สังคมความรู้(knowledge-society)
นิยามหรือความหมายของ สังคมความรู้ (Definition of Knowledge Society)
ความหมายที่ 1
สังคมความรู้ หมายถึง สังคมที่มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศสูงจากความรู้ที่มีบุคลากรทำงานโดยใช้ทักษะและความรู้สูง
ความหมายที่ 2
สังคมความรู้ หมายถึง
เป็นกระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคลหรือสมาชิกในชุมชนหรือสังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ องค์ความรู้ต่าง ๆ
ยุคของสังคมความรู้ (Knowledge Society Era)
สังคมความรู้ยุคที่ 1
เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอำนาจอยู่ด้วยกันเกิดการผลิต มีความสามารถในการแข่งขัน กลไกตลาด ในยุคนี้นักวิชาการหรือนักวิชาชีพ จะมีบทบาทหลักในการจัดการความรู้ ซึ่งจะมีความสามารถ 5 ด้านดังนี้
Knowledge Access
การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การเข้าถึงความรู้ทาง Internet หรือ ICT Connectivity ต่าง ๆ
Knowledge Validation
การประเมินความถูกต้องของความรู้ ความรู้จะมีทั้งของจริงและของหลอก
Knowledge Valuation
การตีค่า การตีความรู้ว่าเมื่อมีการใช้ความรู้นั้นแล้วมีความคุ้มค่าหรือไม่
ในการตีค่าความรู้ที่มีหลักฐานถูกต้องเเละตามหลักวิชาการแต่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก
ความไม่คุ้มค่า หรือราคาแพงเกินกว่าผลประโยชน์
ใช้สาหรับสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือฟุ่มเฟือย
ปฏิบัติจริงได้ยาก ขาดสิ่งจำเป็น
ขัดกับความคิด ความเชื่อ หรือวัฒนธรรม
ไม่สร้างความยุติธรรม และศักดิ์ศรีมนุษย์
Knowledge Optimization
การทำความรู้ให้ง่ายที่จะใช้ การนำความรู้ออกมาเป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ เเละต้องมีพื้นฐานมาจากความรู้
Knowledge Dissemination
การกระจายความรู้ ปัจจุบันความรู้เป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคนที่จะเข้าถึงความรู้
สังคมความรู้ยุคที่ 2
เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุกภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของและเป็นผู้ใช้ความรู้ให้เป็นพลังมีความเป็นอิสระและพึ่งตนเอง
ลักษณะสำคัญของสังคมความรู้ยุคที่ 2
มีการสะสมความรู้ภายในสังคม
มีการถ่ายโอนความรู้ภายสังคม
มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม
มีการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม
ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้
ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง
มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ดำเนินการ (Key Institutions)
เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)
ความรู้ (Knowledge)
ความรู้ (Knowledge)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ “ความรู้”
ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันจนในบางครั้งไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ความหมายของข้อมูล (Data)
ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ และครรชิต มาลัยวงศ์ (2549 : 35-37) กล่าวว่า ข้อมูล หมายถึง บันทึกที่แสดงความเป็นไปหรือเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์หนึ่งๆ
ข้อมูลสามารถแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
ข้อมูลตัวเลขหรือข้อมูลเชิงจำนวน (Numeric Data)
ข้อมูลตัวอักษรหรือข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text Data)
ข้อมูลกราฟิก (Graphical Data)
ข้อมูลภาพลักษณ์ (Image Data)
ข้อมูลเสียง (Voice Data)
ความหมายของสารสนเทศ (Information)
“Information” ซึ่งมีผู้ได้ให้นิยามไว้ ดังนี้
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2553) กล่าวว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่มีคุณค่าและคุณประโยชน์ ทั้งในเชิงจำนวนและคุณภาพ
จากคำนิยาม สามารถสรุปความหมายของสารสนเทศได้ดังนี้ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้ต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้วและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
ความหมายของความรู้ (Definition of Knowledge)
พรธิดา วิเชียรปัญญา (2547) กล่าวว่า ความรู้ คือกระบวนการขัดเกลา เลือกใช้ และบูรณาการ การใช้สารสนเทศเหล่านั้นจนเกิดความรู้ใหม่
จากคำนิยามสามารถสรุปได้ว่า ความรู้ หมายถึง ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ โดยอาศัยกระบวนการที่แปรผลมาจากข้อมูล
ประเภทรูปแบบความรู้ (Type of Knowledge)
Tacit Knowledge
ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคลหรือความรู้ที่ซ่อนเร้น
Explicit Knowledge
ความรู้ที่เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้
กระบวนการจัดการความรู้ (Processes of Knowledge)
การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย
การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทาได้หลายทาง
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
การประมวลและกลั่นกรองความรู้
การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก
การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน