ความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์

ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์

เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ใน
การตัดสินใจเลือก (choice) ใช้ทรัพยากร (resources) ที่มีจำกัด (scarcity) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิตสินค้าและบริการ ( goods and service) เพื่อสนองความต้องการอันไม่สิ้นสุด (unlimited want) ของมนุษย์

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
(Basic Economic Problems)

ผลิตอะไร (What)
จะเลือกผลิตสินค้าชนิดใดและเป็นจำนวนเท่าไร

ผลิตอย่างไร (How)
จะทำการผลิตอย่างไร วิธีไหน

ผลิตเพื่อใคร (for whom)
จะจำหน่ายแจกจ่ายผลผลิตอย่างไร
ใครจะได้บริโภคสินค้าที่ผลิตขึ้นนั้น

ทรัพยากรการผลิต
(resources)

ที่ดิน (land) ผลตอบแทนเรียกว่า ค่าเช่า (rent)

แรงงาน (labor) ผลตอบแทนเรียกว่า ค่าจ้าง (wage)

ทุน (Capital) ผลตอบแทนเรียกว่า ดอกเบี้ย (interest)

ผู้ประกอบการ (entrepreneur) ผลตอบแทนเรียกว่า กำไร (profit)

ทางเลือก (choices)

• เศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเลือก
• ทรัพยากรนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง
• ความไม่สมดุลระหว่างความต้องการที่ไม่จำกัดกับทรัพยากรการผลิตที่มีจำกัด
• เลือกเพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุด

การมีอยู่อย่างจำกัด (scarcity)

• ทรัพยากรทุกอย่างในโลกมีอยู่อย่างจำกัด
• ความจำกัดนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกระดับของสังคมและเกิดขึ้นตลอดเวลา
• ความจำกัดจะปรากฏชัดเจนมากขึ้นเมื่อทรัพยากรส่วนหนึ่งถูกใช้หมดไปและส่วนที่เหลืออยู่มีน้อย
• ปรากฏการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้นหากมีการค้นพบวิทยาการใหม่เพื่อเพิ่มพูนหรือสร้างทรัพยากรใหม่ทดแทน

แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น การกำหนดรายได้ประชาชาติระดับการออมและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วย (Unit) หรือ ระดับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ หน่วยงานการผลิตแต่ละกลุ่มหน่วยใดหน่วยหนึ่ง หรือ เฉพาะบุคคล หรือ หน่วยงานการผลิต (Firms) ซึ่งแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับส่วนย่อยๆ ของระบบเศรษฐกิจ

ต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost)

มูลค่าสูงสุดที่เสียสละไปเพื่อทดแทนสิ่งที่เราเลือกหรือมูลค่าสูงสุดของสิ่งที่ไม่ได้ถูกเลือก

ค่าเสียโอกาสจะเกิดขึ้นทุกที่ ขึ้นกับการขาดแคลนหรือความจำเป็นที่ต้องเกิดการเลือก

รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ

•การถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือปัจจัย
การผลิต
เสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการ
เสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ
•การจัดสรรทรัพยากรการผลิต การจัดสรรสินค้า
และบริการ

ความต้องการไม่สิ้นสุด (unlimited want)

ความต้องการไม่สิ้นสุด/ไม่จำกัด คือ การที่เมื่อได้สิ่งหนึ่งมาแล้ว ก็อยากได้อย่างอื่นอีก หรือหากได้สิ่งหนึ่งมาเพียงพอแล้ว ก็ตั้งความปรารถนาอยากได้สิ่งใหม่ต่อไป เป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด