
บัวหลวง
ชื่อสามัญ
Lotus
Sacred lotus
Egyptian lotus
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nelumbo nucifera Gaertn
ชื่อเรียกอื่นๆ
โกกระณต
บัว
บัวอุบล
บัวฉัตรขาว
บัวฉัตรชมพู
บุณฑริก
ปุณฑริก
ปทุม
ปัทมา
สัตตบงกช
สัตตบุษย์
สรรพคุณ
ช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และผิวพรรณ (เม็ดบัว)
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (ดอก, เกสรตัวผู้, เม็ดบัว)
ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เกสรตัวผู้)
เหง้าหรือรากบัวใช้ต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติในเด็ก (ราก)
ช่วยแก้ไข้รากสาดและไข้มีพิษร้อน (ดอก, เกสร)
ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (ดีบัว)
ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล (เกสรตัวผู้)
ช่วยบำรุงไขข้อ เส้นเอ็น แก้โรคข้อต่าง ๆ (เม็ดบัว)
ในฝักมีผลอ่อนสีเขียวนวลจำนวนมาก ผลจะฝังอยู่ในส่วนที่เป็นฝักรูปกรวยในดอก
ใบแก่ใช้สูดกลิ่น ช่วยแก้ริดสีดวงจมูก (ก้านดอก, ใบแก่)
ประโยชน์
รากบัวหลวง (เหง้าบัว)
นำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน เช่น เหง้าบัวผัดน้ำมัน เหง้าบัวอ่อนต้มหรือตุ๋นกระดูกหมูกับเครื่องยาจีน
ไหลบัว (หลดบัว)
นำมาประกอบอาหารได้ทั้งสดและแห้ง เช่น การนำมาทำแกงเลียง แกงส้ม
สายบัว
นำมาปรุงเป็นอาหารหรือใช้แทนผักได้หลายชนิด เช่น แกงส้มสายบัวกับปลาทู แกงส้มสายบัว ต้มกะทิปลาทู
ดอก
นำมาบูชาพระหรือนำมาใช้ในทางศาสนา เนื่องจากดอกบัวหลวงเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทางพระพุทธศาสนา มีความเกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการบูชาพระรัตนตรัย
กลีบดอก
นิยมนำไปทำเมี่ยงดอกบัว ยำดอกไม้ หรือทำเมนูกลีบัวชุบแป้งทอด
ใบ
นำมาใช้สำหรับห่อข้าว ห่ออาหาร ห่อขนม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น หรือจะนำมาห่อผักสดเก็บในตู้เย็น หรือใช้ในงานประดิษฐ์ต่าง ๆ
เปลือก
นำมาใช้เป็นวัสดุในการปลูกเห็ดชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่า "เห็ดบัว"
สายพันธุ์
ดอกสีขาว
บุณฑริก
ปุณฑริก
ดอกเล็กสีชมพู
บัวเข็มชมพู
บัวปักกิ่งชมพู
บัวหลวงจีนชมพู
ดอกเล็กสีขาว
บัวเข็มขาว
บัวปักกิ่งขาว
บัวหลวงจีนขาว
ดอกสั้นป้อมสีชมพูกลีบซ้อน
บัวฉัตรสีชมพู
บัวสัตตบงกช
ดอกสั้นป้อมสีขาวกลีบซ้อน
บัวฉัตรขาว
บัวสัตตบุษย์
ดอกสีชมพู
โกกระณต
ปทุม
ปัทมา
ลักษณะ

ต้นบัวหลวง
จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลักษณะของเหง้าเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง มีความแข็งเล็กน้อย

ดอกบัวหลวง
ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู มีกลิ่นหอม มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กและสีขาวอมเขียวหรือเป็นสีเทาอมชมพู ร่วงได้ง่าย

ใบบัวหลวง
ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะลอยปริ่มน้ำ ส่วนใบแก่แผ่นใบจะชูขึ้นเหนือน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปเกือบกลมและมีขนาดใหญ่ ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น

ฝักบัวหลวง

ผลบัวหลวง
ออกผลเป็นกลุ่มหรือที่เรียกว่าฝัก ลักษณะผลเป็นรูปกลมรี ผลอ่อนมีสีเขียวนวลและมีจำนวนมาก

ดีบัวหลวง
ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวหลวง ดีบัวมีลักษณะคล้ายสาก มีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร