Senile Cataract

กรณีศึกษา

ผู้ป่วยหญิง อายุ 63 ปี

1 ปีก่อนมาโรงพยาบาล รู้สึกว่าตาทั้งสองข้างเริ่มมัว บางครั้งเห็นภาพซ้อน ไม่มีอาการปวดตา ไม่ได้รับการรักษา

3 เดือนก่อน มาโรงพยาบาล รู้สึกตาขวามัวมากขึ้น แพทย์บอกว่าเป็นต้อกระจก และได้รบการรักษา

สาเหตุ

ประมาณ 95 %

มาจากเสื่อมตามวัยซึ่งเป็นธรรมชาติเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นของร่างกาย

5%

มาจากสาเหตุอื่น ได้แก่ จากภยันตราย ความผิดปกติแต่กำเนิด โรคระบบอื่น และสารพิษ

แบ่งออกเป็น4 ระยะ

1. Incipient stage เนื้อส่วนรอบแก้วตาขุ่นขาว แต่ตรงกลางยังใส หรือเนื้อตรงกลางขุ่นขาว แต่รอบนอกใส

2.Intumescent stage แก้วตาบวมน้ำ สูญเสียความใส เกิดการขุ่นขาว

3. Mature stage น้ำภายในแก้วตาถูกขับออกนอกแก้วตา ทำให้แก้วตาแข็งกว่าเดิม ขุ่นขาวไปหมด

4. Hypermature stage ระยะสุดท้ายของต้อกระจก แก้วตาขุ่นและเสื่อมมากขึ้น ถ้าไม่ผ่าตัดออกอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน

อาการและอาการแสดง

1. ตามัวลงช้าๆ โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดผู้ที่เป็นต้อกระจกจะให้ประวัติว่าตาจะมัวมากขึ้นในที่สว่างที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก ขณะอยู่ที่สว่างรูม่านตาเล็กลงส่วนอยู่ในที่มืดจะเห็นชัดขึ้น เพราะรูม่านตาขยาย

2มองเห็นภาพซ้อน เนื่องจากการหักเหของแสงในแต่ ละส่วนของแก้วตาเปลี่ยนไป

3. สายตาสั้นลงเพราะแก้วตาเริ่มขุ่นทำให้กำลังหักเหของแสงเปลี่ยนไปจึงมองในระยะใกล้ได้ชัด ขณะเดียวกันมองไกลจะไม่ชัดเมื่อใช้ไฟฉายส่องผ่านรูม่านตา จะเห็นแสงสะท้อนสีขาว

4. รูม่านตาจะเห็นขุ่นขาวเมื่อส่องดูด้วยไฟฉาย

5. ถ้าส่องตาผู้ป่วยด้วยเครื่องมือที่เรียก direct opthalmoscope บริเวณรูม่านตาจะเห็นเป็นเงาดำตามขนาดและรูปร่างของแก้วตาที่ขุ่น

พยาธิสรีระวิทยา

ปกติแก้วตาจะเริ่มทึบเมื่ออายุ 35 ปี และจะค่อยๆทึบขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุ 70 ปี 90% จะเป็นต้อกระจกแก้วตาประกอบด้วย ตา ในระยะแรกจะมีการซึมผ่านของน้ำมากกว่าภาวะปกติทำให้เนื้อเยื่อของแก้วตาบวม เมื่อถึงระยะต้อกระจกสุกจำนวนน้ำที่เพิ่มขึ้นจะลดลงความหนาแน่นของแก้วตาจะค่อยๆ ลดลงเกิดการสูญเสียธาตุโพแทสเซียมโดยมีธาตุโซเดียมเข้ามาแทนที่เพื่อรักษาสมดุลแคลเซียมมาสะสมมากขึ้น การใช้ออกซิเจนลดลง ขณะเดียวกันจะเกิดความไม่สมดุลของโปรตีนชนิดของต้อกระจก