Categorie: Tutti

da นางสาวจารุมล นันทะพรม manca 1 mese

98

พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒

พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยถูกออกแบบมาเพื่อรักษาและส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติทางการแพทย์ที่มีรากฐานมาจากไทย โดยมีคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรการและดำเนินการตามกฎหมายนี้ สำหรับการประชุมคณะกรรมการต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดเพื่อให้เป็นองค์ประชุม กรรมการมีอำนาจในการให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาในการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนหรือผู้อนุญาต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งสองปีและสามารถได้รับการแต่งตั้งอีกได้หากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการและคณะอนุกรรมการมีอำนาจในการตรวจสอบและเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา

พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒

พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒

หมวด ๓

การคุ้มครองสมุนไพร
มาตรา ๖๕

มาตรา ๖๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา ๖๔ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับการสนับสนุนตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา ๖๔

มาตรา ๖๔ เพื่อสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาสมุนไพร เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่เป็นถิ่นกําเนิดของสมุนไพรหรือที่ดินที่จะใช้ปลูกสมุนไพร มีสิทธินําที่ดินนั้นไปขอขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือหรือขอรับการสนับสนุนตามพระราชบัญญัตินี้ การขอขึ้นทะเบียน การออกใบสําคัญการขึ้นทะเบียน และการเพิกถอนการขึ้นทะเบียน ใหเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๖๓

มาตรา ๖๓ ในพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร หามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินหรือปลูกหรือก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือตัด โคน แผ้วถาง เผา หรือทําลายต้นไม้ หรือพฤกษชาติอื่นหรือทําลายความหลากหลายทางชีวภาพหรือระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ หรือขุดหาแร่ หิน ดิน หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ํา หรือทําให้น้ําในลําน้ํา ลําห้วย หนอง บึง ท่วมท้น เหือดแห้ง เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสมุนไพร เว้นแต่การดําเนินการใด ๆ เพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพรโดยได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง ใบอนุญาตที่ออกตามความในวรรคหนึ่งให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของปีที่สาม นับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต ให้นำมาตรา ๔๙ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๒ ถึงมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม กับการต่ออายุใบอนุญาต การขอใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกตามความในวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา ๖๒

มาตรา ๖๒ ในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๖๑ ให้กําหนดมาตรการคุ้มครอง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ไว้ในกฎกระทรวงด้วย (๑) การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติหรือคุณค่าของสมุนไพรหรือมิให้กระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติหรือความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นั้น (๒) ห้ามกระทําการใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดผลกระทบในทางเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ของพื้นที่นั้นจากลักษณะตามธรรมชาติหรือความหลากหลายทางชีวภาพ หรือเกิดผลกระทบต่อคุณค่าของสมุนไพร (๓) กําหนดวิธีการจัดการโดยเฉพาะสําหรับพื้นที่นั้น รวมทั้งการกําหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการร่วมมือและประสานงานให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อรักษาสภาพธรรมชาติหรือคุณค่าของสมุนไพรหรือระบบ นิเวศน์ตามธรรมชาติหรือความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นั้น (๔) กําหนดมาตรการคุ้มครองอื่น ๆ ตามที่จําเป็นและเหมาะสมกับสภาพของพื้นที่นั้น

มาตรา ๖๑

ที่ดินในบริเวณพื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรตามวรรคหนึ่งนั้น ต้องไม่เป็นที่ดินที่อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินของบุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวง การเมือง กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งจะต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินที่กำหนดเป็นพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรนั้นแนบท้ายกฎกระทรวงด้วย

ในกรณีที่พื้นที่ใดเป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพรที่มีระบบนิเวศน์ตาม ธรรมชาติหรือมีความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจถูกทำลายหรืออาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากการกระทำของมนุษย์ได้โดยง่าย หรือการเข้าไปใช้ประโยชน์จากสมุนไพรอันมีลักษณะเป็นการเสี่ยงต่อการสูญพันธ์หรือการลดลงของพันธุกรรม หรือทางราชการมีวัตถุประสงค์จะส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการบริหาร การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในพื้นที่นั้น และพื้นที่นั้น ยังมิได้ถูกประกาศกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร

มาตรา ๖๐

ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ใด ถ้าปรากฏว่ามีการจัดการพื้นที่โดยไม่ถูกต้อง หรือมีสภาพปัญหาการจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรโดยไม่ถูกต้อง หรือมีการทำลายสมุนไพร หรือถิ่นกำเนิดของสมุนไพรอย่างรุนแรงเข้าขั้นวิกฤตซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขโดยทันที และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่มีอำนาจตามกฎหมายหรือไม่สามารถที่จะทำการแก้ไขปัญหาได้ ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงสาธารณสุขเข้าดำเนินการเพื่อใช้มาตรการคุ้มครองตามแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรตามมาตรา๕๗ เท่าที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาได้

มาตรา ๕๙
มาตรา ๕๘

เพื่อประโยชน์ในการจัดทำแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรตามมาตรา๕๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ใด ๆ เพื่อทำการสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและถิ่นกำเนิดของสมุนไพร ทั้งนี้ โดยความร่วมมือและประสานงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๕๗

เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกําเนิดของ สมุนไพรที่มีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติหรือมีความหลากหลายทางชีวภาพหรืออาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากการกระทําของมนุษย์ได้โดยง่ายในเขตพื้นที่ที่ได้มีการกําหนดใหเป็นเขตอนุรักษ์ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการจัดทําแผนปฏิบัติการเรียกว่า “แผนจัดการเพื่อคุมครองสมุนไพร“เสนอขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรี แผนจัดการเพื่อคุมครองสมุนไพรตามวรรคหนึ่ง อาจจัดทําเป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาวได้ตามความเหมาะสม และจะต้องประกอบด้วยแผนงานและแนวทางการดําเนินงานใน เรื่องดังต่อไปนี้

(๔) การตรวจสอบ ติดตาม และวิเคราะห์การเข้าไปในเขตอนุรักษ์เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(๓) การสำรวจและศึกษาวิจัยสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพร เพื่อประโยชน์ในการกำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดของสมุนไพร

(๒) กำหนดวิธีการจัดการโดยเฉพาะสำหรับพื้นที่บริเวณที่เป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพรรวมทั้งการกำหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการร่วมมือและประสานงานให้เกิดประสิทธิภาพในอันที่จะรักษาสภาธรรมชาติ ระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณค่าของสมุนไพรในพื้นที่บริเวณนั้น

(๑) การกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้บุคคลใดเข้าไปในเขตอนุรักษ์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ เพื่อรักษาสภาพธรรมชาติหรือคุณค่าของสมุนไพรหรือมิให้กระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติหรือความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณที่ เป็นถิ่นกำเนิดของสมุนไพร

มาตรา ๕๖

ผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๕๔ จะจําหน่ายสมุนไพรควบคุมของตนที่เหลืออยู่แกผู้รับใบอนุญาตอื่นหรือแก่ผู้ซึ่งผู้อนุญาตเห็นสมควรก็ได้ ภายในหกสิบวันนับแตวันที่ทราบคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์ ให้นับตั้งแต่วันที่ทราบคําวินิจฉัยของคณะกรรมการ เว้นแต่ผู้อนุญาตจะผ่อนผันขยายเวลาใหอีกแต่ต้องไม่เกินหกสิบวัน

มาตรา ๕๕

คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา๕๒ และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ตามมาตรา๕๔ ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้รับใบอนุญาต หรือ ผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ปิดคำสั่ง

มาตรา ๕๔

เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตที่ออกตามมาตรา๔๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และเป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรง ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ ผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสังเพ็กถอนใบอนุญาต ต้องหยุดประกอบกิจการตามใบอนุญาตนั้น และจะขอรับใบอนุญาตใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้หรือไม่ก็ได้สุดแต่จะพิจารณาเห็นสมควร

มาตรา ๕๓

อนุญาตมีอำนาจสั่งถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตก่อนกำหนดเวลาได้เมื่อเป็นที่พอใจว่าผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกพักใช้ใบอนุญาตได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว

มาตรา ๕๒

เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตที่ออกตามมาตรา ๔๖ ผู้ไดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน ผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกพักใช้ใบอนุญาตต้องหยุดประกอบกิจการตามใบอนุญาตนั้นและระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้อีกไม่ได้

มาตรา ๕๑

ให้ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งสมุนไพรควบคุมเกินกว่าจำนวนหรือปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๔๕ (๑) อยู่ในวันที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้สมุนไพรนั้นเป็นสมุนไพรควบคุม แจ้งการครอบครองสมุนไพรควบคุมนั้นต่อนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว

มาตรา ๕๐

ในกรณีใบอนุญาตที่ออกตามมาตรา๔๖ สูญหายหรือถูกทำลาย ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหายหรือถูกทำลายนั้น การขอและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๙

การต่ออายุใบอนุญาตที่ออกตามมาตรา๔๖ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ให้ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าผู้อนุญาตจะ สั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๔๘

บทบัญญัติมาตรา๔๖ มิให้ใช้บังคับแก่การศึกษาวิจัยสมุนไพรควบคุมซึ่งกระทำโดยหน่วยงานของรัฐ แต่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา๔๕ (๔)

มาตรา ๔๗

ใบอนุญาตที่ออกตามมาตรา ๔๖ ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วยให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย เว้นแต่ผู้รับใบอนุญาตจะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นเป็นการสุดวิสัย ที่ตนจะล่วงรู้หรือควบคุมได้

มาตรา ๔๖

ห้ามมิให้ผู้ใดศึกษาวิจัยหรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือจำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงใบอนุญาตที่ออกตามความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีที่สามนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาตั

มาตรา ๔๕

เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสมุนไพรควบคุม ให้รัฐมนตรีโดย คำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๑) กำหนดจำนวนหรือปริมาณของสมุนไพรควบคุมที่ครอบครอง ใช้ประโยชน์ ดูแลเก็บรักษา หรือขนย้ายที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียน (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแจ้งตาม (ด) (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการครอบครอง การใช้ประโยชน์ การดูแล การเก็บรักษา หรือการขนย้ายสมุนไพรควบคุม (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการศึกษาวิจัยสมุนไพรควบคุม (๕) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการส่งออกสมุนไพรควบคุม เพื่อการค้าและที่มีใช่เพื่อการค้า หรือในการจำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า (๖) กำหนดการอื่นใดเพื่อคุ้มครอง ป้องกัน หรือระงับหรือบรรเทาอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่สมุนไพรควบคุม

มาตรา ๔๔

เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสมุนไพร ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดประเภท ลักษณะ ชนิด และชื่อของสมุนไพรที่มีค่าต่อการศึกษาหรือวิจัย หรือมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ หรืออาจจะสูญพันธุ์ ให้เป็นสมุนไพรควบคุม

หมวด ๒

มาตรา ๔๓
การขอจดทะเบียน การออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน และการเพิกถอนการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
บุคคลซึ่งมีสัญชาติของประเทศอื่นที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยได้รับการคุ้มครองสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในประเทศนั้นได้ อาจขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์พื้นเมืองของประเทศนั้นที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศของตนเพื่อขอรับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ได้
มาตรา ๔๒
เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งคำสังพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ทรงสิทธิ์ และผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในภูมิ ปัญญาการแพทย์แผนไทยทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตดังกล่าว
ก่อนที่จะสั่งเพิกถอนการอนุาตให้ใช้สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามมาตรา ๔๑ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้น ทราบเพื่อยื่นคำชี้แจงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากนายทะเบียน และให้นำมาตรา ๓๙ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑
การเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยได้ใช้สิทธินั้นโดยขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือฝ่าฝืน หรือมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา๓๖ วรรคสอง หรือใช้สิทธิอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงต่อภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ได้จดทะเบียนไว้ นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้นได้
มาตรา ๔๐
ผู้ทรงสิทธิที่ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนตามมาตรา๓๙ อาจขอจดทะเบียนใหม่ได้ตามมาตรา ๒๐ เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้น
มาตรา ๓๙
มื่อนายทะเบียนได้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่ามีเหตุผลสมควรเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ให้นายทะเบียนเสนอขอความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการให้ความเห็นชอบแล้วให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้นได้ และให้มีหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าวพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ทรงสิทธินั้นทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าว
ในการสอบสวนข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนจะให้บุคคลที่เกี่ยวข้องชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานมาแสดงเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้
ก่อนที่จะสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามมาตรา๗ ให้นายทะเบียนทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและแจ้งให้ผู้ทรงสิทธิทราบ เพื่อยื่นคำ ชี้แจงภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งดังกล่าว
มาตรา ๓๘
ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ได้จดทะเบียนโดยไม่ชอบด้วยมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๒ ได้
มาตรา ๓๗
นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(๓) ผู้ทรงสิทธิได้ใช้สิทธิอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงต่อภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ได้จดทะเบียนไว้

(๒) ผู้ทรงสิทธิได้ฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อจำกัดที่นายทะเบียนกำหนดในการรับจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้น

(๑) ผู้ทรงสิทธิได้ใช้สิทธินั้นโดยขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

มาตรา ๓๖
ผู้ทรงสิทธิจะอนุญาตให้บุคคลใดใช้สิทธิของตนตามมาตรา๓๔ ก็ได้การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๕
สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อาจโอนให้แก่ผู้อื่นได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก

เมื่อไม่มีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนรับการตกทอดทางมรดกซึ่งสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่จะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้เป็นอันสิ้นสุดลง และให้นำมาตรา ๓ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ผู้ที่ได้รับการตกทอดทางมรดกซึ่งสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามวรรคหนึ่ง ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในสองปีนับแต่วันที่ผู้ทรงสิทธิถึงแก่ความตาย

มาตรา ๓๔
ผู้ทรงสิทธิเท่านั้นมีสิทธิในการผลิตยา และมีสิทธิในการใช้ศึกษาวิจัย จำหน่าย ปรับปรุงหรือพัฒนาตำรับยาแผนไทยหรือภูมิปัญญาในตำราการแพทย์แผนไทยที่ได้จด ทะเบียนไว้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่ (๑) การกระทำใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิจัยตาม ระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หรือ (๒) การเตรียมยาเฉพาะรายตามใบสั่งแพทย์ โดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนไทย หรือ (๓) การผลิตยาเพื่อยังชีพแบบพื้นบ้าน หรือการผลิตยาโดยสถานพยาบาลของรัฐ ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ หรือาร การใช้ตำราการแพทย์แผนไทยเพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๓๓
เมื่อพ้นระยะเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจา นุเบกษากำหนดตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทยนั้น ให้เป็นตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือ ตำราการแพทย์แผนไทยทั่วไปตามมาตรา ๑๖ (๒) แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีผู้ทรงสิทธิร่วมตามมาตรา ๓๒ ให้สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ดังกล่าวมีอยู่ตลอดอายุของผู้ทรงสิทธิร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้ทรงสิทธิร่วมคน สุดท้ายถึงแก่ความตาย
สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีอายุ ตลอดอายุของผู้ทรงสิทธิ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่วันที่ผู้ทรงสิทธิถึงแก่ความตาย
มาตรา ๓๒
การจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยร่วมกัน ให้ผู้มีสิทธิร่วมกันนั้น จัดทำบันทึกข้อตกลงว่าจะใช้สิทธิร่วมกันอย่างไร มอบไว้กับนายทะเบียนพร้อมกับการจดทะเบียนด้วย
ในกรณีที่ปลัดกระทรวงมีคำวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง ว่ามีสิทธิ ได้รับการจดทะเบียนหลายคน หรือกรณีที่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนอย่างเดียวกันหลายคนตกลงให้มีสิทธิ ในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยร่วมกัน หรือศาลพิพากษาให้มีสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ร่วมกันตามมาตรา ๒๖ ให้บุคคลเหล่านั้นมีสิทธิจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ร่วมกันได้
มาตรา ๓๑
เมื่อได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนหรือผู้คัดค้านทราบ และให้ชำระค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง ถ้าผู้ขอจดทะเบียนหรือผู้คัดค้าน ไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ยกเลิกคำขอจดทะเบียนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ให้เป็นไป ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ไม่มีผู้คัดค้านตามมาตรา ๒๙ หรือในกรณีที่มีผู้คัดค้าน และได้ มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดให้ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียนหรือให้ผู้คัดค้านเป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียน ก็ดี ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนสิทธิภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยให้แก่ผู้ขอจดทะเบียนหรือ ผู้คัดค้านนั้นได้
มาตรา ๓๐
ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัย นายทะเบียนต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนและผู้คัดค้าน ชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานมาแสดงเพื่อประกอบการพิจารณา เมื่อนายทะเบียนได้มีคำวินิจฉัยแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขอจดทะเบียนและผู้คัดค้านทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัยดังกล่าว
มาตรา ๒๙
เมื่อได้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนรายใดตามมาตรา ๒๔ แล้ว บุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้น จะยื่นคำคัดค้านต่อนาย ทะเบียนพร้อมทั้งแสดงหลักฐานก็ได้ แต่ต้องยื่นภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา ๒๔
มาตรา ๒๘
ในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๒๗ ถ้าคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าคำสั่งของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียน ดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนรายนั้นต่อไป
มาตรา ๒๗
เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบคำขอจดทะเบียนแล้วเห็นว่าผู้ขอจด ทะเบียนไม่ได้เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๑ และภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ขอจดทะเบียนนั้น มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ ให้นายทะเบียนมีคำสั่งยกคำขอจดทะเบียนนั้น และให้มีหนังสือ แจ้งคำสั่งไปยังผู้ขอจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำขอจดทะเบียนดังกล่าว
มาตรา ๒๖
ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยอย่าง เดียวกันหลายคนโดยไม่ได้ร่วมกัน ให้บุคคลซึ่งได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ก่อนเป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียน ถ้ายื่นคำขอจดทะเบียนในวันและเวลาเดียวกัน ให้ทำความตกลงกันว่าจะให้บุคคลใดมีสิทธิแต่ผู้เดียว หรือให้มีสิทธิร่วมกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ภายในเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ให้คู่กรณีนำคดีไปสู่ศาล ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ถ้าไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน กำหนดเวลาดังกล่าว ให้ยกเลิกคำขอจดทะเบียนของบุคคลเหล่านั้น
มาตรา ๒๕

การสอบสวนและการพิจารณาวินิจฉัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

ในการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนจะเรียกผู้ขอจดทะเบียนคนใดมาให้ ถ้อยคำ ชี้แจง หรือให้ส่งเอกสารหรือสิ่งใดเพิ่มเติมก็ได้ เมื่อนายทะเบียนได้ดำเนินการสอบสวน และ วนคณะกร ปลัดกระทรวงได้วินิจฉัยแล้ว ให้นายทะเบียนแจ้งคำวินิจฉัยไปยังผู้ขอจดทะเบียนทุกคน

ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ร่วมกันหลายคน ให้นายทะเบียนกำหนดวันสอบสวนและแจ้งไปยังผู้ขอจดทะเบียนทุกคน

มาตรา ๒๔
เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบคำขอจดทะเบียนแล้วเห็นว่าผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๑ และภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ขอจดทะเบียนนั้น ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ ให้นายทะเบียนประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนนัน โดยไม่ชักช้า ณ สำนักงานทะเบียนและที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง
มาตรา ๒๓
การขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยรายใดไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนรายนั้นแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามตำสั่งของนายทะเบียนภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ยกเลิกคำขอจดทะเบียนนั้น
มาตรา ๒๒
ห้ามมิให้รับจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เมื่อนายทะเบียนเห็นว่า (๑) เป็นตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ หรือเป็นตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือตำราการแพทย์แผนไทยทั่วไป หรือ (๒) เป็นตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลที่ปรุงโดยไม่ใช้หลักการแพทย์แผนไทย เช่น ใช้สารสกัดจากพืช สัตว์ หรือจุลชีพที่มิใช่สารสกัดดั้งเดิมตามธรรมชาติ หรือใช้วิธีการแปรรูปที่มิใช่การแปรรูปอย่างหยาบ
มาตรา ๒๑
บุคคลซึ่งมีสิทธิจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามมาตรา ๒๐ ต้องมีสัญชาติไทยและมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) เป็นผู้คิดค้นตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทย (๒) เป็นผู้ปรับปรุงหรือพัฒนาตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทย (๓) เป็นผู้สืบทอดตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์ แผนไทย
มาตรา ๒๐
ตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลหรือตำราการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคลตามมาตรา ๑๖ (๓) อาจนำมาจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเพื่อขอรับการคุ้มครองและส่งเสริมตามที่กำหนดโดยบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ได้ โดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียน การขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทขตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๙
ผู้ใดประสงค์จะนำตำรับยาแผนไทยของชาติไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยาและขออนุญาตผลิตยาตามกฎหมายว่าด้วยยา หรือนำไปทำการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาเป็นยาใหม่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า หรือประสงค์จะทำการศึกษาวิจัยตำราการแพทย์แผนไทยของชาติเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยขึ้นใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตใช้ประโยชน์และชำระค่าธรรมเนียม รวมทั้งค่าตอบแทนสำหรับการใช้ประโยชน์ดังกล่าวต่อผู้อนุญาต การขอรับอนุญาตและการอนุญาต ข้อจำกัดสิทธิ และค่าตอบแทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกระทรวง
มาตรา ๑๘
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทยที่มีการใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลายหรือที่พ้นอายุการคุ้มครองสิทธิตามมาตรา ๓๓ ให้เป็นตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือตำราการแพทย์แผนไทยทั่วไป แล้วแต่กรณี การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๗
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยหรือตำราการแพทย์แผนไทยที่มีประโยชน์หรือมีคุณค่าในทางการแพทย์หรือการสาธารณสุขเป็นพิเศษ ให้เป็นตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ แล้วแต่กรณี การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๖
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย คือ (๑) ตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ (๒) ตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือตำราการแพทย์แผนไทย (๓) ตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลหรือตำราการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล
มาตรา ๑๕
ให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก *มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทขเกี่ยวกับตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยทั่วราชอาณาจักร เพื่อจัดทำทะบียน การจัดทำทะเบียนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเกี่ยวกับตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๔
สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่จะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเกี่ยวกับตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทย

หมวด ๔

การอุทธรณ์
มาตรา ๗๒

การยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๗๑

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ มาตรา ๖๙ และมาตรา๗๐ ให้เป็นที่สุด

มาตรา ๗๐

อุทธรณ์คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

๕. ผลของการอุทธรณ์ต่อคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต

คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนยังคงมีผล แม้จะอยู่ระหว่างการอุทธรณ์

การอุทธรณ์ ไม่ส่งผลให้คำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตถูกทุเลาหรือระงับ

คณะกรรมการ เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์

นับตั้งแต่วันที่ได้รับ หนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน

ผู้รับใบอนุญาตที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

ผู้รับใบอนุญาตที่ถูกพักใช้ใบอนุญาต

เพิกถอนใบอนุญาต (อ้างอิงมาตรา ๕๔)

พักใช้ใบอนุญาต (อ้างอิงมาตรา ๕๒)

ผู้อนุญาตมีคำสั่ง

มาตรา ๖๙

อุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

๕. ผลของการอุทธรณ์ต่อการบังคับคำสั่งเพิกถอน

คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์

ผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

อ้างอิงมาตรา ๔๑

นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอน การอนุญาตให้ใช้สิทธิ

มาตรา ๖๘

อุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

๖. ผลของการอุทธรณ์ต่อการบังคับคำสั่งเพิกถอน

คำสั่งเพิกถอนยังคงมีผล แม้จะอยู่ระหว่างการอุทธรณ์

การอุทธรณ์ ไม่ส่งผลให้คำสั่งเพิกถอนถูกทุเลาหรือระงับ

๕. ผลของคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี

ไม่มีการอุทธรณ์หรือฟ้องร้องต่อไปได้

คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

รัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์

ผู้ทรงสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

อ้างอิงมาตรา ๓๙ วรรคสาม

นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอน การจดทะเบียนสิทธิ

มาตรา ๖๗

อุทธรณ์คำวินิจฉัยเกี่ยวกับผู้มีสิทธิจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์

ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน ๓๐ วัน

นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียน

ขึ้นอยู่กับกรณีที่เกี่ยวข้อง

ผู้คัดค้าน (หากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย)

ผู้ขอจดทะเบียน (หากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย)

อ้างอิงมาตรา ๓๐ วรรคสอง

นายทะเบียนมีคำวินิจฉัย เกี่ยวกับผู้มีสิทธิจดทะเบียนสิทธิ

มาตรา ๖๖

อุทธรณ์คำสั่งยกคำขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

๔. หน่วยงานที่รับอุทธรณ์

คณะกรรมการ ที่เกี่ยวข้อง

๓. ระยะเวลาการอุทธรณ์

ภายใน ๓๐ วัน

นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน

๒. ผู้ที่มีสิทธิอุทธรณ์

มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว

๑. กรณีที่เกิดขึ้น

อ้างอิงมาตรา ๒๗

นายทะเบียนมีคำสั่ง ยกคำขอจดทะเบียนสิทธิ

หมวด ๕

พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๗๕

สถานะของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย

ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๗๔

ข้อกำหนดเกี่ยวกับบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่

๒. รูปแบบของบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

กำหนดโดยรัฐมนตรี

๑. หน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

เป็นหลักฐานยืนยันตัวตนของพนักงานเจ้าหน้าที่

ต้องแสดงบัตรประจำตัว เมื่อปฏิบัติหน้าที่

มาตรา ๗๓

อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่

๖. หน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร

๕. อำนาจในการสั่งห้ามบุคคลในพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร

สั่งให้งดเว้นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา ๖๓

สั่งให้บุคคลใด ๆ ออกจากพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร

๔. อำนาจในการเรียกบุคคลมาให้ข้อมูล

ต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า เอกสารหรือถ้อยคำจะเป็นประโยชน์ในการพิสูจน์ความผิด

สั่งให้นำส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

สั่งให้บุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ

๓. อำนาจในการยึดหรืออายัด

ใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี

ยึดหรืออายัดเอกสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด

๒. อำนาจในการค้น

หากการค้นยังไม่เสร็จในช่วงเวลาที่กำหนด สามารถดำเนินการต่อได้

เงื่อนไขของการค้น

มีเหตุอันควรเชื่อว่าหากรอหมายค้น อาจมีการ ยักย้าย ซุกซ่อน หรือทำลายเอกสารหรือสิ่งของ

มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิด

ค้นสถานที่หรือยานพาหนะในช่วงเวลา

ระหว่างเวลาทำการ

ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก

๑. อำนาจในการตรวจสอบและควบคุม

ตรวจสอบให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ

เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาทำการ

หมวด ๖

มาตรา ๗๖
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า "กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย" ในกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก* กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็น ทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินดังต่อไปนี้

รายได้ของกองทุนไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก* กระทรวงสาธารณสุขเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน และดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ การบริหาร การจัดหาผลประโยชน์ และการใช้จ่ายเงินกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

(๔) รายได้อื่นที่เกิดจากการดำเนินการกองทุน

(๓) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน

(๒) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ

(๑) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

หมวด ๗

บทกำหนดโทษ
มาตรา ๘๒

ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของ นิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทําของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องส่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

มาตรา ๘๑

ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตรา ๘๐

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรการคุ้มครองตามขอกําหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖๒ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๙

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๘

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๙ มาตรา ๔๖ มาตรา ๕๒ วรรคสอง มาตรา ๕๔ วรรคสอง หรือมาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๓ (๕) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ

มาตรา ๗๗

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๑ ประกอบมาตรา ๖ (๕) หรือคําสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๓๙ วรรคสอง หรือคําส่ังของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๓ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสอง พันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

หมวด ๑

มาตรา๑๓
ให้อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก*เป็นนายทะเบียนกลาง และให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นนายทะเบียนจังหวัด
มาตรา๑๒
ให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก* กระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมการศึกษาอบรม การ ศึกษาวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร และรับผิดชอบในงานธุรการและงาน วิชาการของคณะกรรมการ
มาตร๑๑
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการและ คณะอนุกรรมการมีอำนาจสั่งให้บุคคลที่เกียวข้องชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานมาแสดงเพื่อประกอบการพิจารณา
มาตรา๑๐
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือ ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ให้นำมาตรา ๙ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา๙
การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมครั้งใด ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชมออกเสียงอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๗ กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย (๒) ลาออก' (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย ๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) รัฐมนตรีสั่งให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติ เสื่อมเสีย (b) ต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๓) พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการใน ฐานะนั้

มาตรา๗
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ภายใต้บังคับมาตรา๕ วรรคสอง รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนแทน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา๖
คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือ ประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ (๒) ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร (๓) กำหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ชุมชน และองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร (๔) ให้ความเห็นชอบในการสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามมาตรา๓๙ วรรคสาม (๕) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนหรือของผู้อนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ (๖) วางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาอุทธรณ์การจัดทำทะเบียนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การบริหาร การจัดหาผลประโยชน์ และการใช้จ่ายเงินกองทุนและการดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร (๗) ปฏิบัติการอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ (๘) ปฏิบัติการอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา๕
ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่แวดล้อม และผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการโดยตำแหน่งซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยเลือกจากกลุ่มผู้ประกอบโรคศิลปะและจากกลุ่มผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถ หรือ ประสบการณ์ทางด้านการแพทย์แผนไทยการผลิตหรือจำหน่ายยาแผนไทยและการปลูกหรือแปรรูปสมุนไพร และอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก* เป็นกรรมการและเลขานุการ การเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง