การคำนวณค่าสถิติพื้นฐาน
สถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐาน
เป็นสถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานว่าเป็นจริงตามที่กำหนดไว้หรือไม่
การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม
t-test F-test และ ไคส
แควร์(chi-square)
การหาความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป
การหาสมัประสิทธิ์สัมพันธ์(correlation)
การพยากรณ์ (regression)
สถิตพื้นฐาน
สถิติวิเคราะห์เพื่อแสดงความหมายทั่วไปของข้อมูล
และใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณสถิติขั้นสูงต่อไปซึ่งสถิติพื้นฐานได้แก่
การแจกแจงความถี่ (frequency)
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
ค่าเฉลี่ย (Mean)
หลักการการหาค่าเฉลี่ย ทำได้โดยนำค่าทั้งหมดที่มีรวมกัน
แล้วนำมาหารด้วย จำนวนของข้อมูล แบ่งเป็น
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตแบบแจกแจงความถี
ข้อมูลที่ให้มาเป็นช่วงไม่สามารถบอกได้ว่า
แต่ละตัวมีค่าเท่าไหร่
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลไม่แจกแจงความถี่
จะใช้กรณีที่มีข้อมูลไม่มากนักและเป็ นข้อมูลที่มาจากตัวอย่าง
โจทย์ : จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบกลางภาคของนักเรียน 10 คน
ตามข้อมูลคะแนนดังนี้
7, 6, 8, 7, 4, 9, 8, 7, 6, 5
(Arithmetic Mean)
วิธีทำ
(7+6+8+7+4+9+8+7+6+5)/10= 67
ตอบ 6.7
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะไม่สามารถเป็นค่ากลางหรือเป็นตัวแทนที่ดีของข้อมูลได้
คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 10 คน
71 , 83, 90, 90, 85, 71, 78, 86, 88, 88 จะพบว่าข้อมูลส่วนใหญ่ในช่วง 83 - 88 และค่าตำ่สุดและสูงสุด
ของข้อมูลชุดนี้ ต่างกัน 19 คะแนน ดังนั้น ใช้ค่าเฉลี่ยคณิตเป็นค่ากลาง
หรือเป็นตัวแทนชุดนี้ ได้ดี
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเป็นค่ากลางหรือเป็นตัวแทน
ของข้อมูลที่ดีที่สุด
1)เป็นค่าที่ไม่เอนเอียง
2)เป็นค่าที่มีความคงเส้นคงวา
3)เป็นค่าที่มีความแปรปรวนต่ำที่สุด
4)เป็นค่าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
มัธยฐาน (Median)
เป็นค่ากลางของข้อมูลที่ได้จากการ
พิจารณาตำแหน่งของข้อมูลที่อยู่ตรงกลางโดย
ข้อมูลต้องทำการเรียงลำดับตามปริมาณ
จากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากก็ได้
ค่ามัธยฐานยังสามารถใช้เป็นตัวแทนของ
ข้อมูลได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่ข้อมูลมีการ
กระจายที่ผิดปกติ
ขั้นการหาค่ามัธยฐาน
1) เรียงลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมาก
2)ทำการหาตำเเหน่งกึ่งกลางจากข้อมูลที่ได้จากข้อที่1
ในกรณีที่ต้องการหาค่ามัธยฐานของข้อมูลเมื่อข้อมูลมีจ านวนคี่
จะสามารถกำหนดตำแหน่งของข้อมูลที่มีค่ามัธยฐานได้โดยสูตร
ต่ำแหน่งของมัธยฐาน =
(n+1)/2
การหาค่ามัธยฐาน เมื่อข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงความถี่และมี
จำนวนข้อมูลเป็นจำนวนคู่
มัธยฐาน(Me) = ค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่อยู่ในตำแหน่งที่ และ
n/2หรือ(n+1)/2
ฐานนิยม (Mode)
เป็ นค่ากลางซึ่งจะนำมาใช้ในกรณี
ที่ข้อมูลมีการซ้ำกันมากๆ จนผิดปกติ
เป็นค่ากลางหรือตัวแทนของข้อมูลที่สามารถ
อธิบายลักษณะที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิต
และค่ามัธยฐาน
สามารถใช้ได้กับข้อมูลที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ
(Qualitative) และข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantitative)
สามารถมีค่าได้มากกว่า 1 ค่า
การหาค่าฐานนิยม(Mo) เมื่อข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงความถี่
ในกรณีที่ข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงความถี่ วิธีการหาค่าฐานนิยม(Mo)
สามารถทำได้โดยการนับจำนวนข้อมูล ซึ่งข้อมูลชุดใดมีจำนวนซ้ำกันมากที่สุด
ก็จะเป็นค่าฐานนิยม
การวัดการกระจาย ได้แก่
พิสัย (Range)
การหาการกระจายของข้อมูลโดยนำ
ข้อมูลที่มีค่าสูงที่สุด ลบกับข้อมูลที่มีค่าต่ำที่สุด เพื่อให้
ได้ค่าที่เป็นช่วงของการกระจาย ซึ่งสามารถบอกถึง
ความกว้างของข้อมูลชุดนั้นๆ
พิสัย (R) = Xmax – Xmin
พิสัย (R) = ค่าสูงสุด – ค่าต ่าสุด
การวัดค่ากลางค่ากลางของข้อมูล คือ ตัวแทนของข้อมูลทั้งหมดที่สามารถจะไป
ใช้ในการวิเคราะห์
ค่ากึ่งกลางพิสัย (Mid Range)
ค่ากึ่งกลางพิสัย คือค่าที่ได้จากการนำข้อมูลที่มีค่ามากที่สุดและน้อยที่สุดมาหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ข้อเสียของพิสัย
1) ในกรณีใช้พิสัยกับข้อมูลที่มีจำนวนมาก การวัดจะไม่แน่นอน
2) ค่าของพิสัยจะขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูล ถ้าข้อมูลมีจำนวนมาก
พิสัยจะมาก ถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อยพิสัยจะน้อย
ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
เป็นค่าวัดการกระจายที่สำคัญทางสถิติ เพราะเป็นค่าที่ใช้บอกถึง
การกระจายของข้อมูลได้ดีกว่าค่าพิสัย และค่าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ในกรณีข้อมูลไม่ได้มีการแจก
แจงความถี่
เมื่อนำค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมายกกำลังสอง จะเรียกว่าค่าความแปรปรวน
ค่าความแปรปรวน(Variance: S2, SD2)
ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์(Quartile Deviation )
ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย ( Mean Deviation )