类别 全部 - ทักษะ

作者:เกสรา ชูศิริ 4 年以前

325

เกมส์กับการศึกษา

การเรียนรู้ผ่านเกมเป็นวิธีการที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางด้านต่างๆ ของเด็ก โดยเน้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น การฟัง การดู การดม การชิม และการจับสัมผัส เกมการศึกษามีบทบาทสำคัญในการสร้างประสบการณ์ตรงที่เด็กสามารถสำรวจและค้นคว้าด้วยตนเองได้ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อเล็กและการประสานงานระหว่างมือกับตา การเล่นเกมร่วมกันยังช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีและการยอมรับผู้อื่น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ทางสังคม การใช้เกมในการเรียนการสอนยังส่งเสริมการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจแก้ปัญหา และการมีวินัยในตนเองและหมู่คณะ ทั้งนี้ การเรียนรู้ผ่านเกมยังเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกและพัฒนานิสัยที่ดี เช่น ความอดทน อดกลั้น และความซื่อสัตย์ ส่งผลให้เด็กมีความมั่นใจและกล้าคิดกล้าทำในสิ่งต่างๆ

เกมส์กับการศึกษา

เกมส์กับการศึกษา

การเรียนรู้ผ่านเกม

ในต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในวงการศึกษาไทยในการที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน การเรียนรู้ผ่านเกม (กรมวิชาการ) ได้แสดงบทความเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ว่า เราสามารถนำทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ผู้เรียนมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุปกรณ์ วิธีการ ตลอดจนคน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์หรือแนวคิดอาจอยู่ในลักษณะที่่ถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดศักยภาพทางความคิด ตลอดจนสิ่งที่กระตุ้นให้เป็น ผู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ประโยชน์

10. ส่งเสริมทักษะที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ทักษะการฟัง การดู การดม การชิม และการจับสัมผัส เกมการศึกษาเปิดโอกาสให้เด็กได้กระทำ ได้สำรวจ ค้นคว้า จึงเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็กเต็มใจรับด้วยความสนุก ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
9. ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าด้วยตนเองจากสื่อการเล่นและเรียนรู้ที่จะเล่นจากวิธีการเล่น
8. ส่งเสริมนิสัยดีให้แก่เด็ก เช่น การมีวินัยในตนเองและหมู่คณะ ความอดทน อดกลั้น ความชื่อสัตย์ การเป็นผู้นำผู้ตาม เป็นต้น
7. ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน และผ่อนคลายจากกิจกรรมอื่น เด็กจะร่าเริงแจ่มใสและมองโลกในแง่ดี
6. ส่งเสริมให้เป็นคนยอมรับการแพ้ ชนะ การทำตามกติกา
5. ส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าในการแสดงออก กล้าพูด กล้าคิด โดยครูควรมีคำถามให้คิดเกี่ยวกับภาพในเกมหรือเรื่องราวจากเกม
4. ส่งเสริมการเล่นร่วมกัน เป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่น เพราะ ในบรรยากาศการเล่นนั้นเป็นการฝึกฝนการยอมรับผู้อื่น และการที่ผู้อื่นยอมรับตนได้ เป็นการเรียนรู้การเข้าสังคม เด็กจะแสดงพฤติกรรมจากการสนทนาถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
3. ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
2. ส่งเสริมการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจแก้ปัญหา
1. ส่งเสริมการสังเกตและเปรียบเทียบจากของจริง วัสดุสิ่งของต่าง ๆ และรูปภาพ

Games Based Learning หรือ GBL

เกมการณ์เรียนรู้ (GBL: Games- Based Learning) เป็นสื่อในการเรียนรู้แบบหนึ่ง ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความสนุกสนานไปพร้อม ๆ กับการได้รับความรู้ โดยสอดแทรกเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรนั้น ๆ เอาไว้ในเกมและให้ ผู้เรียนลงมือเล่นเกมโดยที่ผู้เรียนจะได้รับความรู้ต่าง ๆ ของหลักสูตรนั้นผ่านการเล่นเกมนั้นด้วย