ปลาทอง

การให้อาหาร

ควรให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้ง ปลาควรกินหมดภายใน 15 นาที อาหารที่เหลือควรตักออกเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย การให้แต่ละครั้ง

ควรให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้ง ปลาควรกินหมดภายใน 15 นาที อาหารที่เหลือควรตักออกเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย การให้แต่ละครั้งไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาอ้วนเกินไปได้ ลักษณะของปลาทองที่สมบูรณ์สังเกตได้จากบริเวณโคนหางจะใหญ่ แข็งแรง และมีความสมดุลกับตัวปลา เมื่อมองจากมุมด้านบนจะสังเกตเห็นความกว้างของลำตัวอ้วนหนา บึกบึน ขณะที่สีบนตัวปลาจะต้องมีสีสดเข้ม กรณีที่เลี้ยงปลาทองในบริเวณที่มีแสงแดดเพียงพอไม่จำเป็นต้องให้อาหารเร่งสีแก่ปลาทอง

ประวัติของปลาทอง

ปลาทองมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองหลายสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคน ได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูน่าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการ แปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ

สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบัน

ปลาทองออรันดา

ปลาทองออรันดา

ปลทองหัวสิงห์

สิงห์จีน

สิงห์จีน

สิงห์ญี่ปุ่น

สิงห์ญี่ปุ่น

สิงห์ดำตามิด

สิงห์ดำตามิด

ปลาทองรันชู

ปลาทองรันชู

ปลาทองริวกิ้น

ปลาทองริวกิ้น

ปลาทองลูกโป่ง

ปลาทองลูกโป่ง

ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลาทอง

การเลี้ยงปลาทองให้มีสุขภาพแข็งแรง สีสันสดใส เราจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส

การเลี้ยงปลาทองให้มีสุขภาพแข็งแรง สีสันสดใส เราจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่สถานที่เลี้ยง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใส หรืออ่างปูนซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ซึ่งใช้เลี้ยงปลาทองได้มากถึง 12 ตัว แต่ถ้าเลี้ยงในอ่างซีเมนต์ต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ควรเป็นจุดที่ไม่อับแสง แต่ก็ไม่ควรมีแสงจ้าจนเกินไป ทั้งนี้ควรใช้ตาข่ายพรางแสงประมาณ 60% ปิดปากบ่อ สภาพของบ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียง เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
ส่วนการเลี้ยงปลาทองในตู้กระจกจะทำให้ง่ายต่อการควบคุมอุณหภูมิ เพราะว่าปลาทองค่อนข้างที่จะอ่อนไหวกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ฉะนั้นการรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่ตลอดวันจะทำให้ปลาทองรอดชีวิตได้ดีมากขึ้น

ออกซิเจน

ปลาทองส่วนมากเคยชินกับสภาพน้ำที่ต้องมีออกซิเจน ดังนั้น ในตู้ปลาก็ต้องมีระบบการหมุนเวียน ไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำ เพราะการหมุนเวียนของน้ำคือการทำให้เกิดการสร้างออกซิเจน และปลาทองขนาดใหญ่ย่อมต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็ก

ส่วนเรื่องอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสม คือ 28-35 องศาเซลเซียส หากเพิ่งซื้อปลามาใหม่ ก่อนที่จะปล่อยปลาลงในตู้ ควรแช่ถุงใส่ปลาทองในน้ำก่อนซัก 10-15 นาที

คุณภาพน้ำ

น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากในการเลี้ยงปลา เพราะมีผลต่อปลาโดยตรง เช่น คุณภาพน้ำที่เหมาะสมจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว ปลาไม่เกิ

น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากในการเลี้ยงปลา เพราะมีผลต่อปลาโดยตรง เช่น คุณภาพน้ำที่เหมาะสมจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว ปลาไม่เกิดความเครียด สุขภาพดี แข็งแรง ต้านทานต่อโรคได้ดี ซึ่งน้ำประปามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาใช้เลี้ยงปลาทอง เนื่องจากน้ำประปาผ่านการบำบัด และการกรองหลายขั้นตอน จึงสะอาด ปราศจากเชื้อโรค แต่ก็มีปัญหาเรื่องปริมาณคลอรีนที่หลงเหลืออยู่ในน้ำเช่นกัน วิธีการกำจัดคลอรีนก็สามารถทำตามได้ดังนี้

– ถ้าต้องการใช้น้ำเลี้ยงปลาทันที สามารถเติมโซเดียมไทโอซัลเฟต อัตรา 1 เกล็ดต่อน้ำ 5 ลิตร

– พักน้ำไว้ 2-3 วัน หรือตากแดดไว้ 24 ชั่วโมง คลอรีนจะแตกตัวระเหยไปกับอากาศ