Categorieën: Alle - เครือข่าย - อุปกรณ์ - คอมพิวเตอร์

door SIRILAK SRISAWANG 6 jaren geleden

427

มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรมเครือข่าย

เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ เครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) และเครือข่ายแบบมีสาย (Ethernet LAN) ทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน เครือข่ายไร้สายหรือ Wi-Fi ใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายสัญญาณและสามารถเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวก ในขณะที่เครือข่ายแบบมีสายหรือ Ethernet LAN มีการติดตั้งที่ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก แต่ต้องเดินสายสัญญาณเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ ระบบการเชื่อมต่อทั้งสองแบบนี้มีการกำหนดมาตรฐานและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Client-Server ที่มีเครื่อง Server ทำหน้าที่ให้บริการและบริหารจัดการทรัพยากรจากส่วนกลาง ระบบนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการการควบคุมและบริหารจัดการจากส่วนกลาง

มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรมเครือข่าย

มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรมเครือข่าย

เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Wireless LAN
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Wireless LAN หรือที่เรียกว่า Wi-Fi (ย่อมาจากคำว่า Wireless Fidelity) เป็นเครือข่ายไร้สายเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยใช้คลื่นวิทยุแทนการใช้สายในการรับส่งข้อมูล ทำให้สามารถผ่านอากาศ ทะลุกำแพง เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ไม่ต้องเดินสาย สัญญาณให้ยุ่งยาก ทำให้การเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทำได้โดยสะดวก อีกทั้งยัง สามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อลงได้ สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อ เครือข่ายไร้สายส่วนใหญ่ จะมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณเป็นตัวกลางสำหรับการเชื่อมต่อ เรียกว่า Access Point ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฮับของระบบแลนแบบมีสาย
Ethernet LAN
เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Ethernet LAN หรือเรียกว่าเครือข่ายแลน แบบมีสาย เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากการติดตั้งที่ง่าย และค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ความเร็วที่ได้อยู่ในระดับ 10/100 Kbps และอุปกรณ์ที่ใช้ในการ ติดตั้งเครือข่ายก็หาได้ง่าย เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet LAN ถูกพัฒนาเมื่อปี ค.ศ. 1972 และมีการกำหนดมาตรฐานภายใต้ IEEE 802.3 ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1980 ซึ่งเครือข่าย Ethernet LAN นี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและปัจจุบันได้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความ นิยมอย่างแพร่หลาย โดยในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 มาตรฐานใหญ่ๆ คือ Fast Ethernet LAN และ Gigabit Ethernet LAN (นอกจากนั้นยังมีมาตรฐาน 10 Gigabit Ethernet ที่จะตามมาในอนาคตด้วย)

OSI (Open Systems Interconnect) Model

2. Network-dependent Layers เป็น 3 เลเยอร์ด้านล่างคือ เลเยอร์ที่ 1, 2 และ 3 (Network, Data Link และ Physical) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่ง และควบคุม การรับส่งข้อมูลตรวจสอบข้อผิดพลาด รวมทั้งเลือกเส้นทางที่ใช้ในการรับส่ง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ ฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ทำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างบริษัทกันได้อย่างไม่มีปัญหา
1. Application-oriented Layers เป็น 4 เลเยอร์ด้านบน คือ เลเยอร์ ที่ 7, 6, 5 และ 4 (Application, Presentation, Session และ Transport) ทำหน้าที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ กับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ที่อยู่ชั้นล่างได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเกี่ยวข้อง กับซอฟต์แวร์เป็นหลัก

สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Peer-to-Peer
เครือข่ายนี้อาจเรียกว่า “เวิร์คกรุ๊ป (Workgroup)” เครือข่ายแบบนี้จะเก็บ ไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เรียกได้ว่าต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างใช้ แต่ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถเรียกใช้ไฟล์จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ถ้าคอมพิวเตอร์ เครื่องนั้นทำการแชร์ไฟล์เหล่านั้นไว้ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับ องค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง และการดูแลไม่ยุ่งยากนัก แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีมากกว่า 10 เครื่องขึ้นไปควรจะใช้เครือข่ายแบบอื่นดีกว่า
Client-Server
ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบ รวมศูนย์กลางแต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client-Server นี้ จะเป็นเครื่องที่มีราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการ ควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆนอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการ ประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเองอีกด้วย

มาตรฐาน IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)

เป็นองค์กรสากลที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์ มาตรฐานของ IEEE เป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานให้กับ แวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิด้านพลังงาน เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และอื่นๆ สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการ สื่อสารข้อมูลที่คุ้นเคยกันก็เช่น IEEE 802 ที่กำหนดมาตรฐานให้กับการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ LAN/MAN โดยมี IEEE 802.3 เป็นมาตรฐานให้กับเทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet LAN และมาตรฐาน IEEE 802.11สำหรับเครือข่ายไร้สาย เป็นต้น มาตรฐาน ที่เราพบได้บ่อยๆ คือ มาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งใช้กำหนดมาตรฐานของรูปแบบเครือข่ายใน Ethernet LAN โดยมีการปรับปรุง และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1983 ที่ทาง IEEE ได้ออกมาตรฐาน IEEE 802.3 ขึ้นมาสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์