การสำรวจสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เป็นที่นิยมของนักศึกษา สำนักศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ความสำคัญและที่มาของการวิจัย

ในปัจจุบันมนุษย์ไม่สามารถอยู่เพียงลำพังคนเดียว
ได้จำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่นหรือไม่ก็หาสัตว์เลี้ยงน่ารักๆ หลาก
ชนิดมาเลี้ยงเป็นเพื่อนแก้เหงา หรือเพื่อเป็นการพักผ่อน
หย่อนใจและเป็นงานอดิเรกเราจึงได้ทำแบบสำรวจมาเพื่อสำรวจประเภทของสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบันของนักศึกษาสำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ เพื่อให้รู้ว่าในปัจจุบันสัตว์เลี้ยงในบ้านประเภทไหนที่เป็นที่นิยมที่สุด
และปัจจัยใดที่ส่งผลให้นักศึกษาสนใจในการเลี้ยงสัตว์ในบ้านชนิดนั้น

คำถามของการวิจัย

1. สัตว์เลี้ยงในบ้านชนิดไหนที่เป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน

2. อะไรบ้างที่เป็นปัจจัยส่งผลให้ใครหลายๆคนตัดสินใจ
เลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน

สมมติฐาน

1. ตัวแปรอิสระ : เพศ อายุของนักศึกษา และประเภทของ
สัตว์เลี้ยง

2. ตัวแปรตาม : ประเภทของสัตว์เลี้ยงที่เป็นที่นิยมที่สุด

3. ตัวแปรควบคุม : จำนวนนักศึกษาสำนักวิชาศิลปศาสตร์
สาขาภาษาอังกฤษ

คำนิยาม

1. การเลี้ยงสัตว์ หมายถึง การปฏิบัติเกี่ยวกับการเลี้ยงดูการให้อาหาร การทำความสะอาดที่อยู่อาศัย การป้องกันและรักษาโรคของสัตว์ เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง และให้ผลผลิตตอบแทนสูงสุด

2. สัตว์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มีความรู้สึก และสามารถเคลื่อนไหว ย้ายที่ไปได้เองสัตว์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ

3. สัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่มนุษย์นำมาดูแลเอาใจใส่เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น เลี้ยงไว้เพื่อใช้แรงงาน เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามเพลิดเพลิน เป็นต้น

ระเบียบวิธีวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ส านักวิชาศิลปะศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษจำนวน 102 คน
2. ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
- ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2563
3. วิธีการเก็บข้อมูล
- แจกแบบสeรวจให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สeนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษทางรูปแบบออนไลน์
4. เครื่องมือที่ใช้
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้คือ
แบบสำรวจออนไลน์
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
- ใช้สถิติค่าเฉลี่ย และร้อยละ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อศึกษาว่าสัตว์เลี้ยงในบ้านชนิดไหนเป็นที่นิยมที่สุดใน
ปัจจุบัน

2.เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการ
เลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านของนักศึกษา

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

- นิยามของสัตว์เลี้ยง
สัตว์เลี้ยง คือสัตว์ที่ถูกควบคุมโดยมนุษย์ ในเรื่องการให้อาหาร การคุ้มครองดูแล การผสมพันธุ์ของสัตว์ตามต้องการได้ และสร้างความผูกพันต่อกันระหว่างคนกับสัตว์ จึงเรียกว่าสัตว์เลี้ยง แต่จะไม่นับสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ สัตว์ที่อยู่ในห้องทดลองว่าเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย เหตุเพราะไม่มีส่วนผูกพันกับชีวิตและความเป็นอยู่ของคนโดยตรง สัตว์เลี้ยงคือมิตร คือเพื่อน
ผู้ซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อเจ้าของ

- ความเป็นมาของสัตว์เลี้ยง
จริง ๆ แล้วมนุษย์ได้เริ่มทำการเลี้ยงสัตว์เมื่อประมาณ 2 หมื่นปีมาแล้วโดยมีการนำเอาลูกสุนัขป่ามาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านเพื่อเป็นเพื่อนเล่น เชื่อว่าแหล่งที่เริ่มเลี้ยงสุนัขอยู่ในแถบยูเรเซียและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ต่อมาเมื่อประมาณ 1 หมื่นปีมานี้ มนุษย์เริ่มเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เช่น โค แพะ แกะ และสุกร เพื่อเป็นแหล่งของอาหารและเครื่องนุ่งห่ม และหลังจากนั้นจึงได้มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น สัตว์ปีก และแมลงต่าง ๆ เวลาและสถานที่ที่เริ่มทำการเลี้ยงสัตว์สำคัญบางชนิด

- ประโยชน์ของสัตว์เลี้ยง
1. ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม
จากงานวิจัยของ Poresky and Hendrix (1989) เด็กที่สามารถใช้สัตว์เลี้ยงเป็นเสมือนสิ่งพึ่งพิงทางอารมณ์และสังคมนั้นมักจะมีพ่อแม่เป็นแหล่งพึ่งพิงทางอารมณ์และสังคมมาก่อน คือมีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดีมาก่อนนั้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถซึมซับและรับรู้ว่าสัตว์เลี้ยงเป็นแหล่งพึ่งพิงทางสังคมได้เช่นกัน พบว่าเด็กที่มีสัตว์เลี้ยงและมีความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงสูง จะมีคะแนนความเห็นอกเห็นใจสูงกว่าเด็กที่เลี้ยงสัตว์แต่ความผูกพันน้อย และที่ส าคัญคือเด็กที่เลี้ยงสัตว์และมีความผูกพันสูงจะให้คะแนนสิ่งแวดล้อมที่บ้านดีกว่าเด็กที่มีความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงน้อยด้วย (Daly and Morton, 2006)

- ประโยชน์ของสัตว์เลี้ยง
2. พัฒนาการทางอารมณ์
แม้ว่าสัตว์เลี้ยงจะไม่มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยตรงเหมือนพ่อแม่ แต่เมื่อมีสัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้าน และสัตว์เลี้ยงที่เคลื่อนที่ได้ เช่นสุนัข ที่อยู่คลอเคลียใกล้ชิดกับเด็ก
สามารถเป็นสิ่งกระตุ้นให้เด็กคงความสนใจได้นาน และจากงานวิจัยของ Beetz et al.(2012) เด็กชายที่มีปัญหาเรื่องความผูกพัน มีแนวโน้มจะเข้าหาสัตว์เลี้ยงมากกว่าคนที่เป็นคุณครูหรือตุ๊กตา ถ้าสัตว์เลี้ยงมีการเคลื่อนไหวที่คาดเดาได้ ไม่คุกคามเด็กจะทำให้เด็กสามารถจดจ่ออยู่กับสัตว์เลี้ยงได้นานด้วยอารมณ์สงบ ไม่ตื่นกลัว ไม่กังวลมากเกินไป

- ลักษณะของนักเลี้ยงสัตว์ที่ดี
1. ต้องมีนิสัยรักสัตว์ เมตตากรุณาต่อสัตว์
2. ผู้เลี้ยงสัตว์ที่ดีจะต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ความชำนาญอยู่เสมอ
3. สัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้ มีอารมณ์เช่นเดียวกับคน ปกตินิสัยสัตว์โดยทั่วไปมักจะดื้อรั้น ถ้าไม่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ดังนั้น หากผู้เลี้ยงไม่เป็นคนใจเย็น โกรธง่าย ทุบตีสัตว์ รังแกสัตว์ ก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สัตว์เกิดความเครียด
4. ผู้เลี้ยงสัตว์ต้องมีความสนใจเป็นทุนเดิม
5. จะต้องมีความรับผิดชอบต่องานที่จะต้องทำ
6. จะต้องขยัน อดทนต่อความลำบากตากตรำถึงแม้ว่างานเลี้ยงสัตว์จะเป็นงานที่เบาแต่ก็เป็นงานที่จุกจิก

- สาเหตุที่ทำให้การเลี้ยงสัตว์ไม่ประสบผลสำเร็จ
1. ขาดความรู้ ความชำนาญ
2. สภาวะของการตลาดไม่เอื้ออำนวย
3. การขาดความรับผิดชอบต่องานของตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำ
4. มีนิสัยไม่เหมาะสม ไม่รักสัตว์
5. เริ่มต้นเลี้ยงด้วยการไม่ปฏิบัติตามหลักการของหัวใจการเลี้ยงสัตว์ เช่น ใช้สัตว์พันธุ์เลวบ้าง อาหารไม่ดี คุณภาพต่ำให้อาหารไม่ถูกต้องบ้าง การจัดการที่ผิด การสุขาภิบาลไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสาเหตุของการล้มเหลวทุกอย่าง

- แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ ความหมายของความพึงพอใจจากการศึกษาผู้วิจัยสรุปได้ว่า ความหมายของความพึงพอใจ คือความรู้สึกนึกคิด หรือ ทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งสามารถเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดี
หรือในด้านบวกและด้านลบ ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสิ่งนั้น สามารถตอบสนองความต้องการแก่บุคคลนั้น

- การวัดความพึงพอใจ
1. การใช้แบบสอบถาม
2. การสัมภาษณ์ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องอาศัย เทคนิคและความชำนาญพิเศษของผู้สัมภาษณ์ที่จะจูงใจให้ผู้ตอบค าถามตามข้อเท็จจริง
3. การสังเกต เป็นการสังเกตพฤติกรรมทั้ง ก่อนการปฏิบัติ
กิจกรรม ขณะปฏิบัติกิจกรรมและ หลังการปฏิบัติกิจกรรม

ขอบเขตของการวิจัย

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา : การศึกษาวิจัยครั้งนี้การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถาม
เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีตัวแปรที่ต้องศึกษา ดังนี้
- ตัวแปรอิสระ(Independent Variable) คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุของนักศึกษา และประเภทของสัตว์เลี้ยง
- ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ประเภทของสัตว์เลี้ยงที่เป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบันของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
- ตัวแปรควบคุม ( Control Variable ) คือ จำนวนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ 102 คน
2. ขอบเขตด้านประชากร : นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
3. ขอบเขตด้านพื้นที่ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

1. เพื่อทราบสถิติการเลี้ยงสัตว์ในบ้านของนักศึกษาชั้นปีที่ 1
สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ
2. เพื่อทราบความนิยมของสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เป็นที่นิยมที่สุด
ในปัจจุบัน
3. เพื่อทราบปัจจัยที่ส่งผลให้เลี้ยงสัตว์ในบ้านชนิดนั้นๆ