Corporate Income Tax

ฐานภาษีเงินได้นิตบิุคคล

1.ฐานกำไรสุทธิ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ

1. บริษัทหรือห้างห้นุส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

2. บริษัทหรือห้างห้นุส่วนนิติบคุคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

3. กิจการซึ่งดําเนินการเป็นทางการค้าหรือหากําไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาล ต่างประเทศ หรือนิติบคุคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

4. กิจการร่วมค้า

รายได้ที่ต้องนํามาคำนวณภาษี

รายได้จากกิจการ

รายได้เนื่องจากกิจการที่กระทํา

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ

1. การคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

(1) การเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกําไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี

(2) การเสียภาษีจากกําไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบคุคล ดังต่อไปนี้ให้เสียภาษีจากกําไรสุทธิของรอบระยะเวลา บัฐชี 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์

2. การคำนวณเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

ให้คํานวณกําไรสุทธิตามเงื่อนไขที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร คือ กําไรสุทธิที่เกิดจากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 หักด้วยรายจ่ายภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ มาตรา 65 ตรี ผลลัพธ์จีงเป็นกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบคุคล โดยนํากําไรสุทธิดังกล่าวคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จะได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชําระ ถ้าคํานวณกําไรสุทธิออกมาแล้วปรากฏว่า ไม่มีกําไร สุทธิหรือขาดทุนสุทธิบริษัทไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี

1. การเสียภาษีเงนิได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

จะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชําระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

2. การเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

ระยะเวลาบัญชีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชําระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

2. ฐานรายรับก่อนหักรายจ่าย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

1. กิจการขนส่งระหว่างประเทศ

1.1 กรณีรับขนคนโดยสาร รายได้เกิดจากค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่ เรียกเก็บในประเทศไทย ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น ให้คํานวณภาษีอัตราภาษี ร้อยละ 3

1.2 กรณีรับขนของ รายได้เกิดจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น ให้คํานวณ ภาษีอัตราภาษีร้อยละ 3

2. มูลนิธิหรือสมาคม

รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

ค้่ลงทะเบียนหรือค่าบํารุงที่ได้รับจากสมาชิก

เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค

เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา

อัตราภาษี

เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นใด ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) อัตราร้อยละ 2

เงินได้อื่นๆ นอกจากมาตรา 40(8) อัตราร้อยละ 10

3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไม่ยื่นรายการ ไม่ทําบัญชี ทําบัญชีแต่ไม่สมบูรณ์หรือไม่นําบัญชีมาให้ตรวจสอบ

เจ้าพนักงานประเมินมี อํานาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด หรือของยอดขายก่อนหัก รายจ่ายใด แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี

แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่นคือ ภ.ง.ด.55 (ยื่นรอบระยะเวลาบญัชีละ 1 ครั้ง)

ชําระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

3. ฐานเงินได้บางประเภทที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการใน ประเทศไทย และได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

อัตราภาษี

ร้อยละ 5

ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4) (5) และ (6) นอกจากเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (4) (ข)

ร้อยละ 10

ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) (ข)

การยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี

แบบแสดงรายการที่ยื่น ได้แก่ แบบ ภ.ง.ด. 54 (ถ้าไม่มีการส่งเงินได้ไปต่างประเทศก็ไม่ต้องยื่น)

นําส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแตวันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน

4. ฐานการจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจําหน่ายเงินกําไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกําไรหรือ ที่ถือได้ว่าเป็นเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย

อัตราภาษี

วิธีการเสียภาษีจากการจําหน่ายเงินกําไรไปต่างประเทศนี้ให้เสียภาษีโดยหักจากจํานวนเงินที่ จําหน่ายในอัตราร้อยละ 10

การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี

แบบแสดงรายการที่ใช้ยื่น ได้แก่ ภ.ง.ด. 54 (ยื่นทุกครั้งที่มีการจําหน่ายเงินกําไรออกไปจากประเทศไทย ถ้าเก็บกําไรไว้ในประเทศไทยไม่ต้องเสียภาษีฐานนี้ )

ชําระภาษี ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จําหน่ายเงินกําไร

รอบระยะเวลาบัญชี

1. รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไป

2. รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน

3. รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนจํากัด

บริษัท จํากัด

บริษัทมหาชน จํากัด

2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทํากิจการในประเทศไทย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทํากิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งใน ประเทศไทย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทํากิจการอื่นๆ รวมทั้งใน ประเทศไทยและกิจการที่กระทํานั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศ ไทย ได้จําหน่ายเงินกําไรหรือเงิน ออกไปจากประเทศไทย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทํากิจการในประเทศไทย โดยตรงหากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทําการแทนหรือผู้ทําการติดต่อ ในการประกอบกิจกการในประเทศไทย

3. กิจการซี่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร

รัฐบาลต่างประเทศ

องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ

นิติบคุคลอื่นที่ตั้งขึ้นนตามกฎหมายของต่างประเทศ

4. กิจการร่วมค้า (Joint Ventrue)

5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้

6. นิติบุคคลที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

แหล่งเงินได้

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้นําเงินได้จาก การดําเนินกิจการทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเกิดจากการประกอบกิจการในประเทศไทยหรือต่างประเทศมารวม คํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามหลักแหล่งเงินได้ทั่วโลก (World Wide Income Basis)

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศให้เสีย ภาษีเงินได้เฉพาะจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในประเทศไทยเท่านั้น จึงไม่ต้องนําเงินได้จาก การประกอบกิจการในต่างประเทศมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบคุคลในประเทศไทย