ชื่อเรื่อง: สายน้ำ ผู้เเต่ง: นิติพร ชุมศรี
เรื่องราวกล่าวถึงสายน้ำ ชายหนุ่มเกียจคร้านที่ไม่สนใจประเพณีท้องถิ่นของหมู่บ้าน เมื่อพี่ชายของเขาเกิดอุบัติเหตุและไม่สามารถลงแข่งขันเรือยาวได้ สายน้ำจึงต้องลงแข่งแทน ด้วยความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมเพื่อชิงถ้วยพระราชทานและเงินรางวัล เขาได้ค้นพบความสำคัญของการเอาชนะใจตัวเอง บรรยากาศการแข่งเรือยาวเต็มไปด้วยความสุขและเสียงเชียร์จากชาวบ้าน ทุกคนร่วมใจและมีความสุขในการสนับสนุนทีมของหมู่บ้าน สายน้ำเรียนรู้ว่าความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ถ้วยรางวัลหรือเงินทอง แต่คือการเปลี่ยนแปลงและการเอาชนะความเกียจคร้านของตนเอง เป็นการเติบโตทางจิตใจและการเห็นคุณค่าของประเพณีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชน
ชื่อเรื่อง: สายน้ำ ผู้เเต่ง: นิติพร ชุมศรี
บทสนทนา
การใช้ภาษาในเรื่องสายน้ำนั้นเป็นการใช้ภาษาที่สามารถบรรยายให้เห็นภาพได้ชัดเจน เเละสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับเนื้อเรื่องในตอนนั้นๆ อีกทั้งสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองลงไปในงานเขียน ผ่านมุมมองความคิดของตัวละครเอก เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสำนึกรักในวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งถือว่าความคิดเห็นดังกล่าวให้แง่คิดแก่ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี
ฉาก
ฉากร้านอินเทอร์เน็ตใจกลางหมู่บ้าน
ฉากบ้านของสายน้ำ ที่เป็นร้านขายของชำ
ฉากแข่งเรือยาว ณ ริมแม่น้ำมูล อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
เเก่นเรื่อง
แก่นของเรื่องนี้ คือ การเอาชนะใจตัวเอง จากในเนื้อเรื่องจะเห็นว่า สายน้ำเป็นเด็กที่เกียจคร้าน ไม่สนใจวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น นั่นคือ ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานที่จัดขึ้นทุกปี เขาเกิดคำถามขึ้นในใจว่าทำไมชาวบ้านคนอื่นๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับประเพณีนี้ แต่เมื่อเขาได้ลงแข่งขันเอง ก็ทำให้เขาได้รู้ว่าประเพณีแข่งขันเรือยาวให้อะไรแก่เขามากกว่าที่คิด
โครงเรื่อง
ปิดเรื่อง
สายน้ำนั้นฝ่าฝันความขี้เกียจความไม่เอาไหนของตนจนกลายเป็นคนที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นจนเข้าร่วมการแข่งขันเรือ สายน้ำนั้นได้ชัยชนะ คือ การชนะใจของตนเอง บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสุขมีเพียงเสียงตะโกนเชียร์และเสียงร้องดีใจ ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความสุขของชาวบ้านที่มาร่วมงานประเพณีครั้งนี้
ดำเนินเรื่อง
“สายน้ำ” เป็นเรื่องสั้นที่บอกเล่าวิถีชีวิตของผู้คนในเขตลุ่มแม่น้ำ เมื่อฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรผ่านพ้นไป ชาวบ้านจะร่วมใจจัดงานบุญประเพณีแข่งเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทุกคนในหมู่บ้านล้วนให้ความสำคัญกับบุญประเพณีแข่งเรือยาว ยกเว้นสายน้ำ ชายหนุ่มผู้มีนิสัยเกียจคร้านการทำงาน และไม่เห็นความสำคัญของบุญประเพณี เพราะเขาคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ ประเพณีเดิม ๆ ที่ถูกจัดขึ้นทุกปี แต่เมื่อโชคชะตาทำให้พี่ชายของเขา ชื่อสายลม เกิดอุบัติเหตุ ต้องพักรักษาตัว ทำให้ลงแข่งขันเรือยาวไม่ได้ สายลมจึงขอให้น้องชายเป็นตัวแทนของคนในครอบครัวไปร่วมแข่งขันพายเรือยาวกับทีมของหมู่บ้าน สายน้ำจึงเริ่มฝึกพายเรือ โดยให้เงินรางวัลและถ้วยพระราชทานเป็นแรงจูงใจในการฝึกซ้อม เมื่อถึงวันแข่งจริง ฝีพายและผู้ชมทั่วประเทศต่างหลั่งไหลมารวมกันที่ริมน้ำมูล เพื่อลุ้นเชียร์และให้กำลังใจฝีพายทีมต่าง ๆ ขณะแข่งเรือสายน้ำรู้สึกมีความสุขมาก เมื่อเรือลำหนึ่งเข้าสู่เส้นชัย เขาจึงได้รู้ว่าสิ่งที่ได้มากกว่าเงินรางวัลและถ้วยพระราชทาน ก็คือ “การเอาชนะใจตนเอง”
เปิดเรื่อง
นิติพร ชุมศรี เขียนเรื่อง "สายน้ำ" เปิดเรื่องด้วยการบรรยายความคิดของตัวละครเอกที่มีต่อเหตุการณ์ที่กำลังประสบ ผ่านสายตาของผู้เขียนเอง
ตัวละคร
พ่อแม่
พ่อแม่เป็นตัวละครที่คอยสนับสนุนให้เรื่องดูสมจริง อีกทั้งตัวละครพ่อแม่เป็นตัวละครที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการเลี้ยงลูกที่แตกต่างกัน
สายลม
พี่ชายคนโต ที่รักการพายเรือเป็นชีวิตจิตใจ มีวินัยในการฝึกซ้อม แต่เมื่อประสบอุบัติเหตุ ทำให้ภายเรือไม่ได้
สายน้ำ
สายน้ำเป็นตัวละครเอกที่มีลักษณะนิสัยแบบซับซ้อน หรืออาจเรียกว่า เป็นตัวละครที่มีหลายมิติ คือมีทั้งดีและไม่ดี เห็นได้จากที่เขาเคยเป็นคนเกียจคร้านมาก่อน ทั้งยังไม่สนใจและไม่ให้ความสำคัญกับประเพณีท้องถิ่นอีกด้วย แต่พอเวลาผ่านไปเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเขาส่งผลให้สายน้ำมีการปรับตัวและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น