Knowlede Society
Knowledge
ความหมายของข้อมูล (Data)
Ackoff (1989) กล่าวว่า ข้อมูล คือ สัญลักษณ์ที่ยังไม่ได้แปรความ
พรธิดา วิเชียรปัญญา (2547) กล่าวว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลดิบที่เกิดจากการท างาน
ประจ าวัน ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในระดับปฏิบัติการ
วิจารณ์ พานิช (2546) กล่าวว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลเชิงบรรยาย หรือข้อมูลเชิง
ปริมาณเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ความหมายของสารสนเทศ (Information)
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2553) กล่าวว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่มีคุณค่าและ
คุณประโยชน์ ทั้งในเชิงจ านวนและคุณภาพ เช่น ข้อมูลความเป็นจริงในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
Subtopic
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2549) กล่าวว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ถูก
มนุษย์วิเคราะห์และตีความแล้ว มีคุณค่าสูงกว่าข้อมูล เนื่องจากสามารถสื่อความหมายได้โดยมีความ
ครอบคลุมที่กว้างกว่า
Turban (2006) กล่าวว่า สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการจัดการและตีความหมายแล้วมี
คุณค่าต่อผู้รับเพื่อการน าไปใช้งาน เช่น เกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษา เป็นต้น
ความหมายของความรู้(Definition of Knowledge)
Haraldsson (2003) กล่าวว่า ความรู้ คือ การไหลเวียนของความรู้สึก ปฏิกริยาตอบกลับ
การตัดสินใจ สารสนเทศและกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้นความรู้ดังกล่าวยังสามารถสูญหายและ
เกิดการทดแทนขึ้นมาใหม่ได้
อลาวี และลีเดอร์ (Alavi and Leidner ,2001 : 109) กล่าวว่า ความรู้คือสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็น
ว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถที่จะน ามาซึ่งประสิทธิภาพที่ดีกว่า
ชาร์ราชและยูโซโร(Sharratt and Usoro,2003:188) กล่าวว่า ความรู้คือความสัมพันธ์
เกี่ยวข้องโดยตรงระหว่างความเข้าใจ ตลอดจนการให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัด
Tacit Knowledge
ความรู้ซ่อนเร้น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญหรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นค าพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ จึงเรียกว่าเป็น
ความรู้แบบนามธรรม
Explicit Knowledge
ความรู้ที่เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้ เป็นความรู้ที่สามารถ
รวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล ระบบผู้เชี่ยวชาญ รายงาน ทฤษฎี คู่มือต่างๆ
ในบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
มนตรี จุฬาวัฒนทล (2537 อ้างถึงใน น้ าทิพย์ วิภาวิน, 2547 : 4) ได้แบ่ง
ประเภทของความรู้ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
1) ความรู้เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวเรา ซึ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส
2) ความรู้ด้านภาษา ซึ่งจะทำให้อ่านและเขียนหนังสือได้ ฟังเข้าใจ
ตลอดจนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ตกทอดกันมา
3) ความรู้ด้านวิชาการ เป็นความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน
4) ความรู้ใหม่ คือ ความรู้ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นความรู้ที่เกิดจากการค้นคว้าวิจัย การคิดค้นกระบวนการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนา
Processes of Knowledge
การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย โดยจะคัดเลือกจะใช้เครื่องมืออะไร มีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร โดยอาจจะพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร
การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมส าหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต
การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม
การเข้าถึงความรู้ เป็นการท าให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก โดยการใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board
การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้สองกรณีได้แก่ Explicit Knowledge อาจจะจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ หรือ Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว และเวทีการ
แลกเปลี่ยนความรู้
การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น การเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และนำความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
บทสรุป
ความรู้นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในสังคมความรู้ ผู้ที่มีความสามารถในการจัดการความรู้ได้ดีจะช่วยให้สามารถพัฒนาศักยภาพตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมหรือองค์กรการเรียนรู้ได้ดี การสะสมความรู้ถ่ายโอนความรู้สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคมจะช่วยสร้าง
และพัฒนาบุคคลหรือองค์กรให้มีความรู้ ความสามารถ รวมถึงทักษะต่างๆ ในการดำรงชีพในสังคมความรู้ในศตวรรษที่ 21
Difinition
การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศสูง จาก
ความรู้ที่มีบุคลากรทำงานโดยใช้ทักษะและความรู้สูง
Era
ในยุคนี้นักวิชาการหรือนักวิชาชีพ จะมี
บทบาทหลักในการจัดการความรู้ หรือการ
พัฒนาความรู้ (Knowledge Management) เป็นอย่างมาก ก ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีความสามารถ 5 ด้านดังนี้
Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งทาง Internet หรือ ICT Connectivity ต่าง ๆ
Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้ ความรู้มีทั้งของจริงและของหลอก
Knowledge Valuation คือ การตีค่า การตีความรู้ ว่าเมื่อมีการใช้ความรู้นั้นแล้วมีคุนค่าหรือไม่
Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ให้ง่ายที่จะใช้ เช่น การทำคู่มือ
Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้
เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุก
ภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของ มีความเป็นอิสระ นักวิชาชีพมีบทบาทเป็น Knowledge Broker ลักษณะสำคัญของสังคมความรู้ยุคที่ 2 คือ
มีการสะสมความรู้ภายในสังคม
มีการถ่ายโอนความรู้ภายสังคม
มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม
มีการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม
Characteristics
ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง
เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)
สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ดำเนินการ (Key Institutions)
มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกันจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน
มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
การริเริ่ม/การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา
สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้
ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน
ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน