พระธรรม
อริยสัจ 4
คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
ทุกข์
ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
สมุทัย
เหตุเกิดแห่งความทุกข์ เพราะความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุเกิดจากอะไรบางอย่าง
นิโรธ
ความดับทุกข์หรือดับปัญหาต่างๆ
มรรค
ข้อปฏิบัติที่ทำให้พ้นจากความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ
โยนิโสมนสิการ
การทำในใจให้ดีละเอียดถี่ถ้วน กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาท ยกตัวอย่าง 2 วิธี
วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์คือการศึกษาเป้าหมายและวิธีการ ว่าวิธีการถูกต้องต่อการที่จะทำให้เป้าหมายบรรลุผลหรือไม่
วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรมคือการคิดเป็นแสวงหาประโยชน์ในสิ่งต่างๆ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดบวก วิธีคิดแบบนี้อธิบายว่าปากกาด้ามหนึ่งใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ใช้เป็นตะเกียบได้หรือเปล่า(คิดพลิกแพลง) นำไปดัดแปลงเป็นอะไรร่วมกับอะไรได้บ้าง(คิดประยุกษ์) และคิดในแง่บวก
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
คือ
ปัญญา
ความรอบรู้ ความฉลาดอันเกิดจากการเรียนรู้ และคิด
สมาธิ
ความตั้งมั่นแห่งจิต ความมีใจตั้งมั่น
อานาปานสติ
การมีความระลึกรู้ตัวในลมหายใจเข้าออก
ขั้นตอนเตรียมการปฏบัติ
เลือกหาที่สงบเงียบสบายและตั้งเวลาอย่างเหมาะสม
ขั้นตอนการปฏิบัติ
นั่งสมาธืและกำหนดลมหายใจเข้าออก
ประโยชน์
มีสมาธิมากขึ้นรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู๋
จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน
มีปัญญาความคิดกสนเรียนรู้เพิ่มขึ้น
การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
คือ
ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ คือ การหมั่นเข้าวัด
ให้ความใส่ใจในการฟังธรรมเทศนา
รักษาศีลให้บริสุทธิ์
ให้ความศรัทธาต่อพระภิกษุโดยเสมอภาค ไม่แบ่งแยกพรรษา
ไม่ฟังธรรมด้วยตั้งใจจะคอยเพ่งโทษติเตียน คือ ฟังธรรมด้วยจิตน้อมนำไปในทางกุศล
ไม่แสวงหาการทำบุญบริจาคทานนอกคำสอนของพระศาสนา
ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ
พระไตรปิฎก
คัมภีร์ของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
พระวินัยปิฎก
วินัยส่วนที่เป็นศีล วินัยบังคับของ ภิกษุ ภิกษุณี
พระสุตตันตปิฎก
พระสูตร คือ พระธรรมคำสอนที่แสดงแก่สาวก
พระอภิธรรมปิฎก
พระอภิธรรม ส่วนที่เป็นหลักธรรมคำอธิบายรูปวิชาการ
พระรัตนตรัย
คือแก้ว 3 ประการ องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง
พระธรรม
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระสงฆ์
ผู้สืบทอดคำสอนของพระพุทธเจ้า
ธรรมคุณ6
คุณลักษณะพระธรรม 6 ประการ
สวากขาโตภคสตาธัมโม
พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง
สันฏฐิโก
พระธรรมนี้ผู้ปฏิบัติตามจะเห็นได้ด้วยตนเอง
เอหิปัสสิโก
พระธรรมเป็นคำสอนที่ควรจะเชิญให้ใครๆ มาดู มาพิสูจน์ มาตรวจสอบ
โอปะนะยิโก
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าไว้ในใจเพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิต
ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิติ
พระธรรมนี้เป็นสิ่งที่วิญญูชนจะรู้ได้ และการรู้ได้นั้นเป็นของเฉพาะตน ต้องปฏิบัติตามจึงจะรู้ ทำแทนกันไม่ได้ แบ่งปันให้กันไม่ได้ ต้องประจักษ์ด้วยตนเอง
อกาลิโก
ไม่เนื่องด้วยกาลเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาปฏิบัติตามได้พร้อมบริบูรณ์เมื่อใดก็เห็นผลเมื่อนั้น
พระพุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิตที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพื่อเป็นแนวทางการดำรงชีวิต
เช่น
พาโล อปริณายโก : คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ
ทุวิชาโน ปราภโว : ผู้มีความรู้ในทางชั่ว เป็นผู้เสื่อม