การเก็บข้อมูลและความรู้
5.รายงาย (Report)
5.1 ประโยชน์ของการทำรายงาน
1.ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และข้อเท็จจริงใหม่ๆทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
2.ทำให้มีพัฒนาการทางวิชาการในสาขาวิชาต่างๆ
3.ช่วยให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง รวมทั้งข้อบกพร่อง เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาหรือนำมาใช้พัฒนาการปฏิบัติงาน
4.ทำให้เกิดการรู้จักใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล และสร้างทักษะในการแก้ไขปัญหา
5.เพิ่มพูนทักษะในการเขียนรายงานทางวิชาการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการอื่นๆ
5.2. ส่วนประกอบของรายงาน
5.2.1 ส่วนนำ
5.2.2.1ปกนอก (Cover) คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานทั้งหมดมีทั้งปกหน้าและปกหลัง
5.2.2.2หน้าปกใน (Title page) คือส่วนที่อยู่ต่อจากหน้าปกนอก นิยมเขียนเหมือนปกนอก
5.2.2.3กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) เป็นข้อความแสดงความขอบคุณผู้ช่วยเหลือ สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการค้นคว้าเพื่อทำรายงาน แสดงถึงจรรยาบรรณทางวิชาการที่ผู้ทำรายงานทางวิชาการควรถือปฏิบัติ
5.2.2.4คำนำ (Preface) คือส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียนรายงานเป็นผู้เขียนเอง โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตของรายงาน ตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูล หรือการเขียนรายงาน
5.2.2.5สารบัญ หรือสารบาญ (Table of contents) คือส่วนที่อยู่ต่อจากหน้าคำนำ ในหน้าสารบัญ จะมีลักษณะคล้ายโครงเรื่องของรายงานทำให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ขอบเขต เนื้อหา ของรายงานคลอบคลุมเรื่องใดบ้าง
5.2.2 ส่วนเนื้อเรื่อง (Body of contents)
5.2.2.1 บทนำ (Introduction) ต่างจากคำนำ คือการเขียนบทนำ จะต้องอธิบายเนื้อหาอย่างกว้างๆ เป็นการนำผู้อ่านเข้าสู่ เนื้อเรื่อง หรือเนื้อหาของรายงานให้ผู้อ่านเข้าใจในเบื้องต้น
5.2.2.2เนื้อเรื่อง (Content) คือ ส่วนที่เสนอเรื่องราวสาระทั้งหมดของรายงานตามลำดับของหัวข้อที่ระบุไว้ในหน้าของสารบัญ ในการนำเสนอเนื้อเรื่อง ต้องไม่ใช่เป็นการคัดลอกข้อความจากเอกสารต้นเรื่องที่อ่านมาทุกประโยคทุกตอน
5.2.2.3สรุป (Conclusion) คือ ส่วนที่เขียนย้ำ หรือนำเสนอประเด็นสำคัญของเนื้อเรื่อง ส่วนสรุปนี้ จะอยู่ในย่อหน้าสุดท้ายของเนื้อเรื่อง
5.2.3 ส่วนอ้างอิง (Citation)
5.2.3.1 บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง (References) จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อหาและก่อนภาคผนวก คือส่วนที่รวบรวมรายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่นๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการที่ได้ข้อมูลมาเพื่อประกอบการเขียนรายงานเรื่องนั้นๆ กำหนดให้ใช้คำว่า “บรรณานุกรม” หรือ “เอกสารอ้างอิง”
5.2.3.2ภาคผนวก (Appendixes) ภาคผนวกเป็นส่วนที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติมช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจชัดเจนขึ้น เช่น แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตัวอย่างการใช้งานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นต้น หน้าแรกของภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม่
5.3 ขั้นตอนการเขียนรายงาน
เลือกและกำหนดหัวข้อการทำรายงาน (Choose the topics)
อ่านข้อมูลของเนื้อหาวิชาเพื่อเป็นพื้นความรู้ (Reading for Background) และกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำรายงาน (Report objectives)
การจัดทำเค้าโครงรายงาน (the Preliminary Outline)
รวบรวมบรรณานุกรม (The working bibliography)
การอ่านและจดบันทึก (Reading and Notes)
การใช้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ (Using sources of Information)
การจัดทำโครงเรื่องครั้งสุดท้าย (The final outline)
การเรียบเรียงรายงาน (Writing and revising)
การเขียนรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม (Write the Reference and Bibliography)
การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Writing)
1.การศึกษาค้นคว้า
หมายถึง การหาข้อมูลหรือการหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อหาคำตอบจากปัญหาหนึ่งโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับความรู้ในเรื่องนั้นๆ การศึกษาค้นคว้าจึงเป็นการแสวงหาสารสนเทศและความรู้
2. การวิจัย (Research)
หมายถึง การสำรวจ ตรวจหา เพื่อหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีระบบและแบบแผนตามขึ้นตอนและระเบียบวิธีวิจัย
3.ภาคนิพนธ์ (Term paper)
มีลักษณะเช่นเดียวกับรายงาน เพียงแต่เรื่องที่ผู้ทำภาคนิพนธ์มีรายละเอียดลึกซึ้งมากกว่า ต้องใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้ามากกว่าเช่นใช้เวลา 1 ภาคการศึกษา
4. วิทยานิพนธ์ (วิทยานิพนธ์ / วิทยานิพนธ์)
เป็นรายงานผลของการค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต หรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดที่ผู้เรียนจะต้องเลือกหัวข้อเรื่องที่ทำด้วยตนเอง และผู้เรียนจะต้องทำการค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า