การวิจัย
ความหมาย
การวิจัย เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนท่ีชัดเจนปราศจาก อคติส่วนตัว สามารถตรวจสอบได้ท่ีผู้วิจัยนามาใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อเท็จจริง เพื่อนำไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์ ทางสังคม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏี หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่าง ถูกต้อง แม่นยำและเช่ือถือได้
ตัวแปรและสมมติฐาน
ตัวแปร
คุณสมบัติหรือคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาหาความจริงซึ่งอาจจะเป็นสิ่งท่ีมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ เช่น คน วัตถุส่ิงของ สัตว์ พืช ครอบครัว ขนาดธุรกิจ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
ลักษณะและชนิดของตัวแปร
ลักษณะ
ตัวแปรรูปธรรม (Concept) หมายถึงตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะ ท่ีคนท่ัวไป รับรู้ได้ตรงกันหรือสอดคล้องกัน ตัวแปรประเภทนี้มักเป็นตัวแปรท่ีเป็นรูปธรรม เช่น เพศ อายุ ความ สูง เชื้อชาติ อาชีพ ระดับการศึกษา เป็นต้น
ตัวแปรนามธรรม (Construct) หมายถึง ตัวแปรท่ีแสดงความหมายใน ลักษณะ เฉพาะตัวบุคคล คนท่ัวไปอาจรับรู้ได้ตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ได้ ตัวแปรประเภทน้ีมักเป็นตัว แปรที่เป็น นามธรรม ตัวแปรลักษณะน้ี บางครั้งเรียกตัวแปรสมมติฐาน (hypothetical variable)
ชนิด
ตัวแปรอิสระ (independent variable) หมายถึงตัวแปรท่ีเกิดข้ึนก่อนและ เป็นตัวเหตุ ทำให้เกิดผลตามมา
ตัวแปรตาม (dependent variable) หมายถึงตัวแปรท่ีเกิดขึ้นเนื่องจากตัวแปรอิสระ หรือกล่าวได้ว่า เป็นตัวแปรท่ีเป็นผลเมื่อตัวแปรอิสระเป็นเหตุ
แหล่งที่มาของสมมติฐาน
การศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ทำให้ได้รู้ทฤษฎีและผลวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดแนวคิดที่ทำให้สามารถต้ังสมมติฐานได้
การสังเกตพฤติกรรม สังเกตความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ของพฤติกรรมนั้น รวมท้ัง การวิเคราะห์แนวโน้มของพฤติกรรมน้ัน ๆ ก็ทาให้ได้แนวทางในการต้ังสมมติฐาน
การได้ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาที่จะศึกษากับบุคคลอื่นๆ การได้ร่วมอภิปรายเก่ียวกับ ปัญหาที่จะศึกษากับบุคคลอื่นๆ ที่เก่ียวข้องกับเรื่องน้ัน ๆทำให้เกิดความคิดเช่ือมโยงกับ ประสบการณ์เดิมของผู้วิจัยก็สามารถตั้งสมมติฐานได้
จรรยาบรรณของนักวิจัย
นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่นต้องให้เกียรติ และ อ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นามาใช้ในวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความ เป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ท่ีได้จากการวิจัย
นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ นักวิจัยพึงมีจิตสำนึกที่จะอุทิศ กำลังสติปัญญาในการทาวิจัยเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของ สังคมและมวลมนุษยชาติ
นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งท่ีศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นส่ิงที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัยที่เก่ียวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกและมีปณิธานท่ีจะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรและส่ิงแวดล้อม
บทสรุป
โดยสรุปแล้วการวิจัย คือการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบซึ่งจะนำเสนอตามวัตถุประสงค์ ที่ผู้วิจัยได้กำหนดซึ่งเป็นประโยชน์ การศึกษาค้นคว้าของตนเอง หรือองค์กร เป็นการตอบ ปรากฏการณ์ สภาพการ การแก้ปัญหา หรือการประเมิน ซึ่งมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการ วิจัยท่ี สามารถอ้างอิงได้ โดยใช้เครื่องมือในการประเมินอย่างมีคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลท่ีใช้หลักการ ตาม กระบวนการวิทยาศาสตร์ผ่านการตีความหมายอย่างถูกต้องและเกิดความเข้าใจ ตลอดจนนำเสนอใน รูปแบบรายงานที่มีรูปแบบอย่างสมบูรณ์และเป็นสากล
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาคำตอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน
การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่นำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร
การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดย ที่ปัญหาในบางปัญหาไม่สามารถทำการวิจัยได้ เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้
สมมติฐาน
ความหมาย
คำตอบที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผลต่อปัญหาที่ ศึกษา หรือการเดาที่ใช้หลักเหตุผลใช้ปัญญา และเขียนอยู่ในลักษณะของข้อความที่กล่าวถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้ังแต่ 2 ตัวขึ้นไป
ประเภท
สมมติฐานทางวิจัย
สมมติฐานแบบมีทิศทาง
คำตอบที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผลต่อปัญหาที่ ศึกษา หรือการเดาที่ใช้หลักเหตุผลใช้ปัญญา และเขียนอยู่ในลักษณะของข้อความที่กล่าวถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้ังแต่ 2 ตัวขึ้นไปการเปรียบเทียบก็สามารถระบุได้ถึงทิศทางของความแตกต่าง
สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง
เป็นสมมติฐาน ที่เขียนโดย ไม่ได้ระบุทิศทางของความสัมพันธ์ของตัวแปร หรือทิศทางของความแตกต่างเพียงระบุว่า ตัวแปร 2 ตัว นั้นมีความสัมพันธ์หรือถ้าเป็นการเปรียบเทียบก็ระบุเพียงว่าสองกลุ่มนั้นมีคุณลักษณะแตกต่างกันเท่านั้น
ลักษณะของสมมติฐานท่ีดี
สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย จุดมุ่งหมายต้องการศึกษา อะไร แนวใดสมมติฐาน ก็ควรต้ังให้อยู่ในลักษณะของแนวทางเดียวกัน
อธิบายหรือตอบคำถามได้ ครอบคลุมปัญหาทุกด้าน และอยู่ ในรูปแบบท่ีสามารถลงสรุป ได้ว่าจะสนับสนุนหรือคัดค้าน ตอบคำถามเพียงข้อเดียวหรือประเด็นเดียว คือ ถ้าหลายหลายตัวแปร หรือหลาย ประเด็นควรแยกเป็นสมมติฐานย่อย ๆ เพราะจะทำให้สามารถลง สรุปว่ายอมรับหรือปฏิเสธ สมมติฐานได้ชัดเจน
การเขียนคำถามวิจัย
การเขียนคำถามการวิจัย จะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำวิจัยที่มีความสาคัญ ช่วยเป็นแนวทางใน การทำวิจัย แต่ผู้วิจัยมักจะมีปัญหาสงสัยไม่ทราบว่าจะตั้งคำถามวิจัยอย่างไร มีวิธีการเขียนที่ชัดเจน อย่างไร เก่ียวกับการต้ังคำถามวิจัย