Exercise Behavior For Health
Of Walailak University Students
ที่มาและความสำคัญ
การดำเนินชีวิตนับตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่าวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนเเปลงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นผลจากด้านสังคม ด้านเทคโนโลยีความทันสมัย หรือด้านเศรษฐกิจ มีผลทำให้พฤติกรรมการดูเเลสุขภาพในปัจจุบันเปลี่ยนเเปลงไป
การออกกำลังกายทำให้ร่างกายเเข็งเเรง มีภูมิต้านทานต่อโรคภัยต่างๆ เราทราบกันดีอยู่เเล้วว่าไม่ว่าจะเกิดโรคภัย หากมีภูมิต้านทานที่ดีจากสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ก็จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข รายงานอัตราการตายของประชากรไทยในปี2558 5 อันดับเเรกจำเเนกตามสาเหตุ ได้เเก่ อันดับ1 มะเร็งทุกชนิด อันดับ2 โรคหลอดเลือดในสมอง อันดับ3 ปอดอักเสบ อันดับ4 โรคหัวใจขาดเลือด อันดับ5 อุบัติเหตุจากการคมนาคมทางบก ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถสรุปได้ว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ เป็นการป้องกันการก่อให้ให้เกิดโรคที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้นของประเทศไทยได้
ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกาย เพื่อนำผลวิจัยมาใช้เป็นเเนวทางในการส่งเสริม สร้างเเรงจูงใจในการดูเเลสุขภาพด้านการออกกำลังกายของนักศึกษาชั้นปีที่1 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการเเพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้มีสุขภาพดีสนองต่อนโยบายเมืองไทยสุขภาพดี รวมถึงสนองต่อเเผนพัฒนาสุขภาพเเห่งชาติอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
3. เพื่อส่งเสริมเเละผลักดันความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คำถามวิจัย
1. นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความสนใจในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากน้อยเพียงใด
2. รูปเเบบการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นเเบบใด
3. ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความสนใจในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
4. ผลลัพธ์หลังจากการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นไปในรูปเเบบใดบ้าง
สมมติฐาน
นักศึกษาเทคนิคการเเพทย์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีโรคประจำตัวเเตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ต่างกัน
นักศึกษาเทคนิคการเเพทย์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีรายได้เเตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เเตกต่างกัน
นักศึกษาเทคนิคการเเพทย์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีภูมิลำเนาเเตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ต่างกัน
ตัวเเปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวเเปรต้น
โรคประจำตัว รายได้ เเละภูมิลำเนา
ตัวเเปรตาม
พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาเทคนิคการเเพทย์ ชั้นปีที่1
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นกลุ่มของนักศึกษาสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการเเพทย์ ชั้นปีที่1 (ภาคปกติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จำนวน 164 คน
เพศหญิง 138 คน
เพศชาย 26 คน
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
การศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการเเพทย์ ชั้นปีที่1 ใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าตั้งเเต่
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 26 เมษายน 2564
ทฤษฎีเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของพฤติกรรม
ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2539:373)
หมายถึง การกระทำทั้งด้านกายกรรม วจีกรรม เเละมโนกรรม หรือการเเสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด เเละความรู้สึกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า
เเนวคิดเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
ความหมายของการออกกำลังกาย
เฉก ธนะสิริ เเละคณะ (2540:140) ให้ความหมายไว้ว่า การออกกำลังกาย หมายถึง การใช้กล้ามเนื้อเเละอวัยวะอื่นๆของร่างกายมากกว่าการเคลื่อนไหวหรืออิริยาบถต่างๆตามปกติในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายที่ดีเเละถูกต้อง ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสมของอายุ เพศ เเละสภาวะร่างกาย
หลักการออกกำลังกาย
การกีฬาเเห่งประเทศไทย(2537:3) ได้เสนอแนวปฏิบัติในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพไว้ 10 ประการ ดังนี้
1. การประมาณตน ควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายเเต่ละคน
2. การเเต่งกาย ต้องเหมาะสมกับประเภทเเละชนิดของกีฬาเเละสภาพภูมิอากาศ
3. เลือกเวลา ดิน ฟ้า อากาศ ควรกำหนดเวลาของการออกกำลังกายให้เเน่นอนเเละควรเป็นเวลาเดียวกันทุกครั้ง
4. สภาพของกระเพาะอาหาร มีหลักทั่วไปว่าควรงดอาหารหนักก่อน
ออกกำลังกาย 3 ชั่วโมง
5. การดื่มน้ำ สมรรถภาพทางกายจะลดต่ำลงเพราะร่างกายขาดน้ำ ร่างกายจะต้องมีน้ำสำรองปริมาณ 2% ของน้ำหนักตัว
6.ความเจ็บป่วยระหว่างการออกกำลังกาย หากมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกายควรหยุดพักผ่อน
7. ความเจ็บป่วย ความเจ็บป่วยทุกชนิดทำให้สมรรถภาพลดลงเเละถ้าร่างกายต้องการพักผ่อนอยู่เเล้วหากออกกำลังกายเข้าอาจเกิดอันตรายเเก่ร่างกายได้
8. ด้านจิตใจ ต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่งขณะออกกำลังกาย
9. ความสม่ำเสมอ ผลเพิ่มสมรรถภาพต่างๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับปริมาณความหนักเบาของการฝึกซ้อมเเละการออกกำลังกายในครั้งต่อไป ยังขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอด้วย
10. การพักผ่อน หลังออกกำลังกายจำเป็นต้องมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์ (2534:3) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย
ไว้ 5 ประการ ดังนี้
ด้านร่างกาย
อวัยวะในระบบต่างๆของร่างกาย สามารถทำงานประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลทำให้ร่างกายสมบูรณ์เเข็งเเรง
ด้านจิตใจ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์เเข็งเเรงเเล้วจิตใจร่าเริงเบิกบาน ก็จะเกิดควบคู่กันมาเนื่องจากร่างกายปราศจากโรคภัย
ด้านอารมณ์
การมีอารมณ์เยือกเย็นจะสามารถทำงานหรือออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี
ด้านสติปัญญา
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ปลอดโปร่ง มีไหวพริบ
มีความคิดสร้างสรรค์
ด้านสังคม
สามารถปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานเเละผู้อื่นได้ มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
เเละสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
นิยามศัพท์เฉพาะ
พฤติกรรม
นิตยา เพ็ญศิรินภา (2544:60) ให้ความหมายไว้ว่า พฤติกรรมคือการกระทำทุกสิ่งอย่างที่เเต่ละบุคคลเเสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า เป็นการปฏิบัติต่อเนื่องเป็นประจำสอดคล้องกับสภาพเเวดล้อมที่เปลี่ยนเเปลงให้กลายเป็นสุขนิสัยติดตัวไปได้ โดยจะแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยการกระทำที่สังเกตเห็นได้เเละไม่สามารถสังเกตได้
การออกกำลังกาย
เฉก ธนะสิริ เเละคณะ (2540:140) ให้ความหมายไว้ว่า การออกกำลังกาย หมายถึง การใช้กล้ามเนื้อเเละอวัยวะอื่นๆของร่างกายมากกว่าการเคลื่อนไหวหรืออิริยาบถต่างๆตามปกติในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายที่ดีเเละถูกต้อง ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสมของอายุ เพศ เเละสภาวะร่างกาย
พฤติกรรมการออกกำลังกาย
อนุสรณ์ ศิริอนันต์ (2544:24) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมการออกกำลังกายไว้ว่า
เป็นการปฏิบัติหรือการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายของนิสิต ซึ่งเเสดงออกในเรื่องความรู้ เจตคติ เเละการปฏิบัติ
ระเบียบวิธีวิจัย
ประเภทของการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research) เเละระเบียบวิจัยเชิงสำรวจโดยให้ผู้ตอบกรอกคำตอบเองในเเบบสอบถาม (questionnaire) ผ่าน Google ฟอร์ม
กลุ่มตัวอย่าง
นักศึกษาสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการเเพทย์(ภาคปกติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชั้นปีที่1 จำนวน 164 คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการออกกำลังกายที่มีผลต่อสุขภาพของนักศึกษา
ชั้นปีที่1 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการเเพทย์ มหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์
ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาชั้นปีที่1 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการเเพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ทำให้ทราบถึงความต้องการในเรื่องการออกกำลังกายเเละสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทุกด้านเพื่อตอบสนองความต้องการในการออกกำลังกาย
เพื่อใช้เป็นเเนวทางในการวางเเผนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ รณรงค์ให้มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษาชั้นปีที่1
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์