดโดยย่อของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่
รายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายละเอียดของรายการดังกล่าว

1.1.4 หากต้องการได้รายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่
รายการที่ต้องการระบบจะแสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการ
นั้นๆ

1.2 ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นด้วย OPAC

1.2.1 ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic description)

- ชื่อผู้แต่ง (Author)
- ชื่อเรื่อง(Title)
- พิมพลักษณ์ (Imprint) ประกอบด้วยครั้งที่พิมพ์ (Edition) สถานที่พิมพ์
(Place) ได้แก่เมืองและประเทศ สำนักพิมพ์(Publisher) และปีที่พิมพ์(Year
of publication)
- สถานภาพ (Status) สถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ
- เลขเรียกหนังสือ (Call number) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนทรัพยากรแต่ละ
รายการ
- รูปเล่ม (Description) บอกข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหน้า ภาพประกอบ และ
ขนาด
- หมายเหตุ (Note) เป็นการระบุข้อมูลของทรัพยากรเพิ่มเติม เช่นมีข้อมูล
บรรณานุกรม
- สถานที่ (Location) เป็นการบอกว่าทรัพยากรรายการนั้นอยู่ที่ห้องสมุดใด
- หัวเรื่อง (Subject) เป็นการระบุคำหรือกลุ่มคำที่ใช้แทนเนื้อหาของทรัพยากร

1.2.2 ข้อมูลดรรชนีวารสาร (Periodical Index)

- ชื่อผู้แต่ง (Author) อาจเป็นชื่อบุคคลหรือหน่วยงาน
- ชื่อเรื่อง (Title) เป็นชื่อบทความวารสาร
- ปี(Year) ได้แก่ ปีพิมพ์ของวารสาร
- ชื่อห้องสมุดที่บอกรับวารสารชื่อนั้นๆ (Library that have this journal)
- สถานที่ (Location) บอกสถานที่เก็บและให้บริการวารสาร
- ชื่อวารสาร (Journal) บอกข้อมูลเกี่ยวกับชื่อวารสาร
- เลขมาตรฐานสากลประจ าวารสาร (ISSN)
- หัวเรื่อง (Subject) เพื่อใช้ในการสืบค้นต่อ

2.รายละเอียดและตัวอย่างการสืบค้น OPAC ปรากฎในภาคผนวก ก1

2.1 ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก

2.2 ฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ ฐานข้อมูล ThaiLIS (Thai Library Integrated System)

2.3 ฐานข้อมูลทดลองใช้ฐานข้อมูลลักษณะนี้เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดหรือศูนย์
สารสนเทศนำมาทดลองให้บริการกับผู้ใช้ก่อน