Categorías: Todo - กิจการ - ภาษี

por Kewalin Rattanachon hace 5 años

203

บทที่5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตาม โดยภาษีซื้อต้องห้ามมีหลายกรณีที่ต้องพิจารณา เช่น การไม่มีใบกำกับภาษี การมีใบกำกับภาษีแต่ไม่สามารถแสดงหลักฐานการชำระภาษีได้ หรือการมีใบกำกับภาษีที่มีข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ภาษีซื้อไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ซึ่งไม่สามารถนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เช่น ภาษีซื้อจากค่าของขวัญหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อการรับรอง ทั้งหมดนี้ต้องมีการตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปตามกฎหมายและลดความเสี่ยงต่อปัญหาทางภาษีที่อาจเกิดขึ้น

บทที่5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

บทที่5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

-ฐานภาษี

1. การขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไป 2. การขายสินค้าหรือการให้บริการเฉพาะอย่าง 3. การนําเข้าสินค้า 4. การนําเข้าและการขายยาสูบ นํ ้ามันดิบและผลิตภัณฑ์นํ ้ามัน 5. กรณีอื่นที่กฎหมายกําหนดไว้กรณีเป็นพิเศษ
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ฐานภาษีสําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคํานวณภาษีตามอัตราอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี ้

- ความรับผิดในการเสียภาษี

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกําหนดโดยกฎหมายว่ามีภาระภาษีเกิดขึ ้นแล้ว และเป็นจุดที่ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื ้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตลอดทั ้งก่อให้เกิดหน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น มีหน้าที่จัดทําและส่งมอบให้กํากับภาษีให้แก่ผู้ซื ้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ควรรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอาจแยกพิจารณาตามลักษณะของการประกอบกิจการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้ 1. การขายสินค้า 2. การให้บริการ 3. การนําเข้า 4. การขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณ
3. การนําเข้า

- การนําเข้าสินค้าทุกกรณ - เมื่อผ่านพิธีการทางศุลกากร

2. การให้บริการ

- การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน - เมื่อรับชําระราคาเว้นแต่มีการออกใบกํากับ ภาษีก่อนรับชําระราคา

1. การขายสินค้า

- การส่งออก - เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร

- ขายเสร็จเด็ดขาด, สัญญาจะขาย - เมื่อมีการส่งมอบสินค้าเว้นแต่มีการโอน กรรมสิทธิ์/ รับชําระราคา/ ออก ใบกํากับภาษี ก่อนการส่งมอบ

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีรายได้เกิน 1.8ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการในกลุ่มที่ 1 ที่มีความประสงค์ใช้สิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้มีขายสินค้าหรือให้บริการราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเรียกว่า “ผู้ประกอบการจดทะเบียน”

การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หากขายสินค้าหรือให้บริการที่มีกฎหมายกําหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่ต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับข้อกําหนดตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ไม่มีหน้าที่ออกใบกํากับภาษี เป็นต้น การประกอบกิจการดังต่อไปนี ้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 2 กิจการที่ได้รับการยกเว้นและไม่สามารถขอเข้าส่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้

21. การให้บริการสีข้าว

20. การขายแสตมป์ ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์ อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้

19. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบํารุงสภากาชาดไทย

18. การขายบุหรี่ซิกาแรต ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งผู้ขายเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง

17. การบริจาคสินค้าให้แก่สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือให้แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

16. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นําผลกําไรไปจ่ายในทางอื่น

15. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย

14. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น

13. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

12. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน

11. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ

10. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกําหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

9. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ

8. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ

7. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น

6. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์

5. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน

4. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล

3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางนํ ้าหรือทางอากาศ อย่างไรก็ดี หากเป็นการให้บริการขนส่งโดยอากาศยาน และการให้บริการขนส่งนํ ้ามันเชื ้อเพลิงทางท่อ ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้

2. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

1. การนําเข้าสินค้าของกลุ่มที่ 1 ข้อ 2-7

กลุ่มที่ 1 กิจการที่ได้รับการยกเว้นแต่สามารถขอเข้าส่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้

7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตําราเรียน จากคําวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่32/2538 ให้การขายเทปประกอบการกับตําราเรียน ถือเป็นการขายตําราเรียนที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สําหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบํารุงรักษาป้องกัน ทําลายหรือกําจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์

5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์

4. การขายปุ๋ย

3. การขายสัตว์ทั ้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื ้อสัตว์ กุ้ง ปลาเป็นต้น

2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสําปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น

1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

3. ผ้ที่กฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีม ู ูลค่าเพิ่ม เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกฎหมายยังกําหนดให้บุคคลดังต่อไปนี ้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย (มาตรา 82/1)
2. ผู้นําเข้า ผู้นําเข้า (มาตรา 82(2)) ได้แก่ ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนําเข้า ผู้นําเข้าสินค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือเป็นบุคคลอื่นซึ่งนําเข้า
1. ผู้ประกอบการ “ผู้ประกอบการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพไม่ว่าการกระทําดังกล่าวจะได้รับประโยชน์หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ ฉะนั้น ผู้ประกอบการจะมีองค์ประกอบ ดังนี ้
1.3) ประกอบกิจการในราชอาณาจักร (ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่) ได้แก่ - การขายสินค้าที่จะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องเป็นการขายสินค้า ในราชอาณาจักรเท่านั ้น กรณีที่บริษัทไทยไปเปิดสาขาในต่างประเทศและสาขาขายสินค้าในต่างประเทศรายรับที่เกิดขึ ้นที่สาขาไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศไทย เพราะเป็นการขายสินค้านอกราชอาณาจักร - การให้บริการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การให้บริการใน ราชอาณาจักรเท่านั ้น หากเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่นการรับเหมาก่อสร้างในต่างประเทศ ไม่ต้องนํารายรับจากการรับเหมาดังกล่าวมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนอกจากนี ้บริการในราชอาณาจักรยังความถึง
1.2) กิจการที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ กิจการที่ขายสินค้า หรือการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพไม่ว่าจะได้รับประโยชน์หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
1.1) บุคคล ตามมาตรา77/1 (1) หมายถึง - บุคคลธรรมดา หมายความรวมถึง กองมรดก - คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หมายความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน หรือมูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทําโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อันมิใช่นิติบุคคล - นิติบุคคล หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 องค์การของการของรัฐตามมาตรา 2 สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นนิติบุคคล

อัตราภาษี

2. อัตราร้อยละ 0 ใช้สําหรับประกอบกิจการ 6 ประเภท
2.6) การขายสินค้าหรือการให้บริการของคลังสินค้าทัณฑ์บนและของผู้ประกอบการ ที่อย่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
2.5) การขายสินค้าหรือให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ สถานทต สถานกงศุล
2.4) การขายสินค้าหรือการให้บริการกับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินก้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
2.3) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
2.2) การขายสินค้าในราชอาณาจักรและใช้บริการนั้นในต่างประเทศ
2.1) การส่งออก
1. อัตราทั่วไป มาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากรกําหนดให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มของราชการบริหารท้องถิ่นร้อยละ 1) แต่มีพระราชกฤษฎีกาให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 6.3 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559และเมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่นร้อยละ 0.7 จะเท่ากับ ร้อยละ 7 ใช้สําหรับการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั่วไป
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้เป็นอัตราคงที่ที่รวมภาษีท้องถิ่นไว้ด้วยร้อยละ 10 อัตราภาษีที่จัดเก็บให้จัดเก็บตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากรและมีการปรับปรุงแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลง อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นดังนี้

ใบกํากับภาษี

ใบกํากับภาษี คือ เอกสารหลักฐานสําคัญ เนื่องจากเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีขายและภาษีซื้อในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทําทันทีที่เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(Tax Point) พร้ อมทั ้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื ้อสินค้าหรือรับบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจํานวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื ้อสินค้าหรือรับบริการในแต่ละครั้ง

การจัดทํารายงานทางภาษี

ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน และตามมาตรา 87แห่งประมวลรัษฎากรและประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) ได้กําหนดหน้าที่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ในการจัดทํารายงานทางภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามที่อธิบดีกําหนด และให้จัดทําเป็นรายสถานประกอบการ ดังนี ้
3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (มาตรา 87(3)) รายงานสินค้าและวัตถุดิบเป็นแบบรายงานที่กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าจัดทําขึ ้นเพื่อแสดงปริมาณสินค้าและวัตถุดิบที่ผู้ประกอบการมีอยู่ ได้มาและจําหน่ายไปเนื่องจากการขายสินค้าหรือการผลิต
2. รายงานภาษีซื้อ (มาตรา 87(2)) รายงานภาษีซื ้อเป็นแบบรายงานที่กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทําขึ ้นเพื่อประโยชน์ในการจดบันทึกจํานวนภาษีซื ้อของกิจการ ที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงถูกเรียกเก็บในแต่ละเดือนภาษี ภาษีซื ้อเกิดขึ ้นในเดือนใด ก็เป็นภาษีซื ้อของเดือนนั ้นโดยพิจารณาได้จากวันที่ที่ปรากฏในใบกํากับภาษีที่ได้รับจากผู้ประกอบการรายอื่น และการลงรายการในรายงานภาษีซื ้อจะต้องลงให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทําการ นับแต่วันที่ได้รับใบกํากับภาษี ยกเว้นภาษีซื ้อที่เกิดขึ ้นในเดือนใดแต่มิได้นําไปลงรายการในรายงานภาษีซื ้อของเดือนนั ้น เพราะมีเหตุจําเป็นตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 76) กําหนดให้มีสิทธินําไปลงรายงานภาษีซื ้อของเดือนหลังจากนั ้นได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกํากับภาษี
1. รายงานภาษีขาย รายงานภาษีขายเป็นแบบรายงานที่กําหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทําขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจดบันทึกจํานวนภาษีขายของกิจการ ที่ได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื ้อสินค้าหรือรับบริการในแต่ละเดือนภาษีขายที่เกิดขึ ้นเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั ้น โดยพิจารณา จากวันที่ที่ปรากฏในสําเนาใบกํากับภาษีที่ออกผู้ประกอบการจดทะเบียนออกให้แก่ผู้ซื ้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

- การคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. การคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชําระ ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องคํานวณหา จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชําระหรือขอคืนเป็นรายเดือนตามปีปฏิทิน โดยคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้อง ชําระได้
1. การคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเรียกเก็บ (ภาษีขาย) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื ้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งต้องพิจารณาทั ้งจุดความรับผิดในการเสียภาษีและฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการคํานวณเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแยกออกเป็น 2 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 2 การเรียกเก็บภาษีขายโดยรวมภาษีขายอยู่ในราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยคํานวณภาษีที่เรียกเก็บได้
วิธีที่ 1 การเรียกเก็บภาษีขายโดยแยกภาษีออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการคํานวณภาษีที่เรียกเก็บได้

ภาษีซื้อต้องห้าม

ภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(1) – (6) มีดังนี ้ 1. กรณีไม่มีใบกํากับภาษี เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) ดังนี ้ (1) ใบกํากับภาษีถูกทําลายโดยเหตุสุดวิสัย เช่น อัคคีภัย อุทกภัย หรือวาตภัยซึ่งต้องมีหลักฐานของทางราชการหรือหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ว่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจริง และ (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่สามารถขอใบแทนใบกํากับภาษีจากผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการได้เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่สามารถออกใบแทนใบกํากับภาษีได้เพราะเหตุสุดวิสัย 2. กรณีมีใบกํากับภาษี แต่ไม่อาจแสดงใบกํากับภาษีได้ว่ามีการชําระภาษีซื้อ 3. กรณีมีใบกํากับภาษี แต่ใบกํากับภาษีดังกล่าวมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็ นสาระสําคัญตามมาตรา 86/4 เช่น ภาษีซื ้อที่เกิดจากการชําระค่านํ ้าประปา ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ของสถานที่ที่บริษัทเช่าเพื่อทําการ ซึ่งสัญญาเช่าระบุให้ผู้เช่าชําระค่าใช้จ่าย แต่ใบแจ้งหนี ้และใบกํากับภาษีระบุเป็นชื่อผู้ให้เช่า ไม่สามารถนํามาหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เพราะเป็นภาษีซื ้อที่บริษัทฯ ไม่มีใบกํากับภาษีระบุชื่อบริษัทฯ มาแสดง 4. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผ้ประกอบการจดทะเบียน ได้แก่ ภาษีที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อหากําไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ เช่น ภาษีซื ้ออันเกิดจากค่าซื ้อของสําหรับเยี่ยมคนไข้ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทฯ ภาษีซื ้อสําหรับค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายแทนบริษัทอื่นไป ก่อน ภาษีซื ้อสําหรับค่าของขวัญในเทศบาลปีใหม่และตรุษจีน 5. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทํานองเดียวกันได้แก่ (1) ค่ารับรองหรือค่าบริการ ไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใดๆ และ ไม่ว่าจะอํานวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่า ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในทํานองเดียวกัน (2) ค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการและบุคคลอื่น 6. ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีซึ่งออกโดยผ้ไม่มีสิทธิออกใบกํากับภาษี ู (มาตรา 82/5(5))ภาษีซื ้อตามใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป หรือใบเพิ่มหนี ้ หรือใบเสร็จรับเงินในกรณีดังต่อไปนี ้ถือเป็นใบกํากับภาษีซื ้อที่ออกโดยผ้มีสิทธิออกใบกํากับภาษี (1) ใบกํากับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังต่อไปนี ้ (ก) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกราชอาณาจักรและได้ให้ตัวแทนในราชอาณาจักรของตนออกใบกํากับภาษีแทนตนแล้ว (ข) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ทรัพย์สินถูกนําออกขายทอดตลาด (ค) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว (ง) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั ้นในราชอาณาจักร (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) ผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิได้มีกิจกรรมการขายสินค้าหรือการให้บริการที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ออกใบกํากับภาษีสําหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการนั ้นเสร็จสิ ้นแล้ว จะออกใบกํากับภาษีสําหรับกิจกรรมนั ้นซํ ้าซ้อนอีกไม่ได้ทั ้งนี ้ ภาษีซื ้อที่ต้องห้าม หรือภาษีซื ้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่สามารถนําไปถือเป็นเครดิตหักออกจากภาษีขาย ในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชําระในแต่ละเดือนภาษีดังกล่าว ห้ามมิให้นําไปถือเป็นรายจ่ายในการดําเนินงาน หรือต้นทุนของทรัพย์สินแล้วแต่กรณี เว้นแต่รายการภาษีซื ้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรืเพื่อการให้บริการให้ถือเป็นรายจ่ายในการดําเนินงานได้

- การยื่นแบบแสดงรายการและการชําระภาษี

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 3 ผุ้นําเข้า
กลุ่มที่ 2 ผ้มีหน้าที่นําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
กลุ่มที่ 1 ผ้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เครดิตภาษีและการขอคืนภาษี

ผู้ประกอบการจดทะเบียนหากคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วปรากฏว่า ภาษีซื ้อมากกว่าภาษีขายส่วนต่างดังกล่าวให้ถือเป็นเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ และมีสิทธิได้รับคืนภาษีหรือเครดิตภาษีไปชําระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามเงื่อนไขตามมาตรา 84