การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
ความหมาย
สิ่งพิมพ์ที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีระบบระเบียบจากการศึกษาค้นคว้า การทดลอง การสังเกตการณ์ การสำรวจ การสัมภาษณ์
ประโยชน์ของการทำรายงาน
ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และข้อเท็จจริงใหม่ๆ
ทำให้มีพัฒนาการทางวิชาการในสาขาวิชาต่างๆ
ช่วยให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง รวมทั้งข้อบกพร่อง
ทำให้เกิดการรู้จักใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล และสร้างทักษะใน
การแก้ไขปัญหา
เพิ่มพูนทักษะในการเขียนรายงานทางวิชาการ ซึ่งจะเป็น
พื้นฐานในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการอื่นๆ ต่อไป
ขั้นตอนการทำรายงาน
กำหนดชื่อเรื่อง
วางโครงร่างของเนื้อหา
คิดคำสำคัญ / คำค้น
เลือกแหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ
สืบค้นสารสนเทศในระบบมือ / ใช้ IT เป็นเครื่องมือ
ประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์สารสนเทศ
เรียบเรียงและนำเสนอรายงาน
ประเภทของรายงาน
1.รายงานวิชาการ (Reports)
-ศึกษาค้นคว้าและนำมาเรียบเรียงอย่างมีระเบียบ
-ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อเสิรมเนื้อหาที่เรียนในรายวิชาใดรายวิชาหนึ่ง
ในแต่ละภาคการศึกษา
-ผู้ทำรายงานอาจเลือกหัวข้อที่สนใจเองหรือผู้สอนเป็นผู้กำหนดให้
-ทำเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคล
2.ภาคนิพนธ์(Term paper)
-มีลักษณะเช่นเดียวกับรายงาน -มีรายละเอียดลึกซึ้งมากกว่า -ใช้เวลา 1 ภาคการศึกษา
3.วิทยานิพนธ์(Thesis/Dissertation)
-เป็นรายงานผลของการค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ปริญญามหาบัณฑิต(Thesis) ปริญญาดุษฎีบัณฑิต(Dissertation)
4.รายงานการวิจัย (Research)
เป็นรายงานผลของการค้นคว้าวิจัยของอาจารย์นักวิชาการ นักวิจัยเป็น
การศึกษาค้นคว้าลักษณะเดียวกับการทำวิทยานิพนธ์
ส่วนประกอบของรายงาน
หน้าปก
คำนำ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
เนื้อหา
บรรณานุกรม/เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก
ขั้นตอนการเขียนรายงาน
เลือกและกำหนดหัวข้อการทำรายงาน
อ่านข้อมูลของเนื้อหาเพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ กำหนดวัตถุประสงค์
จัดทำเค้าโครงรายงาน
รวบรวมบรรณานุกรม
อ่านและจดบันทึก
การใช้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ
การจัดทำโครงเรื่องครั้งสุดท้าย
การเรียบเรียงรายงาน
การเขียนรายการอ้างอิงและ
บรรณานุกรม
การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์