Throty of Communication

ทฤษฎี SMCR ของ (Belo's)

เดวิด เค เบอโล ได้พัฒนา ทฤษฎีที่ผู้ส่งสารและผู้จะรับสารแปลความหมาย และมีการโต้ตอบกลับ

ปัจจัยที่สำคัญ ของทฤษฎี SMCR

1. ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skill) คือ ทักษะการสื่อสารที่เป็นการถ่ายทอดจากผู้ส่งสาร ไปยังผู่รับสาร โดยมีช่องทางการสื่อสารเป็นตัวกลาง

2. ระดับความรู้ (Knowledge Levels) ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องมีระดับความรู้ทีเท่าเที่ยมกัน จะทำให้การส่งสารประสบความสำเร็จด้วยดี แต่ถ้าผู้รับสาร และผู้ส่งสารนั้นมีระดับความรู้ที่แตกต่างกัน ย่อมเกิดอุปสรรค และจะต้องมีการปรับปรุงความยากง่ายของข้อมูลที่จะส่ง

3. ทัศนคติ (Atiitude) คือ เป็นทัศนคติของผู้รับสารและผู้ส่งสาร ซึ่งจะมีผลต่อการสื่อสาร ถ้า ผู้ส่ง และผู้รับมีทัศนคติที่ตรงกันจะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผลที่ดีและเกิดความยอมรับซึ่งกันและกั

4. ระบบวัฒนะธรรมและสังคม (Social System/Culture System) ในแต่ละชาติ แต่ละสีงคมย่อมมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันซึ่งเป็นส่วนที่กำหนดพฤติกรรมของประชาชนประเทศนั้นๆเกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมของประเพณีจะต้องถือปฏิบัติกันและกัน

ทฤษฎี SMCR ประกอบไปด้วย

1. Sender (ผู้ส่ง) คือผู้ที่มีทักษะชำนาญการในการสื่อสาร และมีความสามารถในการ Encoding มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรที่จะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมกับผู้รับสาร ตลอดจนพื้นฐานของวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับผู้รับสารอีกด้วย

2. Message (ข้อมูลข่าวสาร) เกี่ยวข้องกับด้านเนื้อหา และวิธีการส่งข่าวสาร

3. Channel (ช่องทาง) การที่จะส่งข่าวสารนั้นผู้รับข้อมูลข่าวสารข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การได้ยิน การรับรู้รส การสัมผัส การได้กลิ่น เป็นต้น

4. Receiver (ผู้รับสาร) จะต้องเป็นผู้ที่มมีความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถในการถอดรหัส หรือ Decoding จะต้องเป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดี และพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม เดียว หรือ คล้ายกับผู้ส่งสาร เพื่อให้ความสามารถส่งสารนั้นได้ผลสำเร็จ

การสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง ของ เเชนนัน และ วีเวอร์

การสื่อสาร
แชนนันและ วีเวอร์ สนใจว่าเมื่อมีการสื่อสารกันจะเกิดอะไรขึ้นกับข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยผ่านอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า หรือการส่งโดยใช้สัญญาณต่างๆ ซึ่งสัญญาณที่ได้รับจะถูกแปลสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสารนั้นอีกครั้งหนึ่งให้ตรงกับผู้ส่งสาร เนื้อหาที่ได้รับนั้นอาจจะถูกรบกวนหรืออาจจะมีบางสิ่งบางอย่างมาขัดขวางสัญญาณนั้น ทำให้สัญญาณที่ได้รับนั้นเกิดตวามแตกต่างขึ้น อันเป็นเหตุให้เนื้อหาข่าวสารที่ได้ส่งจากแหล่งข้อมูลนั้นมีความผิดเพี้ยนไป

องค์ประกอบของการสื่อสาร

1. Sender (ผู้ส่ง)

2. Messenger (สาร)

3. Channel (ช่องทาง)

4. Receiver (ผู้รับสาร)

Claude E. Shannon และ Warren Weaver ได้คิดทฤษฎีของการสื่อสารเชิงเส้นตรง การสื่อสารโดนเริ่มด้วยผู้ส่งเป็นเเหล่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งเนื้อหาข่าวสารไปยังผู้รับสารโดยผ่านทางเครื่องส่ง หรือ ตัวถ่ายทอดในลักษณะที่ถูกส่งไปในช่องทางต่างๆ

การสื่อสารของ Less well

สูตรการสื่อสารของ LassWell ประกอบไปด้วย

1. Who (ใคร) จะเป็นผู้ส่ง หรือ ทำการสื่อสาร เช่น ในการอ่านข่่าว ผู้อ่านข่าวเป็นผู้ส่งข่าวสาร ไปยังผู้ฟังทางบ้าน ในสถานการณ์เป็นเช่นเดียวกับการเรียนในห้องเรียนธรรมดา

2. Says what,with what purpose (พูดอะไร ด้วยวัตถุประสงค์อะไร) เป็นสิ่งเดียวกับเนื้อหาข่าวสารที่่ส่งไป ผู้ส่งจะส่งเนื้อหาอะไรโดยข่าวสารธรรมดาเพื่อให้ผู้รับทราบความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆในแต่ละวัน หรือเป็นการให้ความรู้โดยที่ผู้สอนจะต้องทราบว่าจะสอนเรื่องอะไร และผู้เรียนจะตอบสนองอย่างไรบ้าง

3. By What means, in what channel (ใช้วิธีการสื่อสารโดยช่องทางใด ผู้ส่งสาร) ผู้ส่งทำการส่งข่าวสารโดยการพูด การแสดงกริยาท่าทางต่างๆ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ประกอบเช่น ไมโครโฟน เป็นต้น

4. To Whom,in what Situation (ส่งไปยังใคร สถานการณ์ใด) ผู้ส่งจะทำการส่งข่าวสารไปยังผู้รับ ว่าเป็นใครบ้าง เนื่องในโอกาสอะไร เช่นการอ่านข่าวตอนเช้า เพื่อให้ผู้ฟังนั้น ได้รับรู้ข่าวสารประจำวัน

With what effec, immediate and long term (ได้ผลอย่างไรในปัจจุบัน และ อนาคต) การส่งข่าวสารนัั้นเพื่อใให้ผู้รับฟังผ่านไปเฉยๆ หรือ จดจำด้วยซึ่งต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันและเช่นเดียวกันในการเรียนการสอนที่จะได้ผลนั้นผู้สอนจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ผู้เรียนจะได้รับความรู้หรือไม่ มากน้อยเท่าใด

Harold Lasswell ไดทำการวิจัยในเรื่องของการสื่อสารมวลชน ในปี พ.ศ.2491 และได้พูดถึงการสื่อสารที่สอดคล้องกัน โดยในการพูดสื่อสารนั้นจะต้องตอบคำถามได้ว่า ใคร พูดอะไร โดยวิธีการใด ไปยังใคร ด้วยผลอะไร