การบำบัดอาการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์
การดีท็อกซ์คือการเอาสารพิษออกจากร่างกาย แล้วการบำบัดอาการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ (Social Media Detox) หรือดิจิทัลดีท็อกซ์ (Digital Detox) เป็นการพาตัวเองออกห่างจากสมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทั้งหมด ซึ่งเป็นการพักใจ พักสมอง และเรียกคืนตัวเองกลับมา
5. ปรับทัศนคติในการเล่นโซเชียลมีเดียใหม่ จำไว้ว่าคนในโลกโซเชียลมีเดียมักจะเสนอแต่แง่มุมดี ๆ ของตัวเองทั้งนั้น แต่จริง ๆ แล้วคนเราย่อมมีทั้งสุขและทุกข์ปนกันไป
4. ถ้าทำใจเลิกเล่นโซเชียลมีเดียไม่ได้ ให้ลองคัดเพื่อนในโซเชียลมีเดียให้เหลือแต่คนที่สนิทกันจริง ๆ
3. ลองกลับไปใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์
2. หากิจกรรมอื่นทำแทนการเล่นโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจจะเป็นกิจกรรมนอกบ้าน ออกท่องเที่ยวสัมผัสช่วงเวลาแห่งความสุข การเดินป่า ดำน้ำ โดยเป็นกิจกรรมที่ไม่มีแล็บท็อป โน๊ตบุ๊ค มาเกี่ยวข้อง
1. ตัดกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับอะไรที่สามารถเชื่อมต่อกับโซเซียลมีเดีย ตัดทุกทางที่จะทำให้พบเห็น หรือรับรู้ที่เกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย
โรคติดสื่อสังคมออนไลน์
4. โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)
2. ละเมอเเชท (Sleep-Texting)
5. โนโมโฟเบีย (Nomophobia)
3. โรควุ้นในตาเสื่อม (Eye Floaters)
1. โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome)
ออฟฟิศซินโดรม
การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม
1. ขณะพิมพ์คอมพิวเตอร์ต้องให้ข้อศอกอยู่ระดับเดียวกับคีย์บอร์ด เพื่อให้สามารถกดคีย์บอร์ดได้ถนัด
2. จอคอมพิวเตอร์อยู่ห่างจาก สายตาประมาณ 2 ฟุต และปรับหน้าจอด้านบนสุดให้อยู่ในแนวเดียวกับระดับสายตา
3. อย่านั่งจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ นาน ๆ ให้พักสายตาทุก 15 นาที ด้วยการมองออกไปไกล ๆ จะทำให้ดวงตาไม่เกิดอาการล้าและหลับตา ทุก 1 ชั่วโมง
4. เมื่อรู้สึกเมื่อยตา ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางแตะที่หัวตาแต่ละข้าง นวดคลึงเบา ๆ และควรบริหาร ดวงตา เพื่อคลายความตึงเครียด ด้วยการกลอกตาเป็นวงกลม ประมาณ 5-6 รอบ
5. ควรปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม
6. ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง ที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคความดันโลหิตสูง
การรักษาออฟฟิศซินโดรม
2. การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีทางการแพทย์
การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีทางการแพทย์ หากไม่แน่ใจว่าเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ หรือกังวลใจเกี่ยวกับอาการที่เป็น สามารถไปพบแพทย์ได้ ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์ก็มักจะแนะนำให้ปรับพฤติกรรมและอาจให้ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาบรรเทาอาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อ
1. การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเอง
1.1 หมั่นออกกำลังกายเพื่อยืดและคลายกล้ามเนื้อให้เหมาะสมกับอาการซึ่งการออกกำลังกายที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
1.2 ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางจรดกับพื้นขณะนั่ง
1.3 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เช่น ในระหว่างทำงานเมื่อรู้สึกอ่อนล้า
ควรจะต้องพักจากงานที่ทำอยู่เพื่อให้ร่างกายและสมองได้ผ่อนคลาย โดยอาจจะลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย หรือเดินไปสูดอากาศข้างนอก
สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม
1. การทำงานซ้ำซาก (Repetition)
2. ท่าทางที่ไม่เหมาะสม (Awkward Posture)
3. กล้ามเนื้อทำงานเกร็งค้างกับที่ (Static Muscle Work)
4. การออกแรง (Force)
5. ช่วงระยะเวลาการทำงาน (Duration of Exposure)
6. ความเครียด (Stress)
อาการของออฟฟิศซินโดรม
อาการของออฟฟิศซินโดรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะค่อย ๆ สะสม เริ่มจากน้อยไปหามาก และใช้เวลาค่อนข้างนาน บางรายใช้เวลาสะสมเป็นสิบปี ผู้ป่วยแทบทุกรายมักไม่ใส่ใจกับอาการที่เป็นเริ่มแรกและปล่อยให้เป็นหนักลุกลามเรื้อรังจนทนไม่ได้ แล้วค่อยคิดหาวิธีรักษาอย่างจริงจัง เมื่อนั่งอยู่กับโต๊ะทำงาน เวลาที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ ส่วนใหญ่จะเกิดอาการเหล่านี้ (ฉัตริษา ศรีสานติวงศ์, 2553)
1. อาการปวดศีรษะเล็กน้อย ปวดต้นคอเรื่อยมาจนถึงไหล่
2. อาการปวดเมื่อยบริเวณหลังส่วนล่าง นั่นคือช่วงเอว บางรายจะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นเสียวแปลบ ๆ และร้าวลงขา มีอาการชาที่ปลายเท้าร่วมด้วย นั่นคืออาการของ “หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท” “กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท” “กระดูกสันหลังเสื่อม” “กระดูกสันหลังบิดเบี้ยว คด งอ” หรืออาจจะเป็นโรคอื่น ๆ ซึ่งล้วนแต่ร้ายแรงทั้งนั้น
3. อาการปวดตาเนื่องมาจากแสงของคอมพิวเตอร์และแสงภายในอาคาร บางรายเป็นโรคตาแห้งถาวร หินปูนบนเปลือกตา น้ำตาไหล ตาพร่ามัว
4. อาการปวดข้อมือเนื่องมาจากการใช้ เมาส์หรือการเขียนนาน ๆ
5. อาการปวดข้อนิ้วมือหรือนิ้วล็อค
6. อาการปวดบริเวณก้นและสะโพกเพราะนั่งนานเกินไป
7. อาการชาลงปลายนิ้วมือและเท้าแบบเป็น ๆ หาย ๆ
8. อาการปวดเข่า เสียวแปลบ ๆ ทุกครั้งเมื่อต้องนั่ง งอเข่า หรือเดิน
9. อาการขาและเท้าบวมเพราะการยืนหรือนั่งนาน
10. อาการปวดฝ่าเท้าเพราะต้องยืนหรือเดินนาน ๆ
การนำมารยาทในชีวิตประจำวันมาใช้กับโลกดิจิทัล
5. การช่วยเหลือกันในสังคม การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีน้ำใจช่วยเหลือกัน
4. มีมารยาทเป็นผู้ฟัง เมื่อมีการพูดคุยกัน ควรมีช่องว่างให้ผู้รับได้ตอบโต้พูดหรือส่งข้อความถึงผู้ส่งด้วย
3. มารยาทการรู้จักประมาณตน ควรใช้อย่างพอดีไม่มากเกินไปและใช้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ รู้จัก เหตุผล ไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องความสนใจมากเกินไป
2. เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น ไม่อาศัยแฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ อินสตราแกรม หรือโปรแกรมแชทต่าง ๆ
1. มารยาทการพูดคุยในโลกดิจิทัล
1.1 ใช้ข้อความภาษาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
1.2 ใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะบุคคลในแต่ละวัย
1.3 ใช้ข้อความที่กระชับ ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่าย เพื่อไม่ให้เสียเวลา
1.4 ใช้คำสุภาพ รู้จักคำกล่าวทักทาย ขอบคุณ ขอโทษ หรือคำกล่าวตอบรับหากได้รับข้อความแล้ว
นักเลงคีย์บอร์ด
วิธีจัดการกับนักเลงคีย์บอร์ด
1. อย่าโกรธตอบ เมื่อได้โต้ตอบสักพักแล้วรู้ตัวว่าคู่สนทนาคือนักเลงคีย์บอร์ด
2. ตอบโต้แต่ไม่หลงกล สำหรับคนที่ทนอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ สามารถเลือกจะโต้ตอบได้
3. เข้าใจเกรียน ไม่เดือดตาม พยายามมองอย่างเข้าใจด้วยวุฒิปัญญา
สาเหตุการเกิดนักเลงคีย์บอร์ด
1. สภาพแวดล้อมในโลกของเกมออนไลน์ ซึ่งสาเหตุเกิดจากการถูกกดดันจากผู้เล่นอื่น
2. การไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ในเว็บบอร์ดที่มีการพูดคุยกันถึงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
3. มาจากนิสัยส่วนตัวของนักเลงคีย์บอร์ด คนกลุ่มนี้จะมีความสนุกที่ได้เห็นผู้อื่นเดือดร้อน หากยิ่งยั่วยุให้ผู้อื่นโมโหได้จะยิ่งมีความสุข
ความหมายของนักเลงคีย์บอร์ด
นักเลงคีย์บอร์ด หมายความว่า บุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว คอยระราน และทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน โดยออกมาในรูปแบบการพิมพ์ ผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เช่น เกมออนไลน์ เฟซบุ๊ก หรือ ตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ เป็นต้น มักจะให้คำนิยามสั้น ๆ กับบุคคลประเภทนี้ว่า “เกรียน”
การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying)
การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์หรือการรังแกบนโลกไซเบอร์ หมายถึง การข่มขู่ คุกคาม ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยการใช้โทรศัพท์มือถือ หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในการรังแกกัน เช่น การส่งข้อความไปก่อกวนผู้อื่น การนำข้อมูลที่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียไปเผยแพร่ การนำข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับของผู้อื่นนำไปเปิดเผย โดยผู้กระทำมีเจตนาให้ผู้อื่นรู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจ ได้รับความเสียหาย เกิดความทุกข์ใจ อับอาย เสื่อมเสีย และขาดความน่าเชื่อถือ (ธันยากร ตุดเกื้อ , 2557) การรังแกรูปแบบนี้สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา
Subtopic
มารยาทเน็ต 10 ข้อ (Netiquette)
กฎข้อที่10 ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น
กฎข้อที่ 9 อย่าใช้อำนาจในทางไม่สร้างสรรค์
กฎข้อที่ 8 เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น
กฎข้อที่ 7 ช่วยกันควบคุมสงครามการใส่อารมณ์
กฎข้อที่ 6 แบ่งปันความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ
กฎข้อที่ 5 ทำให้ตัวเองดูดีเวลาออนไลน์
กฎข้อที่ 4 เคารพเวลาและการใช้แบนด์วิธ
กฎข้อที่ 3 รู้ว่าเราอยู่ที่ไหนในไซเบอร์สเปซ
กฎข้อที่ 2 การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง
กฎข้อที่ 1 ตระหนักว่ากำลังติดต่อกับบุคคลที่มีตัวตน
แนวปัฏิบัติเพื่อสุขภาพดีในสังคมดิจิทัล