によって PLOY JINDARUT 5年前.
1059
もっと見る
Pefch Jayにより
konkawat sanratにより
PLOY JINDARUTにより
สิรินภา ศุภศิริโชติ เลขที่ 18により
ทฤษฎีการมีกิจกรรมร่วมกัน (The Activity theory)
ยอมรับบาบาทหน้าที่ ของตัวเองที่เป็นอยู่
เป็นที่ปรึกษาให้ คนภายในครอบครัว
อารมณ์ดี
ยิ้มแย้ม แจ่มใส
ไม่มีความวิตกกังวล
ไม่มีความคิดที่หมกมุ่น เกี่ยวกับอดีต
มีความคิดที่สมกับวัย
เจ็บป่วยเล็กน้อยจะหายากินเอง
ไม่ค่อยออกกำลังกาย
ทานอาหารไม่ครบ 5 หมูบางมื้อ
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory) เกิดจากการที่กระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่ปกป้องและดูดซับแรงกระแทกภายในข้อเข่ามีการสึกหรอและเสื่อมสภาพลง หากกระดูกอ่อนนี้เสียหายเป็นพื้นที่กว้าง กระดูกในข้อเข่าจะเสียดสีกันเอง ทำให้เกิดการอักเสบและมีอาการปวด ผู้สูงอายุจึงมีอาการปวดข้อเข่า
ผู้สูงอายุไม่สุขสบาย เนื่องจากปวดข้อเข่า ข้อมูลสนับสนุน S -ผู้สูงอายุบอกว่า “ปวดหัวเข่า” -ผู้สูงอายุบอกว่า “เวลาเดินจะปวด” O -จากการตรวจประเมินข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม -จากการประเมินความปวดด้วย Pain score อยู่ที่ 4 คะแนน
เป้าหมาย -ผู้สูงอายุมีความสุขบาย เกณฑ์การประเมินผล -ผู้สูงอายุมีความปวดลดลง -คะแนนPain score ลดลงจากเดิม หรืออยู่ที่ 0 คือไม่ปวดเลย
กิจกรรมการพยาบาล -ประเมินความปวดด้วย Pain score เพื่อนำมาทำกิจกรรมทางกายพยาบาล -แนะนำผู้สูงอายุ เมื่อมีอาการปวดข้อเข่าให้ทายานวด เพื่อบรรเทาอาการปวดของข้อเข่า -แนะนำท่าให้ผู้สูงอายุ ลุง นั่ง เดินอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้การปวดข้อเข่าเป็นมากขึ้น -แนะนำท่าให้ผู้สูงอายุ ลุง นั่ง เดินอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้การปวดข้อเข่าเป็นมากขึ้น -แนะนำให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่า เพื่อไม่ให้เกิดการปวดข้อเพิ่มมากขึ้น -การปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถในชีวิตประจำวัน ลักษณะงานที่ทำ เพื่อลดการบาดเจ็บและแรงเค้นซ้ำๆ ต่อข้อเข่า -แนะนำให้ผู้สูงอายุไปพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดมากขึ้น เพื่อเข้ารับการรักษาอาการปวด
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากกระดูกผิวข้อมีการเสื่อมตามอายุ ข้อมูลสนับสนุน S -ผู้สูงอายุบอกว่าปวดข้อเข่า -เจ็บที่กระดูกข้อเข่า O -จากการตรวจประเมินข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม -จากการประเมินความปวดด้วย Pain score อยู่ที่ 4 คะแนน
เป้าหมาย -ผู้สูงอายุไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะข้อเข่าเสื่อม เกณฑ์การประเมินผล -การปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุลดลง -ข้อเข่ามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น -การประเมินความปวดด้วย Pain Score ลดลงจากเดิม หรือได้ 0 คือ ไม่ปวดเลย
กิจกรรมการพยาบาล -ประเมินการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุ เพื่อจะได้ให้การพยาบาลอย่างถูกวิธี -แนะนำผู้สูงอายุ เมื่อมีอาการปวดข้อเข่าให้ทายานวด เพื่อบรรเทาอาการปวดของข้อเข่า -แนะนำให้ผู้สูงอายุจำกัดการเดิน เพื่อลดอาการปวดของข้อเข่า -แนะนำท่าให้ผู้สูงอายุ ลุง นั่ง เดินอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้การปวดข้อเข่าเป็นมากขึ้น -การปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถในชีวิตประจำวัน ลักษณะงานที่ทำ เพื่อลดการบาดเจ็บและแรงเค้นซ้ำๆต่อข้อเข่า -แนะนำหลีกเลี่ยงการนั่งคุกเข่า การนั่ง ขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะการนั่งในท่าที่งอเข่ามากๆ จะทำให้เพิ่มแรงดันภายในข้อเข่า และกระดูกที่งอกจากโรคข้อเข่าเสื่อมจะกดทับเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเข่าจะทำ ให้มีอาการปวดมากขึ้น -แนะนำให้ผู้สูงอายุทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของข้อเข่าเพิ่มขึ้น -แนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์กระดูกเมื่อมีการปวดข้อมากขึ้น เพื่อรักษาข้อเข่าไม่ให้ดีขึ้น
ทฤษฎีการสะสม (Accumulative theory) เกิดจากการรับประทานอาหารจำพวกไขมัน(มันหมู) ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในรูปต่างๆ และไม่ได้มีการเผาผลาญไขมันจึงทำให้ผู้สูงอายุรายนี้มีรูปร่างที่อ้วน
ผู้สูงอายุมีภาวะอ้วน เนื่องจากค่า BMI เกิน ข้อมูลสนับสนุน S -ผู้สูงอายุบอกว่าอ้วน O -ผู้สูงอายุมีลักษณะรูปร่างอ้วน -ค่า BMI ของผู้สูงอายุเท่ากับ 25.56 แปลผล อยู่ในเกณฑ์อ้วน -ไม่ออกกำลังกาย
เป้าหมาย -ผู้สูงอายุไม่อยู่ในภาวะอ้วน เกณฑ์การประเมินผล -ค่า BMI ลดลงจากเดิม -ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (18.5-22.9 กก./ตร.เมตร) -ลักษณะรูปร่างผอมลงจากเดิม
กิจกรรมการพยาบาล -บอกให้ผู้สูงอายุทราบถึงโรคแทรกซ้อนที่จะตามมา เพื่อให้ผู้สูงอายุตะหนักถึงภาวะอ้วน -แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย เพื่อป้องกันอันตรายจากการออกกำลังกายไม่เหมาะสมกับวัย -แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันหรือจำกัดการบริโภคไขมัน เพื่อลดภาวะอ้วนในผู้สูงอายุ -แนะนำออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวและเพิ่มการทรงตัวของผู้สูงอายุทำให้ไม่ล้มง่าย -แนะนำออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อช่วยทำให้ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนจากการที่กระดูกถูกสลายได้น้อยลง
พูดเสียงปกติไม่ค่อยได้ยิน
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory) เนื่องจากประสาทรับเสียงในหูชั้นในเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น จึงทำให้ผู้สูงอายุรายนี้มีการได้ยินที่ไม่ค่อยชัดเจน
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากมี มีปัญหาด้านการได้ยิน ข้อมูลสนับสนุน S -ผู้สูงอายุบอกว่าพูดคุยกับคนอื่นไม่ ค่อยได้ยิน -ผู้สูงอายุบอกว่าพูดคุยกับคนอื่นไม่ ค่อยรู้เรื่อง O -พูดด้วยน้ำเสียงปกติ ได้ยินไม่ชัดเจน
เป้าหมาย -ผู้สูงอายุไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เกณฑ์การประเมินผล -ผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพการฟังที่ดีขึ้น -ได้ยินเสียงผู้อื่นมากขึ้น -พูดคุยกับคนอื่นได้ดีขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล -อธิบายเกี่ยวกับการได้ยินไม่ชัดเจนของผู้สูงอายุให้ครอบครัวและคนรอบข้างของตัวผู้สูงอายุได้เข้าใจ เพื่อให้ครอบครัวและคนรอบข้างจะได้เข้าใจตัวผู้สูงอายุมากขึ้น -แนะนำให้ใช้ความระมัดระวังเวลาอยู่นอกบ้าน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ -แนะนำเกี่ยวกับการใช้น้ำเสียงในการพูดคุยกับผู้สูงอายุ เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดกันเกิดขึ้นเนื่องจากการพูดเสียงดังจนเกินไป จนทำให้ผู้สูงอายุคิดว่าตะคอกใส่ -ประสานงานกับ อสม. หรือครอบครัวจัดหาเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการได้ยินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น -แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด ผลไม้ประเภทส้ม มะเขือเทศ และอาหารประเภทถั่ว เพื่อชะลอการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุได้ -แนะนำให้ควรออกกำ ลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเสริมระบบการไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูได้ดีขึ้น -ถ้าพบภาวะขี้หูอุดตันควรส่งต่อไปพบแพทย์หรือพยาบาลผู้ชำนาญการ ทั้งนี้แพทย์อาจให้สารที่ออกฤทธิ์ละลายขี้หู (cerumenolytics) เพื่อสามารถทำให้การได้ยินดีขึ้นและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น
ย่น
ขุย
กละ
แห้ง
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross-linking theory) เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอิลาสตินจะมีการเชื่อมตามขวางมากขึ้นทําให้สูญเสียความยืดหยุ่น มีลักษณะแข็งแตกและฉกขาดง่ายขึ้น ก่อให้เกิดผลต่อการซึมผ่านของสารที่เยื่อเอ็นจะแข็งและแห้งผิวหนังแหงเหี่ยว
ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดบาดแผล เนื่องจากผิวหนังแห้ง ข้อมูลสนับสนุน S -ผู้สูงอายุบอกว่าผิวแห้ง O –ทบสอบดู ผู้สูงอายุมีผิวแห้ง เป็นขุยๆเล็กน้อย
เป้าหมาย -ผู้สูงอายุไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิด บาดแผล เกณฑ์การประเมินผล -ความชุ่มชื้นของผิวหนังเพิ่มขึ้น -ผิวหนังไม่เป็นขุยๆ
กิจกรรมการพยาบาล -แนะนำให้ผู้สูงอายุใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำที่ไม่ทำลายผิว เพื่อป้องกันผิวหนัง -แนะนำให้ผู้สูงอายุทาออยด์หรือโลชั่นหลังจากอาบน้ำเสร็จ เพื่อให้ผิวชุ่มชื้น -แนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อทำให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้งกร้าน -แนะนำการดูแลผิวหนังและการบำรุงผิว เพื่อผิวหนังคงความสมบูรณ์และแข็งแรงมากขึ้น -การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการดูแลและบำรุงผิวหนัง ได้แก่ โลชั่นหรือครีม ใช้ทาบริเวณผิวหนัง โดยเป้าหมาย เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความแห้งของผิวหนังเนื่องจากสามารถเพิ่มปริมาณน้ำแก่ผิวหนังชั้น สตาตัมคอร์เนียม ทำให้ผิวหนังมีความเนียนนุ่ม ชุ่มชื้น เป็นการช่วยส่งเสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของ ผิวหนัง -แนะนำให้รับประทานอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ จำพวกปลา และปลา ทะเลน้ำลึก เพื่อ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ส่งเสริมการสร้างเซลล์ผิวใหม่ -แนะนำให้ทานผักผลไม้ มีวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินอี จะมีส่วนช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน เพื่อทำให้ผิวหนังมีความนุ่มเต่งตึง รวมถึงมีสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อช่วยในเรื่องการป้องกันการเสื่อมอายุของผิวหนัง ซ่อมแซมผิวหนังที่เสียไป และยังมีความสำคัญต่อกระบวนการเติบโตของผิวหนังให้มีการทำงานอย่างปกติ เพื่อช่วยให้ผิวหนังไม่แห้ง และยังสดใสเปล่งปลั่งอยู่เสมอ
4 แปลผล ค่าปกติในผู้สูงอายุไทย ไม่มีความเศร้า
6 แปลผล ไม่มาการของโรคซึมเศร้าหรือมีอาการของโรคซึมเศร้าระดับน้อยมาก
ผู้สูงอายุใช้เวลาในการเดินตั้งแต่ 30 วินาทีขึ้นไป ถือว่า มีความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม
-2.2 แปลผล มีความเสี่ยงปานกลาง
ปวดเข่า และ ตอบใช่ 1 ข้อ แปลผล มีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
12 แปลผล ภาวะโภชนาการปกติ
25.56 แปลผล อ้วน
ไม่มี delirium
19 แปลผล การรู้คิดปกติ
22 (ผู้สูงอายุเรียนระดับประถมศึกษา) แปลผล ไม่มีภาวะสมองเสื่อม
0 แปลผล ไม่มีภาวะการกลืนลำบาก
ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก
20 แปลผล ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1(กลุ่มติดสังคม) พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ชมชน และสังคมได้
มีการทรงตังที่ดี มีการใช้ไม้เท้าในการเดินบางครั้ง
การได้ยินไม่ปกติ มีอาการหูตึงเล็กน้อย เมื่อพูดคุยต้องพูดด้วยน้ำเสียงที่ดังกว่าปกติเล็กน้อย
ใช้แว่นสายตายาวในการช่วยมองเห็น สายตาไม่พร่ามัว