类别 全部

作者:นางสาวจารุมล นันทะพรม 2 月以前

105

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้กำหนดกฎระเบียบในการปิดสถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญาตในหมวด 4 โดยมีมาตราการหลายข้อตามที่ระบุไว้ มาตรา 52 กล่าวถึงการปิดสถานพยาบาลชั่วคราวหรือการเพิกถอนใบอนุญาตในกรณีที่ผู้รับอนุญาตเสียชีวิตหรือขาดคุณสมบัติ มาตรา 54 ระบุว่าผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตจะไม่ได้รับใบอนุญาตใหม่จนกว่าจะพ้นกำหนดสองปี มาตรา 49 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการแก้ไขปัญหาภายในเวลาที่เหมาะสม มาตรา 53 กำหนดให้คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้อนุญาตต้องทำเป็นหนังสือและส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการขาดคุณสมบัติหรือไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 51 ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามคำแนะนำของคณะกรรมการ

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541

หมวด 5 บทกำหนดโทษ

มาตรา 75
ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี

เมื่อผู้ต้องหาได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบปรับ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีที่พนักงานสอบสวนพบว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีอัตราโทษตามวรรคสอง และผู้ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ

บรรดาความผิดตามพระราชบัติญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมีอำอาจเปรียบเทียบปรับได้ ถ้าเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรถูกฟ้องร้องหรือได้รับโทษถึงจำคุก ในการนี้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีอาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ทำการเปรียบเทียบปรับแทนสำหรับคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวตามที่เห็นสมควรก็ได้

(2) ในเขตจังหวัดอื่น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัดและนายแพทย์สาธารณะสุขจังหวัด เป็นกรรมการ และให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดคนหนึ่ง เป็นเลขานุการ และอีกไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

(1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ และให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ และให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแต่งตั้งข้าราชการของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพคนหนึ่ง เป็นเลขานุการ และอีกไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา 74
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา 73
ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการ ผู้ประกอบวิชาชีพในสถาพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลผู้ใด จัดทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นจัดทำหลักฐานเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการเอกสารแสดงการตรวจโรค เอกสารแสดงผลการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล หรือเอกสารกรณีอื่นอันเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 72
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการในการดำเนินการตามมาตรา 52 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 71
ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลถูกปิดชั่วคราวตามาตรา 50 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
มาตรา 70
ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการ ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล หรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานพยาบาล ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามมาตรา 46 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 69
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา 44 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 68
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองหมื่นบาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท นับแต่วันที่ฝ่าฝืนคำสั่งที่ให้ระงับการโฆษณาหรือประกาศ ทั้งนี้ จนกว่าจะระงับการโฆษณาหรือประกาศดังกล่าว
มาตรา 67
ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการผู้ใดฝ่าฝืนมาตร 37 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 66
ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 36 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 65
ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามาตรา 34 (2) หรือมาตรา 35 ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 64
ผู้ดําเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา 34 (3) หรือ (4)
มาตรา 63
ผู้ดําเนินการผู้ใดไม่ปฏิบัติหน้าท่ีให้เป็นไปตามมาตรา 34 (1)

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 62
ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 33 วรรคสอง

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 61
ผู้ใดมีหน้าท่ีต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ แต่ไม่แจ้งภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 มาตรา 30 มาตรา 42 หรือมาตรา 44 วรรคหน่ึง
มาตรา 60
ผู้รับอนุญาตผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยมิได้จัดให้มีผู้ดําเนินการตามมาตรา 23

ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือท้ังจํา ทั้งปรับ

มาตรา 59
ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 40 หรือ มาตรา 43

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 58
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา 39 หรือมาตรา 45 หรือคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 49

ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 57
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 24 วรรคหนึ่ง

ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และศาลจะสั่งริบบรรดาสิ่งของที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลด้วยก็ได้

มาตรา 56
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 13

ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ

หมวด 1 คณะกรรมการสถานพยาบาล

มาตรา 13
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการและ คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 12 มีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ถ้อยคําหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้
มาตรา 12
คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของคณะกรรมการได้ ให้นำมาตรา 10 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา 11
คณะกรรมการมีหน้าที่ให้คำปรึกษาห้ความเห็น และให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตในเรื่องดังต่อไปนี้

(๗) เรื่องอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีหรือผู้อนุญาตมอบหมาย

(๖) การกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือสาธารณภัยตากฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งผู้ป่วยจําเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาล และการกําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินการในกรณีเช่นว่านั้น

(๕) การกำหนดลักษณะและมาตรฐาน หรือการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และการแจ้งให้ดำเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสถานพยาบาลดังกล่าว

(๔) การควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการสถานพยาบาล

(๓) การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริการของสถานพยาบาล

(๒) การอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล การดำเนินการสถานพยาบาล การปิดสถานพยาบาล หรือการเพิกถอนใบอนุญาต

(๑) การออกกฎกระทรวงหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 10
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานที่ประชุม

มาตรา 9
กรณีการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 7 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ

3. กรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่

หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้คณะกรรมการทำงานต่อไปโดยใช้กรรมการที่เหลืออยู่

2. การแต่งตั้งกรรมการใหม่ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ

ข้อยกเว้น หากวาระที่เหลือไม่ถึง 90 วัน รัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งกรรมการใหม่

กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทน จะดำรงตำแหน่งต่อไปตามระยะเวลาที่เหลือของกรรมการเดิม

ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลอื่นเข้ามาแทนที่

1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งได้ใน 7 กรณี

7.ต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด

ยกเว้น ความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

6.หมดคุณสมบัติในฐานะที่ได้รับแต่งตั้ง

เช่น พ้นจากการเป็น ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพ

5.เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

4.เป็นบุคคลล้มละลาย

3.ถูกปลดโดยรัฐมนตรี

2.ลาออก

1.เสียชีวิต

มาตรา 8
3. กรณีที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการใหม่

จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ เข้ามาแทนที่อย่างเป็นทางการ

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นวาระ ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

หากกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่มีผู้ได้รับแต่งตั้งแทน

2. การแต่งตั้งใหม่หลังพ้นวาระ

แต่ห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ (รวมเป็น สูงสุด 6 ปีติดต่อกัน)

กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ สามารถได้รับแต่งตั้งอีกได้

1. วาระการดำรงตำแหน่ง

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 7 มีวาระดำรงตำแหน่ง คราวละ 3 ปี

มาตรา 7
คณะกรรมการสถานพยาบาล

4. คณะทำงานและเลขานุการ

ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (มอบหมายโดยอธิบดี) เป็นกรรมการและเลขานุการ

3.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี)

3.2 ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานอื่น

ผู้แทนองค์กรเอกชนที่คุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 1 คน

ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 คน

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ (ในสถาบันอุดมศึกษา) จำนวน 1 คน

3.1 ผู้แทนจากวิชาชีพทางการแพทย์

ผู้ประกอบวิชาชีพ (โดยคำแนะนำของสภาวิชาชีพที่จัดตั้งตามกฎหมาย) จำนวน 6 คน

ผู้แทนสภาวิชาชีพอื่น (เลือกกันเอง) จำนวน 2 คน

ผู้แทนทันตแพทยสภา

ผู้แทนสภาเภสัชกรรม

ผู้แทนสภาการพยาบาล

ผู้แทนแพทยสภา

ผู้ประกอบโรคศิลปะ (โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ) จำนวน 2 คน

2.กรรมการโดยตำแหน่ง (เป็นผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง)

ผู้แทนสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย

ผู้แทนกระทรวงกลาโหม

อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ ที่มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

1.ประธานกรรมการ

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

หมวด 4 การปิดสถานพยาบาลและการเพิกถอนใบอนุญาต

มาตรา 55
คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ หรือของผู้อนุญาตตาม มาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑ ผู้ที่ได้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา 54
ผู้ใดถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้วจะขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่า จะพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 53
คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1 ๔๙ หรือของผู้อนุญาตตาม มาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑ ให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้รับอนุญาตหรือ ผู้ดำเนินการ ณ ภูมิลำเนาของผู้นั้น แล้วแต่กรณี ถ้าไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้จัดการ ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาล และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่ ส่วนวันที่ปิดคำสั่ง คำสั่งของผู้อนุญาตตามวรรคหนึ่ง จะโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือโดยวิธีอื่นใดอีกด้วย
มาตรา 52
เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในกรณีที่ (๑) ผู้รับอนุญาตตาย และไม่มีผู้แสดงความจำนงเพื่อขอประกอบกิจการหรือผู้แสดง ความจำนงนั้น ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ษณะต้องห้าม ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติในมาตรา ๒๒ (๒) ผู้อนุญาตมีคำสั่งปิดสถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๐ หรือมีคำสั่ง เพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๕๑ ผู้อนุญาตอาจมีคำสั่งให้สถานพยาบาลนั้น อยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ ตามที่เห็นสมควรได้
มาตรา 51
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะ ต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๒๕ แล้วแต่กรณี หรือถ้าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการไม่ดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนดตามมาตรา ๕๐ ให้ผู้อนุญาตโดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลได้ ถ้าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ และผู้อนุญาตเห็นว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการ รักษาพยาบาลผู้ป่วยต่อไป ให้ผู้อนุญาตโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอน ใบอนุญาตของผู้นั้นได้
มาตรา 50
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ กระทำการหรือละเว้นกระทำ การอย่างใด ๆ จนเป็นเหตุให้เกิดอันตราย ความเสียหายหรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงแก่ผู้ที่อยู่ใน สาน สถานพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาล หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา๔๕ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๙ ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งปิด สถานพยาบาลเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการได้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด แล้ว ให้ผู้อนุญาตสั่งเพิกถอนคำสั่งปิดสถานพยาบาล
มาตรา 49
เมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ แล้วแต่กรณี ระงับหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ไม่เป็นเหตุลบล้างความผิดตาม สาน พระราชบัญญัตินี้

หมวด 3 พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 48
ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้อนุญาตและพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 47
ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัว บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 46
ในการปฏิบัติหน้าท่ี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดังต่อไปนี้

ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล หรือบุคคลซึ่งอยู่ในสถานพยาบาลนั้นอำนวยความสะดวกตามสมควร

(4) ยึดหรืออายัดบรรดาเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นหลักฐานในการดําเนินคดี

(3) มีหนังสือเรียกผู้รับอนุญาต ผู้ดําเนินการ ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลมาให้ถ้อยคําหรือชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา

(2) เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทําการเพื่อตรวจสอบและควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

(1) เข้าไปในอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสถานพยาบาลที่ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด 2 การประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดําเนินการสถานพยาบาล

มาตรา 45
ให้ผู้อนุญาตจัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจลักษณะของสถานพยาบาลและการประกอบกิจการของสถานพยาบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้โดยสม่ำเสมอ ในการนี้ถ้าพบว่าสถานพยาบาล ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ของสถานพยาบาลนั้นมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในสถานพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานพยาบาล ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ ให้นำมาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 44
ผู้รับอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาล ต้องแจ้งเป็นหนังสือและจัดทำรายงานที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ป่วยให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งให้ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนเลิกกิจการก็ได้ ทั้งนี้ โดยให้พีจารณาถึงบระโยชน์และส่วนได้เสียของผู้ปวยในสถานพยาบาลนั้นเป็นสำคัญ
มาตรา 43
ภายใต้บังคับมาตรา ๑๘ (๕) การเปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา 42
เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ตามมาตรา๑๘ (๔) ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนนั้น
มาตรา 41
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่น ให้ดำเนินการเสมือนเป็นผู้ขออนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลใหม่
มาตรา 40
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการของสถานพยาบาลให้แตกต่างใบจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต หรือก่อสร้างอาคารขึ้นใหม หรือดัดแปลงอาคารเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อใช้ในการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต การขอและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 39
ในกรณีที่มีการโฆษณาหรือประกาศฝ่าฝืนมาตรา ๓๘ ผ้อนุญาตมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้โฆษณาหรือประกาศระงับการกระทำดังกล่าวได้
มาตรา 38
ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใดๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล นอกจากชื่อและที่ตั้งของสถานพยาบาลตามที่ปรากฏในใบอนุญาต ต้องได้รับอนุมัติข้อความ เสียง หรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาหรือประกาศจากผู้อนุญาต ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และค่าใช้จ่ายที่ผู้อนุญาตประกาศกำหนด การโฆษณาหรือประกาศด้วยประการใด ๆ ซึ่งชื่อ ที่ตั้ง หรือกิจการของสถานพยาบาล หรือคุณวุฒิหรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล เพื่อชักชวนให้มีผู้มาขอรับบริการจากสถานพยาบาลโดยใช้ข้อความ เสียง หรือภาพอันเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินความจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาลจะกระทำมิได้ ค่าใช้จ่ายที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา 37
ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการต้องควบคุมดูแลมิให้มีการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภทหรือผิดลักษณะการให้บริการตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา 36
ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการของสถานพยาบาลต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามมาตรา๓๑ ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการ รักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาลนั้น ๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สถานพยาบาลมีหน้าที่ ระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาหรือดำเนินการตามความเหมาะสมและความจำเป็น การดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ เมื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อ หรือผู้ป่วยมีความประสงค์จะเปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น ผู้รับอนุญาตและ ผู้ดำเนินการต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 35
ให้ผู้ได้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้ (1) จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวล (2) จัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้ ยา และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นประจำสถานพยาบาลนั้นตามชนิดที่กำหนดในกฎกระทรวง (3) จัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลและผู้ป่วย และเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ตรวจสอบได้ไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่จัดทำ (4) ควบคุมและดูแลการประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตราฐานการบริการที่รัฐมนตรี
มาตรา 34^15
ให้ผู้ดำเนินการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ (1) ควบคุมและดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลประกอบวิชาชีพผิดไปจากสาขา ชั้น หรือแผน ที่ผู้รับอนุญาตได้แจ้งไว้ในการขอรับใบอนุญาต หรือมิให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล (2) ควบคุมและดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลปฎิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของตน (3) ควบคุมและดูแลมิให้มีการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่กรณีฉุกเฉินซึ่งหากไม่รับไว้อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย (4) ควบคุมและดูแลสถานพยาบาลให้สะอาด เรียบร้อย ปลอดภัย และมีลักษณะอันเหมาะสมแก่การใช้เป็นสถานพยาบาล
มาตรา 33/1^14
เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฏหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือสาธารณภัยตามกฏหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาลตามมาตรา 36
มาตรา 33^13
รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์ หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32 (3) ผู้รับอนุญาตจะเรียกเก็บหรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ หรือค่าบริการอื่นเกินอัตราที่ได้แสดงไว้มิได้ และต้องให้บริการแก่ผู้ป่วยตามสิทธิที่ได้แสดงไว้
มาตรา 32^12
ผู้รับอนุญาตต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ ณ สถานพยาบาลนั้น (1) ชื่อสถานพยาบาล (2) รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล (3) อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นและสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดงตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง การแสดงรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฏกระทรวง
มาตรา 31
ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาลนั้น
มาตรา 30
ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ แล้วแต่กรณี แจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว การขอและการออกแบบใบแทนอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 29
ในกรณีที่ผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือการไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด ในกรณีที่ผู้อนุญาตไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ก่อนที่รัฐมนตรีจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคสอง รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล หรือดำเนินการสถานพยาบาล แล้วแต่กรณี ไปพลางก่อนได้ เมื่อผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตร้องขอ
มาตรา 28
ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สองนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วให้ผู้นั้นดำเนินการสถานพยาบาลต่อไปได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฏกระทรวง
มาตรา 27
ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการ และผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลแห่งหนึ่ง ๆ จะเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้
มาตรา 26
มาตรา 26 ถ้าผู้ดำเนินการพ้นจากหน้าที่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เกินเจ็ดวันผู้รับอนุญาตอาจมอบหมายให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา 25 ดำเนินการแทนได้ไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบภายในสามวันนับแต่วันที่เข้าดำเนินการแทน ผู้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทนตามวรรคหนึ่ง ให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำเนินการ
มาตรา 25
ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลของผู้อนุญาตจะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต

3.เป็นผู้ที่สามารถควบคุมดูแลกิจการสถานพยาบาลได้โดยใกล้ชิด

2.ไม่เป็นผู้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้วสองแห่ง แต่ในกรณีที่เป็นผู้ดำเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนอยู่แล้วแห่งหนึ่ง จะอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนอีกแห่งหนึ่งไม่ได้

1.เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ แต่บุคคลเช่นว่านี้จะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการตามประเภทใดหรือสถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ใด ให้เป็นไปตามกำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 24
ห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต การขอและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 23
ผู้รับอนุญาตต้องจัดให้มีผู้ดําเนินการคนหนึ่ง เป็นผู้มีหน้าที่ควบคุม ดูแลและรับผิดชอบในการดําเนินการสถานพยาบาล
มาตรา 22
ถ้าผู้รับอนุญาตตายและมีบุคคลแสดงความจํานงต่อผู้อนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย เพื่อขอประกอบกิจการที่ผู้ตายได้รับอนุญาตนั้นต่อไป เมื่อผู้ อนุญาตตรวจสอบแล้วว่าบุคคลนั้นมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ ก็ให้ผู้แสดงความจํานงนั้นประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่า ผู้แสดง ความจํานงเป็นผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ตั้งแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย การแสดงความจํานงและการตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 21
การโอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลให้แก่บุคคล ซึ่งมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ ให้กระทําได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต การขอโอนใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 20
ผู้รับอนุญาตต้องชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่ กําหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการ ถ้ามิได้ชําระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ กําหนด ให้ชําระเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน และถ้ายังไม่ยินยอมชําระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่ม หลังจากพ้นกําหนดหกเดือนให้ผู้อนุญาตดําเนินการตามมาตรา ๔๙ ต่อไป
มาตรา 19
ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปี ปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคําขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคําขอแล้ว ให้ ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลต่อไปได้ จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 18
ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลของผู้อนุญาต จะต้องปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้จัดให้มีกรณีดังต่อไปนี้โดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว (1.) มีแผนงานการจัดตั้งสถานพยาบาลที่ได้รับอนุมัติแล้วตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง (2.) มีสถานพยาบาลตามลักษณะที่กําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 14 (3.) มีเครื่องมือ เครื่องใช้ เวชภัณฑ์หรือยานพาหนะที่จําเป็นประจำสถานพยาบาลนั้น ตามชนิดและจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวง (4.) มีผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลตามวิชาชีพและจํานวนที่กําหนดในกฎกระทรวง (5.) ชื่อสถานพยาบาลต้องเป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง เพื่อประโยชน์แห่งการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการทางสาธารณสุข รัฐมนตรีโดยคำแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศกําหนดจํานวนสถานพยาบาลที่จะอนุญาตให้ตั้ง หรือมีบริการทางการแพทย์บางประเภทในสถานพยาบาลในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
มาตรา 17
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล

(1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (2.) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (3.) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้ จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (4.) ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา (5.) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (6.) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขอรับอนุญาต ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งด้วย

มาตรา 16
การขอ การออกใบอนุญาต และการประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทใดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา 15
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล
มาตรา 14/1^10
สถานพยาบาลอาจจัดให้มีการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัยทาง การแพทย์และสาธารณสุข หรือการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรเอกชนในการถ่ายทอเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาลทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 14
สถานพยาบาลมี 2 ประเภท

ประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน

ประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน