Fundamental of Research

การจัดกระทำข้อมูล

Input เป็นการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์

Processing เป็นขั้นตอนของการจัดแบ่งประเภทของข้อมูล

Output เป็นขั้นตอนที่นำผลจากการขั้นตอนที่ได้จากขั้น Processing มาเขียนเป็นรายงาน
หรือเสนอในรูปแบบของตารางหรือแผนภูมิต่าง ๆ

การสรุปผลการวิจัยและเขียนรายงาน

ประเภทของการวิจัย

จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย

การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ ((Basic Research or Pure Research) เป็นการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงทฤษฎี

การวิจัยการนำไปใช้ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในผลการวิจัยพื้นฐานมาใช้ประโยชน์

จำแนกตามลักษณะ (ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล

การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูล
จากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นตัวเลขที่ระบุระดับความมาก/น้อยของปรากฏการณ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดให้

การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูล
จากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นข้อความที่บรรยายลักษณะ

จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ใช้
ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีหลักฐานปรากฏอยู่

การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
ใช้บรรยายคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้น ๆ

การวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research)

การศึกษาความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies)

การศึกษาพัฒนาการ(Developmental Studies)

การศึกษาความเจริญงอกงาม(Growth Studies)

การศึกษาแนวโน้ม(Trend Studies)

จำแนกตามลักษณะของวิชา หรือศาสตร์

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
ศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การเมือง การ
ปกครอง และการศึกษา

จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย

การวิจัยแบบตัดขวาง/ระยะสั้น(Cross-section Research) เป็นการวิจัยที่ใช้
เวลาในการวิจัยช่วงใดช่วงหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจแล้วนำมาสรุปผลในภาพรวมของปรากฏการณ์นั้น ๆ

การวิจัยแบบต่อเนื่อง (Longitudinal Research) เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาอย่าง
ต่อเนื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำให้ได้ผลสรุปของข้อมูลที่ชัดเจน

จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย

การวิจัยที่มุ่งบรรยายตัวแปร(Descriptive-Oriented Research)

การวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Correlation-Oriented
Research)

การวิจัยที่มุ่งแสวงหาความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร(Causal-Oriented
Research)

ประเภทของการวิจัยจำแนกตามการจัดกระทำ

การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น(Pre Experimental Research) เป็นการวิจัยที่
ศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติ โดยไม่ได้มีการจัดกระทำสิ่งทดลองให้ในการทดลอง

การวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ไม่สามารถ
ดำเนินการในกระบวนการวิจัยได้อย่างครบถ้วน

การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง(True Experimental Research) เป็นการวิจัย ที่ใช้
ตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร

ขั้นตอนในการวิจัย

1) เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบค าถามที่ว่าเราจะท าวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้
รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะวิจัยออกมา

2) การกำหนดขอบเขตของปัญหา

3) การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี
และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร

4) การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความแตกต่าง
ที่อาจเป็นไปได้

5) การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง

5.1 ชื่องานวิจัย
5.2 ภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา
5.3 วัตถุประสงค์
5.4 ขอบเขตของการวิจัย
5.5 ตัวแปรต่าง ๆ ที่วิจัย
5.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ (ในกรณีที่จำเป็น)
5.7 สมมุติฐาน (ถ้ามี)
5.8 วิธีดำเนินการวิจัย
5.9 รูปแบบของงานวิจัย
5.10 การสุ่มตัวอย่าง
5.11 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
5.12 การวิเคราะห์ข้อมูล
5.13 แผนการทำงาน
5.14 งบประมาณ

6) การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล

7) ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย

2 กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ(Systematic Law of Nature)

3 กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ(Associative Law of Nature)

1 กฎเหตุและผลของธรรมชาติ(Deterministic Law of Nature)

4 กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ(Principle Component of Nature)

5 กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ(Probabilistic Law of Nature)

ธรรมชาติของการวิจัย

การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์ หมายถึง การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาค าตอบที่
ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้

การวิจัยเป็นการดำเนินการที่เป็นระบบ หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการตามขั้นตอน
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่มีจุดมุ่งหมาย

การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง การวิจัย ใด ๆ จำเป็นต้องมีความเที่ยงตรง

การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง การวิจัยต้องมีความคงเส้นคงวาในการดำเนินการวิจัย

การวิจัยมีเหตุผล หมายถึง การวิจัยเป็นการด าเนินการที่จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนใน การ
ดำเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบ ได้อย่าง
ชัดเจน

การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย หมายถึง การวิจัยจะมีวิธีการในการดำเนินการวิจัยที่ให้
ผู้วิจัยได้เลือกใช้อย่างหลายหลายวิธีการตามความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ หรือ
การดำเนินการวิจัย

การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะเริ่มต้นด้วยปัญหาที่
เกี่ยวพันกันระหว่างปัญหา(ตัวแปรตาม) กับวิธีการแก้ปัญหา(ตัวแปรต้น)

การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ หมายถึง การวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องมีการเก็บ
รวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ๆ

การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย หมายถึง การวิจัยที่มีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการ
โดยที่ผู้วิจัยที่มีความรู้ความสามารถ

ตัวแปรและสมมติฐาน

1. ความหมายของตัวแปร
ตัวแปร (variables) หมายถึง คุณสมบัติหรือคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาหาความจริง

2. ลักษณะและชนิดของตัวแปร

ลักษณะของตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษาทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับ
คุณลักษณะและลักษณะ พฤติกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจ

1) ตัวแปรรูปธรรม (Concept) หมายถึงตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะ ที่คนทั่วไป
รับรู้ได้ตรงกันหรือสอดคล้องกัน

2) ตัวแปรนามธรรม (Construct) หมายถึง ตัวแปรที่แสดงความหมายใน ลักษณะ
เฉพาะตัวบุคคล

ชนิดของตัวแปร

1) ตัวแปรอิสระ (independent variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและ เป็นตัวเหตุ
ทำให้เกิดผลตามมา

2) ตัวแปรตาม (dependent variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นเนื่องจากตัวแปรอิสระ

3) แปรแทรกซ้อนหรืออาจเรียกว่าตัวแปรเกิน (extraneous variable) เป็นตัวแปรที่ไม่
ต้องการศึกษาของงานวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ ในขณะนั้น

4) ตัวแปรสอดแทรก (intervening variable) เป็นตัวแปรอีกชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อตัว
แปรตามคล้าย ๆ ตัวแปรแทรกซ้อน

ความหมายของการวิจัย (Meaning of Research)

การวิจัย เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนปราศจาก
อคติส่วนตัว สามารถตรวจสอบได้ที่ผู้วิจัยนำมาใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อเท็จจริง เพื่อนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ ทางสังคม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏี หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

1 เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาคำตอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน

2 การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะ
เกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่นำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร

3 การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดย
ที่ปัญหาในบางปัญหาไม่สามารถท าการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้

คุณลักษณะของการวิจัย

1 การวิจัย เป็นการแก้ปัญหาที่ช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายสุดท้าย ที่เป็นการค้น
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล

2 การวิจัย เป็นการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์และทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือ
คาดการณ์โดยเฉพาะในกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

3 การวิจัย มีแนวคิดพื้นฐานของการได้รับข้อมูลที่สรุปจากประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกต
หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical)

4 การวิจัยจำเป็นจะต้องมีกระบวนการสังเกตที่ถูกต้อง ชัดเจน และบรรยายปรากฏการณ์ที่
เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

5 การวิจัย เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จากแหล่งปฐมภูมิ หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วใน
การตอบคำถามตามจุดประสงค์ใหม

6 การวิจัยจะต้องมีระบบ มีวิธีการ แบบแผนการวิจัย และการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ชัดเจน ที่
จะทำให้ได้ข้อสรุปการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ

7 การวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการโดยใช้ความรู้ความชำนาญของผู้วิจัยที่จะต้องรับรู้
ปัญหาที่ตนเองจะทำวิจัย

8 การวิจัย จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ โดยใช้เหตุผลตามหลักความเป็นจริงที่จะสามารถ
ทดสอบได้และวิธีการที่เหมาะสม

9 งานวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการแสวงหาคำตอบที่นำมาใช้ตอบคำถามของปัญหาที่ ยัง
ไม่สามารถแก้ไขได้

10 การวิจัย เป็นกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการด้วยความอดทน ไม่เร่งรีบ และจะต้อง
ยอมรับ/เผชิญอุปสรรคในวิธีการได้มาของคำตอบในการวิจัย

11 การวิจัย จะต้องมีการจดบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานการวิจัยด้วยความระมัดระวัง
ในการใช้คำที่มีความหมาย