สังคมความรู้ (่ Knowledge Society )
1.นิยามหรือความหมายของสังคมความรู้ (Definition of Knowledge Society)
2.ยุคของสังคมความรู้ (Knowledge Society Era)
2.1สังคมความรู้ยุคที่ 1 เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอ านาจอยู่ด้วยกัน เกิดการผลิต มี
ความสามารถในการแข่งขัน กลไกตลาด และความอยู่รอด
1) Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ
2) Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้
3) Knowledge Valuation คือ การตีค่า การตีความรู้ ว่าเมื่อมีการใช้ความรู้นั้นแล้วมี
ความคุ้มค่าหรือไม
4) Knowledge Optimization คือ การท าความรู้ให้ง่ายที่จะใช้
5) Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้ ปัจจุบันความรู้เป็นสมบัติ
สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
2.2 สังคมความรู้ยุคที่ 2 เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุก
ภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ใช้ความรู้ให้เป็นพลัง มีความเป็นอิสระ และ
พึ่งตนเอง
3.ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้
3.1ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง
3.2 เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
3.3 ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา
3.4 สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ด าเนินการ
3.5 มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง
3.6 มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
3.7มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมด าเนินการอย่างต่อเนื่อง
3.8 การริเริ่ม/การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา
3.9 สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้
3.10 ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน
3.11 ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน
4.ความรู้ (Knowledge)
4.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ “ความรู้”
4.1.1 ความหมายของข้อมูล (Data)
4.1.2 ความหมายของสารสนเทศ (Information)
4.2 ความหมายของความรู้(Definition of Knowledge)
Davenport and Prusak (1998 : 5) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึง ส่วนผสมที่เกิดจาก
4.2 ประเภทรูปแบบความรู้(Type of Knowledge)
1) Tacit Knowledge ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคลหรือความรู้ที่ซ่อนเร้น เป็น
ความรู้ที่ได้จากประสบการณ
2) Explicit Knowledge ความรู้ที่เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้ เป็นความรู้ที่สามารถ
รวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ
นอกจากนั้น มนตรี จุฬาวัฒนทล (2537 อ้างถึงใน น้ าทิพย์ วิภาวิน, 2547 : 4) ได้แบ่ง
ประเภทของความรู้ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก
1) ความรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวเรา ซึ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งการมองเห็น ได้
กลิ่น ได้ยิน และได้ลิ้มรส
2) ความรู้ด้านภาษา ซึ่งจะท าให้อ่านและเขียนหนังสือได้ ฟังเข้าใจ ดูโทรทัศน์รู้เรื่อง
ตลอดจนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ตกทอดกันมา
3) ความรู้ด้านวิชาการ เป็นความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน เช่น สามารถค านวณได้
วินิจฉัยได้ รู้จักกฏเกณฑ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งความรู้ประเภทนี้เกิดจากการเรียนรู้จากครู อาจารย์ เอกสาร
ต าราทางวิชาการต่างๆ
4) ความรู้ใหม่ คือ ความรู้ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นความรู้ที่เกิดจากการค้นคว้าวิจัย การ
คิดค้นกระบวนการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนา
วิจารณ์ พานิช (2546) ยังได้กล่าวถึงค าที่เกี่ยวข้องกับความรู้มีอยู่มากมาย ได้แก่
5.กระบวนการจัดการความรู้ (Processes of Knowledge)
กระบวนการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการกับความรู้ที่จะเกิดขึ้น
ภายในองค์กรซึ่งมีดังนี้
1.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะท าอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย โดยจะคัดเลือก
ว่าจะใช้เครื่องมืออะไร และขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร โดยอาจจะ
พิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร
2.การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถท าได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่
แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า ก าจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมส าหรับการเก็บ
ความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต
4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้
ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม
5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการท าให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก โดย
การใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board