Knowledge (ความรู้)
ประเภทของความรู้
Tacit knowledge (ความรู้ที่ซ่อนเร้น) เป็นความรู้ที่เน้้นการจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรุ้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกัน และนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ได้ เช่น ข้อมุลจากประสบการ ทักษะในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งความรู้ประเภทนี้ยากที่จะอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษร
Explicit knowledge (ความรู้ที่เด่นชัด หรือความรู้แบบรูปธรรม) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ และมีการจัดเวที เพื่อให้มีการแบ่งปันความรุ้
กระบวนการจัดการความรู้
Identify (การบ่งชี้ความรู้) เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย
Create & Inquiry (การสร้างและแสวงหาความรู้) ทำได้โดยการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก
System (การจัดความรู้ให้เป็นระบบ) เป็นการวางโครงสร้างความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ
Processing (การประมวลและกลั่นกรองความรู้) เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน และปรับปรุงปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม
Access (การเข้าถึงข้อมูล) เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก
Sharing (การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้)
To learn (การเรียนรู้) เป็นการทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน
นิยามของความรู้
ความรู้ เป็นความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเป็นความสามารถในการนำความรู้ในเรื่องดังกล่าวไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ ซึ่งเกิดจากการใช้การแปรผลข้อมูลและสารสนเทศ
Data (ข้อมูล)
Ackoff ได้กล่าวว่า ข้อมูลคือ สัญลักษณ์ที่ยังไม่ได้แปรผล
พรธิดา วิเชียรปัญญา กล่าวว่าข้อมูลคือ ข้อมูลดิบที่เกิดจากการทำงานประจำวัน ซึ่งถือเป็นข้อมูลในระดับปฏิบัติการ
ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ และครรชิต มาลัยวงศ์ กล่าวว่า ข้อมูลเป็นการบันทึกที่แสดงความเป็นไปได้หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์หนึ่งๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้
Information (สารสนเทศ)
สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริงหรือความรู้ต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบของวัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร เป็นต้น หรือวัสดุที่ไม่ตีพิมพ์ เช่น ภาพยนต์วิดีทัศน์ เป็นต้นรวมถึงฐานข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอีกด้วย