Categorie: Tutti - มารยาท - เนื้อหา - เทคโนโลยี

da Janitsiree Vibhatavanij mancano 5 anni

856

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ (ชนิตสิรี ปียาภัสร์ ม.2/6)

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบเป็นเรื่องสำคัญที่ควรตระหนักถึงความเป็นเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร รูปภาพ หรือวิดิทัศน์ ซึ่งสามารถแสดงสิทธิ์ได้ทั้งชัดเจนและซ่อนไว้ การอนุญาตให้ผู้อื่นใช้งานต้องมีการระบุเงื่อนไขอย่างชัดเจน เช่น การใส่ลายน้ำหรือสัญลักษณ์ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ์ การจัดการกับเนื้อหาไม่เหมาะสมควรทำอย่างมีระบบ เช่น แจ้งครู ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเว็บไซต์ และหลีกเลี่ยงการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลเหล่านั้น มารยาทในการสื่อสารผ่านแชทและอีเมลก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์และข้อความที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ควรใช้ภาษาสุภาพ และระบุหัวเรื่องให้ชัดเจน นอกจากนี้การพิจารณาเนื้อหาก่อนเผยแพร่ควรตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล และต้องเคารพสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลเสมอ

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ (ชนิตสิรี ปียาภัสร์ ม.2/6)

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ (ชนิตสิรี ปียาภัสร์ ม.2/6)

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ฉบับที่2 มีประเด็นสำคัญดังนี้

การเพิ่มอำนาจศาล(มาตรา75)
โดยได้เพิ่มอำนาจให้ศาลในกรณีของคดีอาญาคือ มีอำนาจริบ ห้ามใช้ หรือทำลาย และผู้ละเมิดนั้น จะต้องเสียค่าชดใช้ด้วย
การเพิ่มค่าเสียหายในเชิงลงโทษ(มาตรา64วรรค2)
ศาลมีอำนาจให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าเสียหายได้ไม่เกิน2เท่าจากค่าเสียหายเดิม
สิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง(มาตรา51/1)
นักแสดงมีสิทธิ์ห้ามคนอื่นมาทำซ้ำหรือดัดแปลง และเมื่อนักแสดงเสียชีวิตลง ทายาทของนักแสดงจะมีสิทธิ์กับผลงานนั้นๆที่นักแสดงแสดงตลอดอายุการคุ้มครอง
ข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว(มาตรา32/2)
เช่น โหลด e-bookเก็บไว้อ่านเฉยๆ
หลักการระงับใบซื้อสินค้าในทรัพย์สินทางปัญญา(มาตรา32/1)
เช่น ห้ามนำหนังสือมาอ่านแล้วจำเนื้อหาไปทำขายเป็นของตนเอง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต(มาตรา32/2วรรค2)
เช่น true ais และผู็ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น youtube facebook ถ้ามีการละเมิดเจ้าของลิขสิทธิ์ฟ้องศาลได้ว่าให้ระงับการละเมิดลิขสิทธิ์
การคุ้มครองมาตราการทางเทคโนโลยี
ข้อยกเว้นการละเมิดมาตราทางเทคโนโลยีสำหรับการศึกษาและวิจัย(มาตรา53/5)
ละเมิดโดยการหลบเลี่ยงมาตราการทางเทคโนโลยี(มาตรา53/4)เช่น แฮ็คพาสเวิร์ด
การคุ้มครองการบริหารสิทธิ
สามารถลบ-เปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ถ้าเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติหรือเป็นสถานศึกษาที่นำข้อมูลไปใช้โดยไม่หวังผลกำไร
การลบ-เปลี่ยนแปลงข้อมูลแล้วนำมาเผยแพร่-จำหน่าย(มาตรา53/2) = การละเมิดข้อมูลการบรหารสิทธิ
การลบ-เปลี่ยนแปลงข้อมูล(มาตรา53/1)เช่น ลบลายน้ำ = การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ
มีการเพิ่มคำนิยาม
การหลบเลี่ยงมาตราการทางเทคโนโลยี คือการกระทำที่ทำให้มาตราการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล เช่น เจาะรหัส
มาตราการทางเทคโนโลยี คือ การใช้เทคโนโลย๊เพื่อควบคุมการเข้าถึงและป้องกันการทำซ้ำ
ข้อมูลการบริหารสิทธิ คือ ข้อมูลของเจ้าของลิขสิทธิ์

มารยาทในการติดต่อสื่อสาร

มารยาทในการใช้แชทและเครือข่ายสังคม
ไม่สวมรอย แอบอ้างใช้ชื่อบุคคลอื่นในการแชท แสดงความคิดเห็น หรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์และความรู้สึกมากเกินไปในการอ่านหรือแสดงความคิดเห็น
ไม่ใช้ข้อความที่เป็นต้นเหตุของการทะเลาะหรือมีปัญหากับบุคคลหรือกลุ่ม
มารยาทในการใช้อีเมล
ไม่ลักลอบส่งอีเมลด้วยการปลอมแปลงชื่อผู้ส่ง
หลีกเลี่ยงการส่งอีเมลและการแนบไฟล์ขนาดใหญ่ ให้ใช้การส่งลิงก์หรือโปรแกรมในการโอนถ่ายไฟล์แทน
ไม่ควรมีข้อความแสดงถึงเจตนาไปทางที่เสื่อมเสีย ข้อความที่กำกวม แสดงการตำหนิ ดูถูก ใส่ร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย
ระบุหัวเรื่อง ชื่อผู้ที่จะสื่อสารด้วย ตัวตนของผู้ส่งให้ชัดเจน ถูกต้อง และเหมาะสม
ใช้อักษรตัวหนากับข้อความที่ต้องการเน้น
ใช้ภาษาสุภาพ ชัดเจน ตรงประเด็น เหมาะสมกาลเทศะ

การสร้างและแสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงาน

ข้อมูลในรูปแบบเอกสาร รูปภาพ หรือวิดิทัศน์ นับเป็นทรัพย์สินที่เจ้าของสามารถสิทธิ์แสดงความเป็นเจ้าของได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบชัดเจนหรือซ่อนไว้
การใส่ลายน้ำ
ระบุเงื่อนไขการอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปใช้
การระบุสัญลักษณ์
การใส่ชื่อ

แนวทางการพิจารณาเนื้อหาก่อนเผยแพร่ข้อมูล

การเข้าถึง
คือการกำหนดหรือระบุให้บุคคลหรือองค์กรมีสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษในการเข้าถึง
ทรัพย์สินหรือความเป็นเจ้าของ
ต้องรู้ว่าใครเป้นเจ้าของ มีความสำคัญหรือมูลค่ามากเท่าใดเพื่อให้จัดการได้เหมาะสมและเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
ความถูกต้อง
ข้อมูลที่ใช้ต้องมีความถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ และต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนจะนำไปใช้หรือเผยแพร่
ความเป็นส่วนตัว
ต้องเข้าใจว่าข้อมูลนั้นๆเกี่ยวกับใครหรือองค์กรต่างๆ สามารถเปิดเผยได้หรือไม่ มีเงื่อนไข มาตรการป้องกันอย่างไร

แนวทางปฏิบัติเมื่อพบเนื้อหาไม่เหมาะสม

ไม่ส่งต่อ ไม่แชร์ ไม่เผยแพร่
แจ้งผู้เกี่ยวข้องที่ดูแลเว็บไซต์นั้น
ถ้าเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ เช่น Facebook Youtube เว็บไซต์เหล่านี้เปิดให้ผู้ใช้รายงานปัญหาได้
แจ้งเจ้าหน้าที่รัฐหรือตำรวจ
ในกรณีที่ผู้ดูแลระบบไม่จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
แจ้งครูหรือผู้ปกครอง
การปฏิเสธการรับข้อมูล ทำได้โดย
ไม่เปิดดู ไม่บันทึกเก็บไว้ ไม่เก็บไว้

ผลกระทบการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

ผลกระทบต่อผู้เผยแพร่
ด้านกฎหมาย

ได้รับโทษ หากข้อมูลเหล่านั้นผิดกฎหมาย

ถูกสังคมลงโทษ

ได้รับการประนามหรือเกลียดชังจากสังคม

รู้สึกผิดกับการกระทำของตนเอง

รู้สึกเสียใจเมื่อมีคนทำแบบตน

ผลกระทบที่ผู้อื่นได้รับจากการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
ด้านจิตใจ

ได้รับความเกลียดชัง มีบาดแผลทางจิตใจ สูญเสียการยอมรับจากผู้อื่น

ทำให้เกิดความรู้สึกอับอาย ไม่ปลอดภัย เสียใจ กลัว

ด้านสังคม

ได้รับผลกระทบในชีวิตประจำวัน

ถูกประนามจากสังคม

ด้านการงานและะธุรกิจ

อาจะเสียงาน โดนไล่ออก