Luokat: Kaikki - ธุรกิจ - อินเทอร์เน็ต

jonka Kantamanee Sowichai 9 vuotta sitten

1517

E-Commerce

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Commerce มีจุดเริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานใหญ่ๆ เท่านั้น ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (

E-Commerce

E-Commerce

การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Auction:E-Auction)

ขั้นตอนในการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
การประมูลโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือประมูลขาย และประมูลซื้อ ซึ่งผู้ซื้อ/ขาย อาจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยสามารถเข้าร่วมการประมูลกับเว็บไซต์ที่เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป แต่หากจะประมูลกับภาครัฐจะต้องทำการลงทะเบียนที่เว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ทีได้รับการคัดเลือกและประกาศให้เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นทางการเท่านั้น ขั้นตอนในการประมูล 1. การเตรียมตัวก่อนเข้าร่วมประมูล เป็นการเตรียมพร้อมหรือการค้นหาและสืบค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประมูลอิเล็คทรอนิกส์ให้ได้มากที่สุดเนื่องจากเว็บไซต์ผู้ให้บริการตลาดกลางการประมูลเว็บไซต์ของบริษัทผู้ซื้อ/ขายสินค้ามีอยู่มากมายจำเป็นต้องมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขในการประมูล กฎเกณฑ์ กฎหมาย วิธีเข้าร่วมการประมูล เวลาในการประมูล ราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น 2. ขั้นตอนในระหว่างการประมูล มีดังนี้ 1) ไปเว็บไซต์ผู้ให้บริการตลาดกลาง ลงทะเบียนสมัครสมาชิก เพื่อขอรับชื่อสมาชิก(User Name)และ รหัสผ่าน(Password)ในการเข้าสู่ระบบประมูล 2) กำหนดรายละเอียดสินค้าที่ต้องการขาย(สำหรับผู้ขาย) และราคาสินค้าขั้นต่ำ(กรณีเป็นการประมูลชนิดต้องมี Reverse Price) สำหรับผู้ซื้อให้กรอกรายละเอียดสินค้าที่ต้องการซื้อและราคาที่เสนอ 3) ตลาดกลางจัดส่งอีเมล์ไปยังสมาชิกรายอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติตรงกันเพื่อขอเชิญเข้าร่วมประมูล 4) ชี้แจงรายละเอียดในการประมูล 5) ตลาดกลางจัดการอบรมซักซ้อมความเข้าใจ ชี้แจ้งรายละเอียด ชนิดของการประมูล กฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ 6) เมื่อถึงวันนัดหมายการประมูล ผู้เข้าร่วมประมูลไปเว็บไซต์ตลาดกลางป้อนชื่อสมาชิกและรหัสผ่านเพื่อเริ่มเข้าสู่ระบบทำการประมูลโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 7) ผู้ซื้อ/ผู้ขายเป็นผู้ยื่นความประสงค์ให้เปิดประมูลและตลาดกลางตัดสินหาผู้ชนะการประมูลและส่งอีเมล์ไปยังผู้เข้าร่วมการประมูลทุกราย 8) ผู้เข้าร่วมการประมูลที่ชนะการประมูลในครั้งนั้น ติดต่อกับผู้ซื้อ/ผู้ขายที่เป็นผู้ยื่นความประสงค์ให้ปิดทำการประมูลทำการลงนามสัญญาซื้อ-ขาย 9) จัดส่งสินค้าและชำระเงิน 3. ขั้นตอนหลังการประมูล - การจัดส่งสินค้า - รูปแบบการชำระเงิน ชำระผ่านบัตรเครดิต การโอนเงินผ่านธนาคารหรือชำระผ่านตลาดกลาง - เว็บไซต์ของตลาดกลางบางแห่งได้จัดให้มี การส่งอีการด์(E-Cards) เพื่อแสดงความขอบคุณที่เข้ามาใช้บริการ - การจัดส่งเอกสารต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า เช่น ใบส่งสินค้า ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
รูปแบบของการประมูล
ความหมายของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์
- การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ( E- Auction) การเสนอซื้อเสนอขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด บางครั้งเรียกว่า “การประมูลออนไลน์”
- การประมูล(Auction) หมายถึง การเสนอซื้อเสนอขายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด

รูปแบบการประมูลสามรถแบ่งได้ 2 ประเภท 1. การประมูลแบบดั้งเดิม(Traditional Auction) หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า “Offline” เห็นได้ในภาครัฐและเอกชนโดยผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมาพร้อมกันเพื่อเสนอราคาสินค้าแข่งขันกันจนกระทั้งได้ผู้ชนะการประมูล ข้อจำกัดของการประมูลแบบดั้งเดิม - ต้องเดินทางมาร่วมการประมูลทำให้ไม่สะดวกต่อผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด - ให้เวลาแก่ผู้ซื้อน้อยเกินไปในการเสนอราคาเพื่อประมูลสินค้าทำให้ผู้ซื้อมีเวลาในการตัดสินใจน้อย - เสียค่าใช้จ่ายสูงในการค่านายหน้า ค่าเช่าสถานที่การประมูล ค่าโฆษณา 2. การประมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Auction) หรือเรียกอย่างว่าการประมูลแบบ Online เป็นการประมูลโดยอาศัยสื่อโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่จำกัดอาคารสถานที่ เช่น Internet ข้อดีของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ - ไม่ต้องเดินทางมาพบกัน - มีความโปร่งใส กล่าวคือสามารถทราบข้อมูลการแข่งขันได้ - เสนอราคาได้หลายครั้ง (DynamicPricing) - มีการยืดหยุ่นเนื่องจากมีการประมูลหลายรูปแบบ - ลดต้นทุนในการทำเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนต้นทุนที่เกิดจากการเช่าสถานที่

ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 1.การประมูลขาย(Forward Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ต้องการขายสินค้าโดยผู้ขายกำหนดความต้องการ ให้ผู้ซื้อตั้งราคาแข่งขันกัน ผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสินค้าไป 2. การประมูลซื้อ(Reverse Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ต้องการซื้อสินค้า โดยผู้ซื้อกำหนดความต้องการซื้อสินค้าให้ผู้ขายตั้งราคาแข่งขันกันผู้ขายที่เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ชนะการประมูลในครั้งนั้น 3. One Knock Auction เป็นการประมูลที่ผู้ขายต้องการขายสินค้าอย่างเร่งด่วน กล่าวคือเมื่อผู้ขายเปิดประมูลเพื่อขายสินค้าหากผู้ซื้อที่เข้าร่วมการประมูลรายใดรายหนึ่งเสนอราคามา การประมูลจะสิ้นสุดลง 4. English Auction เป็นการประมูลขายชนิดหนึ่งโดยผู้ซื้อจะเริ่มต้นเสนอราคาซื้อที่เต็มใจจ่าย (ราคาดังกล่าวเรียกว่า “bids”) ที่ค่อนข้างต่ำและขยับราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่มีใครเสนอราคาสูงไปกว่าเดิมจนกว่าเวลาการประมูลหมดลงผู้เสนอราคาสูงสุดคนสุดท้ายจะเป็นผู้ชนะการประมูล 5. Yankee Auction เป็นการประมูลสินค้าแบบสินค้าหลายชิ้น ในตอนเริ่มต้นจะกำหนดราคาเสนอราคาของสินค้าเริ่มต้นแต่ละชนิดต่อจำนวนชิ้นที่ต้องการเสนอขาย ผู้ซื้อที่เข้าร่วมประมูลจะเพิ่มราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าไม่มีผู้ใดสามารถสู้ราคาได้ ผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล 6. Dutch Auction เป็นการที่เริ่มต้นด้วยผู้ขายเสนอราคาสินค้าที่สูงมากจากนั้นจะลดราคาลงเรื่อย ๆ จนเหลือระดับราคาที่ผู้ซื้อจ่ายในราคาระดับนั้นได้และผู้ซื้อที่ยอมรับในระดับดังกล่าวก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล

ประโยชน์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็วและการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากมายหลายประการ ได้แก่
9.รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกัน โดยใช้ประโยชน์จากอีเมล์ในการติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที
8.สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่า ปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการมีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่น ถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ Bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจากประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป (Member System)
7.เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
6.ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
5.เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา หรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
4.แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
3.ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้ โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายในองค์กรนั้นๆ
2.ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
1.ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงและมาจากที่ต่างๆกัน

ประเภท พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C)
ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)
ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B)
ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)

E-Commerce เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า

3. ช่วงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือช่วงที่แข่งขันสมบูรณ์ จะเรียกง่าย ๆ คือช่วงที่เริ่มแข่งขันกันดุเดือด และเป็นยุคที่รัฐบาลได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ดูจากที่กระทรวงพาณิชย์ที่เริ่มเข้ามาผลักดันให้ธุรกิจที่ต้องการให้เกิดบนอินเทอร์เน็ตนั้นเด่นขึ้น ภายใต้ชื่อรวม ๆ ว่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต่างก็มีส่วนสนับสนุนให้ยุคนี้เกิดขึ้นเร็ว เพราะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล นอกจากนั้นแล้วยังมีการหลอกลวงหลายอย่างเกิดขึ้นในยุคนี้ ฉะนั้นใครที่อยากทำธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ตควรศึกษาหาความรู้ก่อนและศึกษาให้ดี เพราะไม่ใช่ว่าอินเทอร์เน็ตราคาถูกแล้วจะมีบริการที่ดีเสมอไป
2. ช่วงที่สอง เป็นช่วงที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเป็นที่นิยม คือเป็นช่วงที่เริ่มมีคนสนใจอินเทอร์เน็ตอย่างมาก เพราะเป็นช่วงที่โรงเรียนต่าง ๆ เริ่มเอาอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นการเรียนการสอน เช่น การบังคับให้นักเรียนส่งการบ้านผ่านทางอีเมล์ และสำหรับนักเรียนปริญญาโทก็บังคับให้ทำโฮมเพจส่งงาน ประกอบกับนักเรียนนอกที่ไปเรียนต่างประเทศกลับมาพร้อมกับนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทำ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หรือช่วยงานในด้านของการตลาดแผนใหม่ และที่สำคัญและเห็นได้ชัดมีการโฆษณาผ่านสื่อทางวิทยุ หนังสือต่าง ๆ
1. ช่วงเริ่มแรก เป็นช่วงของกลุ่มนักพัฒนา คือช่วงที่เริ่มมีการใช้อินเทอร์เน็ตกันใหม่ ๆ ในช่วงแรกนั้นประเทศไทยก็เหมือนเมืองนอก คือ เริ่มให้หน่วยราชการใช้ก่อน และตามมาด้วยหน่วยการศึกษาต่าง ๆ และที่เห็นได้ชัดสำหรับในช่วงแรกก็คือช่วยในเรื่องของการใช้อีเมล์ text คือ ใช้ผ่านหน้าจอเทอร์มินอล และที่เห็นเริ่มเด่นชัดขึ้นมาในขณะนั้นก็คือเว็บ www. nectec.or.th ซึ่งเป็นเว็บที่ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

ประวัติ

ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศทำให้การพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การเสนอขายสินค้าการตกลงทำสัญญาซื้อขายสินค้า และการชำระเงินสามารถทำได้อย่างง่ายดายทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในเมืองไทยก็มีปัจจัยสำคัญหลายอย่างเป็นอุปสรรคในการทำ Ecommerce โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของกฎหมายพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ เราจะมาศึกษาถึงเนื้อหาของกฎหมายพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ว่ามีความสำคัญอย่างไร ในหลายประเทศทั่วโลกได้มีการตื่นตัวต่อการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกฎหมาย ดังกล่าวในการพัฒนาประเทศ จึงได้จัดทำและมีกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับเพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงต่อไป อย่างไรก็ดีหากพิจารณาถึงสภาพของสังคมไทยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาโดยพื้นฐานดังต่อไปนี้

7.ปัญหาในเรื่องช่องว่างระหว่างผู้มีและผู้ไร้ข่าวสาร ในยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าว หน้าอย่างรวดเร็วรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหากลไกทางกฎหมายเพื่อเอื้อให้มี การลดช่องว่างดังกล่าว จากสภาพการณ์ดังกล่าวกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศก็ได้ มีพัฒนาการอย่างสอดรับ กับความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกิดขึ้นเนื่อง จากความจำเป็นของสังคม (Social Necessity) และเพื่อจรรโลงให้สังคมมีความเป็นปึกแผ่น (Solidarity) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
6. ปัญหาในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (Competitiveness) ท่ามกลางการ แข่งขันทางการค้าอย่างรุนแรงในปัจจุบัน รัฐจำเป็นที่จะต้องสร้างกลไกทาง กฎหมายที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชนไทยมีศักยภาพในเชิงการแข่งขัน
5. ปัญหาการเอื้อให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม (Fair Competition) การเปิดให้มีการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมโดยเฉพาะในกิจการโทรคมนาคมจะส่งผลให้ มีการดึงดูดการลงทุน การเพิ่มการจ้างงานและนำเงินตราเข้าประเทศ หากทำอย่างมีระบบและหลักการ
4. ปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศจะต้องมีกลไกทางกฎหมายที่จะเอื้ออำนวยและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของชาติ รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติ
3.ปัญหาในการสร้างความเชื่อมั่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลข่าวสาร (Data Protection Law) และกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Related Crime) เป็นต้นย่อมที่จะช่วยให้นักลงทุนชาวต่างชาติมั่นใจในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่มีค่ายิ่งในสังคมสารสนเทศจะได้รับการคุ้มครอง
1.ปัญหาในทางการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากไม่มีโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายที่จะเอื้ออำนวยให้การทำธุรกรรมทางการค้า สามารถดำเนินไปอย่างสะดวกรวดเร็ว

กฎหมาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ความหมาย

Subtopic
E-commerce (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) คือ การดำเนินกิจกรรมทาง"ธุรกิจ"ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอิเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยตรง รวดเร็วและเพื่อลดต้นทุนได้