ศึกษาลักษณะเม็ดเลือดของมนุษย์ตามทฤษฎีกับตัวอย่างเม็ดเลือด
จากห้องแลปเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย
เนื่องจากปัจจุบันมีการตรวจร่างกายจากสิ่งส่งตรวจต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการตรวจหาการเป็นโรค ในที่นี้คือ เลือด ที่สามารถ
แบ่งชนิดของโรคจากการตรวจรูปร่าง และลักษณะของ เม็ดเลือด ดังนั้น เพื่อความแม่นยำในการเปรียบเทียบ ลักษณะเม็ดเลือด ของมนุษย์
ตามทฤษฎี และ ตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิกการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบความแตกต่าง ของเม็ดเลือดแต่ละชนิด เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และการรักษาผู้ป่วยในวิชาชีพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อการศึกษาลักษณะต่างๆของเม็ดเลือด ตามทฤษฎี
2.เพื่อการวิเคราะห์เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่างเม็ดเลือดแต่ละชนิด ตามทฤษฎี
3.เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของเม็ดเลือด
ในห้องปฏิบัตการ (ห้องแลป)
4.เพื่อการศึกษาลักษณะของเม็ดเลือด จากตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลป เทคนิกการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คำถามของการวิจัย
เม็ดเลือดแต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะความต่างกันอย่างไร
มีความเกี่ยวข้อง รวมไปถึงมีความสำพันธ์ กันอย่างไร ตามทฤษฎี กับ ตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิกการแพทย์
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษา ลักษณะเม็ดเลือดของมนุษย์ตามทฤษฎี กับ ตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
นั้น คณะผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างงานวิจัย 1
ประสิทธิ์ ชนะรัตน์(2534)คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาเรื่องการควบคุมคุณภาพภายในของการตรวจสอบแผ่นเสมียร์เลือด การวิจัยครังนี้
เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาเกี่ยวกับกับ การตรวจสอบสเมียร์เลือด เพื่อให้ได้การตรวจ
ที่ถูกต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของการเก็บตัวอย่างเลือด การทำเสมียร์เลือด การย้อมสี ทิศทาง
การนับ การนับแยกเม็ดเลือดการกำหนดเกณฑ์การอ่านเม็ดเลือดที่ถูกต้อง ข้อควรคำนึง
ในการควบคุมคุณภาพของการตรวจสอบเสมียร์
ผลการศึกษา พบว่า การทำ internal quality control ของการตรวจ blood smear นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเก็บเลือด การไถเสมียร์ การย้อมสี ฯลฯ ให้ถูกต้อง
เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด
ตัวอย่างงานวิจัย 2
Wimonsiri Chanatrirattanapan(2560) ได้ศึกษาเรื่องความถูกต้องของดัชนีค่าเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน
ที่มีนิวเคลียส นิวโทรฟิล ลิมโฟไซท์ และโมโนไซท์ ที่ได้จากเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติเปรียบเทียบกับ
การย้อมสีแล้วนับด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผลการตรวจจากเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ เปรียบเทียบกับการย้อมสีแล้วนับดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ วิเคราะห์ความแตกต่าง
ผลการศึกษา พบว่า เมื่อทดสอบความสอดคล้องด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่าจำนวน NRBC และ monocyte มีความสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธีในระดับพอใช้และแย่ ในขณะที่ neutrophil และ lymphocyte มีความสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธีในระดับดีมาก และดี เมื่อใช้เกณฑ์ที่ความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 10 มาสร้างกราฟ ได้ผลสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธีของ NRBC ที่ช่วง 50-170 เซลล์ต่อเม็ดเลือดขาว 100 ตัว และ monocyte ได้ผลสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธี ที่ 0-10 เซลล์ ส่วน neutrophil และ lymphocyte ได้ผลสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธีทุกคู่
สมมติฐาน
ตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิค
การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีลักษณะตรงตามลักษณะเม็ดเลือดของมนุษย์ตามทฤษฎี
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2563 ที่ศึกษาในรายวิชาโลหิตวิทยา 1 จำนวน 20 คน
ประชากร
-ไม่จำกัดเพศ และอายุ
-เป็นนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่ได้ศึกษาในรายวิชา โลหิตวิทยา1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ระยะเวลา
การศึกษาครั้งนี้กระทำในภาคการศึกษาที่ 3/2563เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง
นิยามคำศัพท์
Erythrocytic series
(เซลล์สายเม็ดเลือดแดง)
หมายถึง เซลล์ทุกระยะในร่างกายของมนุษย์ที่พัฒนามาจากเซลล์เม็ดเลือดตั้งต้น และพัฒนาเป็นเม็ดเลือดแดงตัวเต็มวัย
Cytoplasm characteristic
(ลักษณะไซโทพลาสซึม)
หมายถึง การติดสีของไซโทพลาสซึม การพบแกรนูล หรือการย้อมไม่ติดสี
Leukocytic series
(เซลล์สายเม็ดเลือดขาว)
หมายถึง เซลล์ทุกระยะในร่างกายของมนุษย์ที่พัฒนามาจากเซลล์เม็ดเลือดตั้งต้น และพัฒนาเป็นเม็ดเลือดขาว
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1.ทราบถึงลักษณะต่างๆของเม็ดเลือด
ตามทฤษฎี
2.ทราบถึงการวิเคราะห์เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่างเม็ดเลือดแต่ละชนิดตามทฤษฎี
3.ทราบถึงการเปรียบเทียบลักษณะของ
เม็ดเลือดในห้องปฏิบัติการ (ห้องแลป)
4.ทราบการศึกษาลักษณะของเม็ดเลือด จากตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิกการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อการนำไปวิเคราะห์ในตรวจหาเม็ดเลือดจากผู้ป่วย
ระเบียบวิธีวิจัย
1. วิธีวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง
2. แหล่งข้อมูล : ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสํารวจ การสังเกต และการรวบรบม และศึกษาข้อมูล
ในห้องปฏิบัติการเทคินคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลียลักษณ์
ข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
3.วิธีการสุ่มตัวอย่าง : โดยการคัดเลือกนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 2 ที่อาษาเต็มใจ
ให้ความร่วมมือกับงานวิจัย
4.เก็บข้อมูลจาก : ห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ 6 มหาวิทยาลันวลัยลักษณ์
5 วิธีการเก็บข้อมูล : จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทาง Google form
แบบสอบถามการสังเกตข้อมูลตามทฤษฏฎีและห้องปฏิบัติการทาง Google form
การประชุมสรุปข้อมูล หลังการสังเกต ในห้องปฏิบัติการ
6. การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล : การวิเคราะห์ข้อมูลโดย Inferential ststistics
และ ทดสอบโดยการใช้ Shapiro Wink Test/Anderson Dering test และทดสอบค่าความแปรปรวน โดยใช้ Leven's test เพื่อให้สามารถตอบคําถามของการวิจัยที่ต้องการได้