สิ่งที่ได้เรียนรู้

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง รูปแบบใหม่ๆ ของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มคุณค่า (Productivity) ให้กับการเรียนการสอน การอบรม การนำเสนอ ภายใต้ทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำกัด

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรม คือ แนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วมาทำให้ทันสมัยและหากเรานำนวัตกรรมนั้นมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา เราจะเรียกนวัตกรรมนั้นว่า นวัตกรรมการศึกษา

ความพร้อมของการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา

การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงบริบทความเหมาะสมและความพร้อมขององค์กรเป็นสำคัญ สถานศึกษา/องค์กรที่มีความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์ สถานที่งบประมาณ และบุคลากร มักจะมีการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมาอย่างต่อเนื่อง

ขอบเขตของนวัตกรรมการศึกษา

ขอบเขตของคำว่า“ นวัตกรรมการศึกษา” จะเป็นความหมายกว้างและไม่ได้จำกัดเฉพาะฮาร์ดแวร์เครื่องมือชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์วัสดุสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว หากยังหมายรวมไปถึงแนวคิดการปฏิบัติระบบ กระบวนการต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นของใหม่ โดยหมายถึง ใหม่แบบที่ไม่เคยมีขึ้นมาก่อน และ ใหม่แบบที่เกิดขึ้นหลังจากการดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น

วิวัฒนาการของนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ระยะที่หนึ่งเกิดนวัตกรรมการศึกษาประเภทแรก ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม และบทเรียนฝึกปฏิบัติซึ่งถือเป็นต้นแบบของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มาจนถึงปัจจุบัน

ระยะที่สอง เกิดนวัตกรรมการศึกษา ที่ชื่อว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อได้เปรียบของมัลติมีเดีย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก 3-D แอนิเมชัน เสียง วิดีทัศน์ มาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน กิจกรรม แบบฝึกหัด แบบทดสอบ

ระยะที่สามเกิดนวัตกรรมที่ชื่อว่า การสอนผ่านเว็บ ซึ่งเป็นการใช้คุณสมบัติและทรัพยากรการเรียนรู้สารสนเทศต่างๆ จากเว็บ รวมทั้งความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลไปยังสารสนเทศต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลกมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน

ระยะที่สี่เกิดนวัตกรรมที่ชื่อว่า e-Learning ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการของการสอนผ่านเว็บการนำเสนอบนระบบ e-Learning มักจะอาศัยมัลติมีเดีย มีกิจกรรมที่หลากหลาย มีแบบฝึกหัด แบบทดสอบ โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ระยะที่ห้าเกิดนวัตกรรมที่ชื่อว่า Social Media for Learning เป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่อนุญาตให้ผู้ใช้ มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และแบ่งปันเนื้อหาเองในเครือข่ายสังคมได้โดยความแตกต่างสำคัญคือการเปลี่ยนบทบาทผู้สร้างเนื้อหา จากที่จำกัดอยู่ที่ผู้สอน มาเป็นผู้เรียนสามารถเป็นผู้สร้างเนื้อหาได้

ระยะที่หกเกิดนวัตกรรมที่ชื่อว่า MOOC Mobile First and Gamification โดย MOOC ย่อมาจากคำว่า Massive Open Online Course ซึ่งหมายถึงรายวิชาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาชนโดย MOOC ถือเป็นวิวัฒนาการจาก e-Learning โดยมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ จุดมุ่งหมายของ MOOC นั้นเพื่อการเป็นระบบเปิดเพื่อให้ผู้เรียนที่สนใจจำนวนมาก จากที่ใดก็ได้ทั่วโลกสามารถสมัครเข้ามาเรียนได้

ระยะที่เจ็ดเกิดนวัตกรรมที่ชื่อว่า Next Generation Digital Learning Platform แนวคิดการสร้างสรรค์แพลตฟอร์มการเรียนรู้แนวใหม่ ที่อนุญาตให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้บนระบบออนไลน์ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องมีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ระบบต่างๆ (Plugged-In Tools) ที่ชอบถนัดและสนใจ

ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา

สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามเป้าหมายและจุดประสงค์

ทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิผลการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น สามารถเรียนรู้ได้ดีเข้าใจ และจดจำเนื้อหาได้ดี

เพิ่มคุณค่าให้กับการเรียนการสอน การอบรม การนำเสนอ แก้ปัญหาข้อจำกัดด้านการเรียนรู้

ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่กระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้นและสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน

ช่วยผู้เรียนในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อใช้เป็นฐานไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

ช่วยผู้เรียนในการพัฒนาทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะ 4Cs

นวัตกรรมการศึกษาช่วยเพิ่มศักยภาพผู้เรียนด้านทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) เมื่อผู้สอนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ผู้เรียนก็ย่อมจะได้รับโอกาสในการฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ ในระหว่างการเรียน

นวัตกรรมการศึกษา ช่วยในการประเมินผลผู้เรียนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สามารถนำมาใช้ใน
การทดสอบความเข้าใจและใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพในหลากหลาย
รูปแบบ จึงสามารถช่วยประหยัดเวลาในการตรวจข้อสอบ

นวัตกรรมการศึกษา ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านการศึกษา Education Transformation
หรือ Education Disruption เพื่อไปสู่การเรียนรู้แห่งอนาคต

นวัตกรรมการศึกษา สามารถนำไปใช้ในการลดช่องว่าง เพิ่มความเท่าเทียม โดยการให้โอกาส
ในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพกับผู้ที่ขาดโอกาสในการเรียนรู้

ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา

ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา

Cloud Computing

Cloud Computing นั้นมีหลากหลายประเภทมาก สำหรับการใช้โปรแกรมบน Cloud โดยไม่ต้องดาวน์โหลดมาลงเครื่องให้ยุ่งยาก หรือ Platform Cloud สำหรับนักพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ที่จะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมเสมือนเพื่อพัฒนาโปรแกรมภาษาต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบให้ยุ่งยาก และ Cloud สำหรับการศึกษา ถ้าเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนก็จะเป็นโรงเรียนที่เราสามารถเข้าไปเรียนเมื่อไรก็ได้ อ่านหนังสือ ส่งงาน ติดต่อกับครู หรือทำสิ่งต่าง ๆ เสมือนกับว่าเราอยู่ที่โรงเรียน เพียงแต่ว่า Cloud Computing ทำให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อไร และที่ไหนก็ได้

Distance Learning

การศึกษาทางไกลเป็นระบบการศึกษาที่ยึดหลักการในเรื่องต่างๆดังนี้
- การศึกษาตลอดชีวิต
- การให้โอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา
- ส่งเสริมการศึกษามวลชน
การศึกษาทางไกล (Distance Learning) จึงหมายถึงการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ

Virtual Classroom

หมายถึงการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ ที่ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับเรียนในห้องเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียน โดยมีบรรยากาศเสมือนพบกันจริง กระบวนการเรียนการสอนจึงไม่ใช่การเดินทางไปเรียนในห้องเรียนแต่เป็นการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของบทเรียนได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบรายบุคคล ที่นำเอาหลักการของบทเรียนโปรแกรมและ เครื่องช่วยสอนมาผสมผสานกัน รูปแบบของสื่อ ซึ่งถูกออกแบบให้ทำงานภายใต้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ข้อมูลการเรียนรู้ จะอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูลที่นำมาลง หรือติดตั้ง ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อาจจะเล่นบนแผ่น CD-Rom/DVD โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนอง ในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียนเป็นหลัก ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้นำเสนอ ผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์ โต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้

Virtual Reality (VR)

เทคโนโลยี VR ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทางด้านการศึกษา เพื่อช่วยในการจัดเรียนการสอน ช่วยสร้างประสบการณ์ผู้เรียนให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่เข้าใจยากได้แบบเสมือนจริง นอกจากนี้สามารถนำเทคโนโลยีมาสร้างห้องเรียนจำลองเสมือนจริงและสร้างบรรยากาศรอบๆ .ให้เหมือนอยู่ในห้องเรียนจริงซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำรับผู้เรียนที่ต้องการเรียนรู้แบบนอกตำราและเป็นห้องเรียนที่ปลอดภัยกว่าเนื่องจากผู้เรียนไม่ได้ไปหยิบจับสิ่งของจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อีกมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ในระบบ wifi

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการศึกษา

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการศึกษา

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเกิดจากความเชื่อที่ว่า ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีจากการได้รับข้อมูลเนื้อหาสาระต่างๆ จากผู้สอนหรือผู้รู้ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเร้า เมื่อผู้เรียนได้รับสิ่งเร้าก็จะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ผู้สอนจะต้องมีการให้ผลป้อนกลับและการเสริมแรง

นวัตกรรมการศึกษาที่ตอบสนองต่อทฤษฎีพฤติกรรมนิยม คือ บทเรียนโปรแกรมโดยคุณลักษณะของบทเรียนโปรแกรมทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่จัดวางไว้เป็นลำดับขั้นตอน ผู้เรียนสามารถเรียนไปตามความสามารถของตนเองมีการเรียงตามลำดับจากง่ายไปหายาก

ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism)

ทฤษฎีปัญญานิยม เกิดขึ้นหลังช่วงพฤติกรรมนิยม โดยเกิดจากความสงสัย
ว่าทำไมผู้จัดสอนป้อนความรู้ให้แต่ผู้เรียนได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันผู้สอนควรมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายมากกว่า แบบเดียวหรือเชิงเส้นตรง เพื่อตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียนรายบุคคล (Individual Differences) และควรให้ความสำคัญกับความรู้เดิมของผู้เรียน โดยออกแบบการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้รับกับความรู้เดิม

นวัตกรรมการศึกษาที่ตอบสนองต่อทฤษฎีปัญญานิยม ได้แก่
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction : WBI)

ทฤษฎีคอนเนคติวิสต์ (Connectivism)

การเรียนรู้ภายใต้ทฤษฎีคอนเนคติวิสต์เกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่า ทฤษฎีดั้งเดิมที่เกิดขึ้นก่อนหน้ายุคดิจิทัล ไม่สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนยุคใหม่ที่เติบโตขึ้นท่ามกลางการพัฒนาของเทคโนโลยีต่างๆ ที่อยู่รายล้อมตัวผู้เรียนคอนเนคติวิสต์ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตัดสินใจของผู้เรียน ในการเลือกทรัพยากรการเรียนรู้ที่อยู่รอบตัว และนำข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้ต่างๆ มารวบรวม เปรียบเทียบ วิเคราะห์สังเคราะห์คัดกรองร้อยเรียงให้เกิดเป็นสาระที่มีความหมายสำหรับตัวผู้เรียนเอง

นวัตกรรมการศึกษาที่ตอบสนองต่อทฤษฎีคอนเนคติวิสต์ ที่เป็นแนวคิดหลักนี้ได้แก่ Social Media for Learning ซึ่งหมายถึงสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ที่อนุญาตให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ที่สร้างเนื้อหาในรูปแบบของการถ่ายทอดเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพ เสียง หรือคลิปวีดีโอผ่านการเขียนหรือการส่งผ่านข้อมูลทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ
Open Educational Resources (OER) หรือทรัพยากรการศึกษาระบบเปิด ซึ่งหมายถึงแหล่งจัดเก็บ และรวบรวมสื่อออนไลน์ที่เปิดให้ผู้ใช้เข้ามาศึกษาเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ
MOOC (Massive Open Online Course) หรือรายวิชาออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนจำนวนมาก
สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้จากทั่วโลก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism)

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ในการลงมือกระทำของผู้เรียน(Learning By Doing) ภายใต้กิจกรรมการเรียนรู้หรือสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบไว้ให้ โดยที่ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการออกแบบการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

นวัตกรรมการศึกษาที่ตอบสนองต่อทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เช่น
e-Learning ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการของการเรียนบนเว็บ (WBI) โดยมีการพัฒนาในด้านของเทคโนโลยีการผลิตเนื้อหา ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้มากขึ้น และมีระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (LearningManagement System หรือ LMS) เข้ามาสนับสนุนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการสอนยุคใหม่

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการสอนยุคใหม่

การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เป็นแนวคิดเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นของผู้เรียนระหว่างความรู้ทักษะที่เรียนรู้ในสถานศึกษา กับ ความรู้ทักษะที่จำเป็นต้องเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

แนวคิดสำคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

ทักษะด้านสารสนเทศ

ทักษะชีวิตและการทำงาน

เจตคติที่พึงประสงค์

วิชาแกน คือ วิชาด้านภาษา คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์เศรษฐศาสตร์ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ การปกครอง หน้าที่พลเมือง และศิลปะ

แนวคิดสำคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครอบคลุมเรื่องจิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐาน
ด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ครอบคลุมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งรวมถึงทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ทักษะการสื่อสาร (Communication) และ
ทักษะการทำงานร่วมกัน (Collaboration)

ทักษะชีวิตการทำงาน มุ่งเน้นทักษะที่ต้องการในยุคใหม่

ทักษะชีวิตการทำงาน

ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เรียกว่าผู้เรียนยุค Gen Z หมายถึง ผู้เรียนที่เกิดตั้งแต่ช่วงปลาย ค.ศ.1997 ถึงปัจจุบัน ผู้เรียนกลุ่มนี้ถือเป็นผู้เรียนในยุคอนาคตเกิดมาพร้อมกับโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เครื่องมือสื่อสาร และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

คุณลักษณะจำเป็น 8 ประการ สำหรับผู้เรียนยุค Gen z

ความรับผิดชอบและพึ่งพาตนเองในการเรียนรู้

ทักษะด้านการคิด

ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะในการสืบเสาะค้นหา

ความกระตือรือร้น

ทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัล

ทักษะในด้านการใช้ภาษาสากล

ความสนใจในวัฒนธรรม

คุณลักษณะของผู้สอนในศตวรรษที่ 21

Content เป็นผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหา

Caring ใส่ใจในผู้เรียน

Construct สร้างความรู้

Connectivity เน้นการเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม

Collaboration จัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่ม

Communication มีทักษะในการสื่อสาร

Creativity มีความคิดสร้างสรรค์

Computer ใช้ ITC ในการจัดการเรียนการสอน

Critical Thinking มีการคิดเชิงวิพากษ์

รูปแบบการเรียนรู้แนวใหม่

การเรียนแบบครูนำ (Teacher-Led)

สังคม/ชุมชนนำ (Community-Led)

ผู้เรียนเป็นผู้นำ/ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learn-Led)

การศึกษา 4.0

การศึกษา 4.0

1. Education Disruption and Learning Transformation

สาเหตุสำคัญสำหรับการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้หรือ Learning Transformation

วิธีคิดแบบเดิมเกี่ยวกับวิธีจัดการศึกษาซึ่งไม่สามารถพัฒนาความรู้และ
ทักษะที่จำเป็นหรือทักษะที่คาดหวังสำหรับการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ผู้เรียนยุคใหม่ มีความต้องการในการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากยุคเดิมจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา
(Education Transformation) และการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ขึ้นใหม่ (Learning Transformation) ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา

ประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิด Education Disruption

อัตราการเกิดของเด็กทั่วโลกลดลง

เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง

รูปแบบใหม่ของการศึกษาที่รู้จักกันในชื่อของ MOOC (Massive Open Online Course)

2. ที่มาของคำว่า การศึกษา 4.0

ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เป็นยุคที่อาศัยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในการผลิตต่างๆ ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม 4.0 เป็นที่มาของการนำ 4.0 มาต่อท้ายสิ่งต่างๆ รวมถึงการศึกษา 4.0

3. การศึกษา 4.0

การศึกษา 1.0 : การเรียนรู้ที่เน้นการท่องจำ

การศึกษา 2.0 : การเรียนรู้ที่เพิ่มสักยภาพโดยอินเทอร์เน็ต

การศึกษา 3.0 : การบริโภคและการสร้างองค์ความรู้

การศึกษา 4.0 : การศึกษาเพื่อการเพิ่มศักยภาพในการผลิตนวัตกรรม โดยตอนนี้ยังเป็นเพียงแนวคิด เพราะการปรับเปลี่ยนอยู่ในระยะเริ่มต้น

4. การศึกษา 4.0 สำหรับประเทศไทย

3Rs

Read

Write

Arithmetic

8Cs

Creativity & Innovation

Critical thinking & problem solving

Collaboration, teamwork & Leadership

Communication, Information & Media Literacy

Cross-cultural understanding

Computing & ICT Literacy

Career& Learning Skills

Compassion