Knowlegde Inquiry

การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซต์ซึ่งเก็บข้อมูลต่างๆไว้มากมายนเพื่อการสืบค้นสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วจึงมีเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ค้นหา
สารสนเทศแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ค้นพบรายละเอียดที่ต้องการได้ง่าย โดยเว็บไซต์ที่ท าหน้าที่ค้นข้อมูลมี 2 ประเภท คือ แบบนามานุกรมบนเว็บไซต์ (Web Directories) และ แบบที่เป็นเครื่องมือสืบค้น (Search Engines)

องค์ประกอบของกลไกการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine)

1) ตัวสำรวจหรือรวบรวมข้อมูล (Spider หรือ Crawler หรือ Robot) เป็นซอฟต์แวร์ส าหรับสำรวจเว็บ โดยจะทำหน้าที่ตระเวณไปยังเว็บไซต์ต่างๆ

2) ตัวดรรชนี (Indexer) หรือ Catalog ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทำหน้าที่รวบรวมคำ และตำแหน่งทุกๆ เพจที่ตัวส ารวจรวบรวมมาได้ ในส่วนนี้จะมีโปรแกรมช่วยในการจัดทำดรรชนีเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้สะดวกขึ้น

3) โปรแกรมค้นข้อมูล (Search Engine Software หรือ Query Processor) ทำหน้าที่เปรียบเทียบความเกี่ยวข้องระหว่างเว็บไซต์และความต้องการของผู้สืบค้นว่ามีความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์ หรือที่เรียกว่า OPAC
(Online Public Access Catalog)

เป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ
ของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศซึ่งปรับเปลี่ยนจากรูปแบบบัตรรายการในตู้บัตรรายการมาเป็น
ระเบียนบรรณานุกรมในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีชุดคำสั่งการสืบค้นที่ใช้ง่าย สะดวก มีรายการทางเลือกของขั้นตอนการทำงานอยู่หน้าจอ ผู้ใช้เพียงปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำแนะนำที่ปรากฎจากนั้นจะสามารถสืบค้นข้อมูลได้บางห้องสมุดได้ออกแบบ OPAC ให้มีลักษณะเป็นกราฟิก(Graphic User Interface-GUI) เพื่อการใช้ที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นสำหรับผู้สืบค้น

ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นด้วย OPAC

ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic description)

ข้อมูลดรรชนีวารสาร (Periodical Index)

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์สามารถใช้เทคนิคการสืบค้นอย่างง่าย หรือเทคนิคการสืบค้นขั้นสูงได้เช่นเดียวกับการสืบค้นอื่นๆ แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่เป็นหลักทั่วไปดังน

1. วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นและกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ในการค้น

2. เลือกค้นจากฐานข้อมูลที่เหมาะสม

3. ลงมือสืบค้น โดยทั่วไปสามารถสืบค้นได้2 วิธีคือการใช้เมนูในการสืบค้น และการสืบค้นโดยการพิมพ์คำสั่ง

4. แสดงผลการสืบค้น

5. เลือกรายการที่ตรงกับความต้องการและบันทึกผลข้อมูล