Categories: All - กฎหมาย - สินค้า - ภาษี

by Phatthapon Narksuwan 5 years ago

1139

บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การคำนวณภาษีนี้จะขึ้นอยู่กับฐานภาษีซึ่งสามารถแยกออกเป็นหลายกรณี เช่น การขายสินค้าทั่วไป การขายสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ การนำเข้าสินค้า และการนำเข้าและขายยาสูบ น้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่กำหนดกรณีพิเศษสำหรับการคำนวณภาษีในบางสถานการณ์ เช่น การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด การขายสินค้าที่เกิดจากสินค้าขาดจากรายงาน และการขายสินค้าที่ได้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ภายหลังการโอนกรรมสิทธิ์ สำหรับการคำนวณภาษีในกรณีที่ฐานภาษีเป็นเงินตราต่างประเทศ จะต้องแปลงค่าเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด ทั้งนี้ การคำนวณภาษีสำหรับการนำเข้าและขายยาสูบจะใช้เกณฑ์เดียวกับการนำเข้าสินค้าทั่วไปตามที่กฎหมายระบุ

บทที่ 5
ภาษีมูลค่าเพิ่ม

บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

Use this mind map structure to discover unseen connections, generate new ideas and reach a better understanding of any given subject.

ฐานภาษี

ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีตามอัตราอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้ 1. การขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไป 2. การขายสินค้าหรือการให้บริการเฉพาะอย่าง 3. การนำเข้าสินค้า 4. การนำเข้าและการขายยาสูบ นํ้ามันดิบและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน 5. กรณีอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้กรณีเป็นพิเศษ
5. กรณีอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้กรณีเป็นพิเศษ กฎหมายได้กำหนดการคำนวณฐานภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เป็นกรณีพิเศษ ดังนี้ 5.1 การคำนวณการขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไป ตามปกติการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการกรณีนี้ ให้ถือมูลค่าของฐานภาษีเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (1) การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนตํ่ากว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร (2) การขายสินค้าหรือการให้บริการในกรณีที่ผู้ประกอบการนำสินค้าไปใช้หรือได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น (3) การขายสินค้า ที่เกิดจากสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ มูลค่าของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดของสินค้าในวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น (4) การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าอันทำให้ผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (5) การขายสินค้าในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือมีทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิก 5.2) การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของฐานภาษีที่มีมูลค่าเป็นเงินตราต่างประเทศ (มาตรา 79/4) เมื่อมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าเป็นเงินตราต่างประเทศให้คำนวณเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินตราไทย
4. การนำเข้าและการขายยาสูบ นํ้ามันและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน 4.1) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและการขายยาสูบ (1) สำหรับการนำเข้ายาสูบ ฐานภาษีให้คำนวณเช่นเดียวกับการนำเข้าสินค้าทั่วไป ตามที่กล่าวใน 3.1) ของข้อ 3 (2) สำหรับการขายยาสูบในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบหรือบุหรี่ซิกาแรตที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 4.2) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและการขายนํ้ามันและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน (1) สำหรับการนำเข้านํ้ามันและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน ฐานภาษีให้คำนวณเช่นเดียวกับการนำเข้าสินค้าทั่วไป (2) สำหรับการขายนํ้ามันและผลิตภัณฑ์นํ้ามัน ฐานภาษีให้คำนวณเช่นเดียวกับการขายสินค้าและให้บริการทั่วไป
3. การนำเข้าสินค้า (มาตรา 79/2) ได้แก่ 3.1) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าทุกประเภท ได้แก่ มูลค่าของสินค้านำเข้าโดยใช้ราคา C.I.F ของสินค้า บวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน 3.2) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดศุลกากร) ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร อันทำให้ผู้มีหน้าที่รับผิดตามกฎหมายดังกล่าว หรือผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. การขายสินค้าหรือการให้บริการในกจิ การเฉพาะอย่าง ได้แก่ 2.1) ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ได้แก่ มูลค่าของสินค้าส่งออกโดยใช้ราคา F.O.B ของ สินค้าบวกด้วยภาษีสรรพสามิตและภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดพระราชกฤษฎีกา แต่ ทั้งนี้ไม่ให้รวมอากรขาออก 2.2) ฐานภาษีสำหรับการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ (1) ในกรณีรับขนคนโดยสาร ได้แก่ มูลค่าของค่าโดยสารธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนัน้
1. การขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไป ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการทั่วไป ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิต มูลค่าของฐานภาษีให้หมายความถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใดซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (มาตรา 79) มูลค่าของฐานภาษีไม่ให้รวมถึง 1) ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ลดให้ในทันทีขณะขายสินค้าหรือให้บริการ 2) ค่าชดเชยหรือเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติจากรัฐมนตรี ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศกำหนด 3) ภาษีขาย 4) การจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่ได้รับประโยชน์หรือค่าตอบแทน ที่ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ (1) มูลค่าของสินค้าที่แถมพร้อมกับการขายสินค้า (2) มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลที่ผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าแต่ละวัน โดยมีมูลค่ารวมกันตามที่กำหนด แต่ต้องไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือของการให้บริการ (3) มูลค่าของการให้บริการเนื่องจากการเป็นนายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ (4) มูลค่าของการขายสินค้าของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกแก่ผู้ซื้อสินค้าในราชอาณาจักร และมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าแล้ว (5) มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นของขวัญ เนื่องในพิธีหือตามโอกาสแห่ง ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ (6) มูลค่าของสินค้าตัวอย่างที่แจก เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (7) มูลค่าของอาหารและเครื่องดื่มที่นายจ้างจัดหาให้กับพนักงานหรือลูกจ้างในระหว่างเวลาปฏิบัติงานตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานหรือลูกจ้าง วต้องมีราคาไม่เกินสมควร (8) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ โดยสินค้าดังกล่าวผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายได้นำเข้าจากต่างประเทศและได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อยื่นใบขนสินค้าเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร (9) มูลค่าของเครื่องแบบที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนายจ้างได้มอบให้แก่ลูกจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อปี และเนื้อนอกจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี (10) มูลค่าของตอบแทนที่พึงได้รับจากการมอบสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทดลองใช้งานก่อนซื้อและเมื่อลูกค้าพอใจในสินค้าดังกล่าว ผู้ขายจะส่งมอบสินค้าตัวใหม่ไปให้ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข(คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.48/2537) ดังนี้ (ก) สินค้าที่มอบให้ลูกค้าทดลองใช้ก่อนซื้อนั้นจะต้องเป็นสินค้าที่ผู้ขายมีไว้สำหรับให้ทดลองใช้โดยเฉพาะเท่านั้น

อัตราภาษี

In the conclusion you should have a brief summary of your key points.

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้เป็นอัตราคงที่ที่รวมภาษีท้องถิ่นไว้ด้วยร้อยละ 10 อัตราภาษีที่จัดเก็บให้จัดเก็บตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร
2. อัตราร้อยละ 0 ใช้สำหรับประกอบกิจการ 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

ยว 2.6) การขายสินค้าหรือการให้บริการของคลังสินค้าทัณฑ์บนและของผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่าง (1) คลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือ (2) คลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (3) ผู้ประกอบการรับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ไม่ว่าจะอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเดียวกันหรือไม่

2.5) การขายสินค้าหรือให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ สถานทูต สถานกงศุล การขายสินค้าหรือให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล สถาน กงสุลใหญ่ สถานกงสุล ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

2.4) การขายสินค้าหรือการให้บริการกับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ การขายสินค้าหรือการให้บริการ ให้กับส่วนราชการตามโครงการเงินกู้ฯ ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2535 ซึ่งสาระสำคัญก็คือ ส่วนราชการจะต้องออกหนังสือรับรองการชำระราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการทุกครั้งซึ่งจะเป็นหลักฐานในการได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

2.3) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ไม่ว่าผู้ประกอบการนั้นจะเป็นนิติบุคคลไทยหรือนิติบุคคลต่างประเทศ

2.2) การขายสินค้าในราชอาณาจักรและใช้บริการนั้นในต่างประเทศ การให้บริการในกรณีนี้เป็นลักษณะของการส่งออกบริการซึ่งมีดังนี้ ได้รับสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 (1) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้ส่งผลของการให้บริการนั้นไปใช้ในต่างประเทศทั้งหมดจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เช่น บริษัทไทยให้บริษัทต่างประเทศใช้ลิขสิทธิ์และได้รับค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น (2) การให้บริการต่อเรือเดินทะเล การให้บริการซ่อมแซมอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำในราชอาณาจักรโดยผู้รับบริการต้องเป็นผู้ประกอบกิจการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ทั้งนี้ไม่ว่าผู้รับบริการดังกล่าวจะเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศก็ตาม (3) การให้บริการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายการประกันวินาศภัยโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศหรือสินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร (4) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อส่งออกและการให้บริการที่กระทำในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียน

2.1) การส่งออก การส่งออกสินค้าอาจแยกลักษณะการส่งออกได้เป็น 3 กรณี คือ (1) การส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร (2) การนำสินค้าเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก การนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าในเขตอุตสาหกรรมส่งออกเฉพาะสินค้าที่ต้องเสียอากรขาออกหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ถือเป็นการส่งออกซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 (3) การขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากร

1. อัตราทั่วไป มาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มของราชการบริหารท้องถิ่นร้อยละ 1) แต่มีพระราชกฤษฎีกาให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 6.3 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 และเมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่นร้อยละ 0.7 จะเท่ากับ ร้อยละ 7

ความรับผิดในการเสียภาษี

ผู้ประกอบการจะมีสิทธิหน้าที่ คือ 1. เรียกเก็บภาษีขายจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ คำนวณโดย - คำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79/3 - คูณด้วยอัตราภาษีตามมาตรา 80 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 353) 2. ออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86 3. นำยอดขายไปลงในรายงานภาษีขายภายใน 3 วันตามมาตรา 87 4. นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขาย – ภาษีซื้อในแต่ละเดือน ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30
หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมายว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้นแล้ว และเป็นจุดที่ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างของผู้ประกอบการจดทะเบียน เช่น มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ แยกพิจารณาตามลักษณะของการประกอบกิจการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้ 1. การขายสินค้า 2. การให้บริการ 3. การนำเข้า 4. การขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณี
3. การนำเข้า - การนำเข้าสินค้าทุกกรณี - การขายของตกค้าง (โดยกรมศุลกากร) - กรณีผิดเงื่อนไขเกี่ยวกับสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - เมื่อผ่านพิธีการทางศุลกากร - เมื่อได้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่น - เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
2. การให้บริการ - การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน - การให้บริการโดยไม่มีสิ่งตอบแทน - การให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและใช้บริการนั้นในไทย - การให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ - การรับชำระค่าบริการด้วยบัตรเครดิต - กรณีรับโอนสิทธิ์ในบริการที่เสียภาษี VAT 0% ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - เมื่อรับชำระราคาเว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อนรับชำระราคา - เมื่อมีการใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือคนอื่น - เมื่อชำระราคาค่าบริการ (นำส่ง VAT 7% โดยยื่น ภ.พ.36) - เมื่อนำเงินออกจากเครื่อง (กรณีการ์ดโฟนถือว่าชำระราคาก่อนให้บริการ) - เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต - เมื่อชำระราคาค่าบริการ
1. การขายสินค้า - ขายเสร็จเด็ดขาด, สัญญาจะขาย - เช่าซื้อ/ขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ - การฝากขายที่เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 8) - การส่งออก - การขายกระแสไฟฟ้า นํ้าประปา หรือสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง - การขายสินค้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ - กรณีจำหน่าย จ่าย โอนสินค้าโดยไม่มีค่าตอบแทน - กรณีนำสินค้าไปใช้ในกิจการอื่น - สินค้าขาดจากรายงาน - กรณีมีสินค้าหรือทรัพย์สินในวันเลิกกิจการ - กรณีรับโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่เคยเสีย VAT 0% ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม - เมื่อมีการส่งมอบสินค้าเว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์/ รับชำระราคา/ ออก ใบกำกับภาษีก่อนการส่งมอบ - ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่มีการชำระราคา/ ออกใบกำกับภาษีก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด - เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า เว้นแต่ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์/ รับชำระราคา/ ออกใบกำกับภาษี/ ตัวแทนนำสินค้าไปใช้ - เมื่อมีการผ่านพิธีการทางศุลกากร - เมื่อรับชำระราคา เว้นแต่มีการออกใบกำกับภาษีก่อน - เมื่อนำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ - เมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่มีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่งมอบสินค้า - เมื่อนำไปใช้ - เมื่อตรวจพบ - เมื่อเลิกกิจการ - เมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า

ใบกำกับภาษี

กิจการที่ได้รับการผ่อนปรนไม่ต้องออกใบกำกับภาษี
กิจการรายย่อยที่ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี ได้แก่ 1. การประกอบกิจการแผงลอย 2. การขายสินค้าซึ่งผู้ขายเป็นผู้ผลิตหรือมิใช่ผู้ผลิต 3. การขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใดๆ และรวมทั้งการรับจ้างปรุงอาหารทั้งใน หรือจากสถานที่ที่ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้ 4. การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้า หรือสิ่งอื่นๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ 5. การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกายที่มิใช่ศัลยกรรมตกแต่ง 6. การรับถ่าย ล้าง หรืออัดขยายรูปหรือเอกสาร 7. การซัก อบ รีด ย้อมสี ทำความสะอาดผ้าทุกชนิด เครื่องแต่งกาย พรม และอื่นๆ 8. การเคาะ พ่นสี ซ่อมแซมยานพาหนะทางบกทุกชนิด 9. การตัด กลึง เชื่อม ชุบ พอก อัด เคลือบ ตกแต่ง หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบโลหะ ไม้ กระจก พลาสติก หรือเครื่องหนัง รวมถึงการติดตั้งหรือขายส่วนประกอบ 10. การรับทำป้ายทุกชนิด 11. การซ่อมแซมเครื่องไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ ของใช้หรือของอื่นๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ
ประเภทของใบกำกับภาษี
4. เอกสารอื่นที่ถือเป็นใบกำกับภาษี
3. ใบกำกับภาษีที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้มีรายการเป็นอย่างอื่น
2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
กรณีที่ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษี
ที่เป็นการกระทำ ดังนี้ 1. กรณีที่ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) ได้แก่ - นำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ - มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ - มีสินค้าคงเหลือ ทรัพย์สิน ณ วันเลิกประกอบกิจการ - กรณีมีสินค้าคงเหลือทรัพย์สิน ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียน หรือ ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. กรณีที่ถือเป็นการให้บริการกรณีการใช้บริการของตนเอง การนำบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเติมไปใช้ในกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ประกอบการเอง 3. ผู้ประกอบการจดทะเบียนจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า โดยไม่มีค่าตอบแทน 4. ผู้ประกอบการจดทะเบียนให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้รับบริการ 5. ผู้ประกอบการซึ่งไม่ต้องนำค่าตอบแทนที่มีลักษณะและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี
1. ผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. ผู้ประกอบการจดทะเบียน แต่ไม่ได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการ 3. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ให้ตัวแทนของตนออกใบกำกับภาษีแทนตามมาตรา 86/2 4. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ทรัพย์สินถูกนำขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นตามมาตรา 83/5
ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
7. ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ได้แจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
6. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพ
5. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว
4. ตัวแทนในราชอาณาจักร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร ตัวแทน จะออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้ต่อเมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนนอกราชอาณาจักร ได้ยื่นคำขออนุมัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
3. ตัวแทนในราชอาณาจักร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนในราชอาณาจักร โดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว
2. ผู้ขายทอดตลาดที่มิใช่ส่วนราชการ ซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยให้ผู้ขายทอดตลาดออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน
1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือร้อยละ 7
คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ เนื่องจากเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีขายและภาษีซื้อในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำทันทีที่เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(Tax Point) พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแบ่งออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา ดังนี้
2. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องคำนวณหาจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระหรือขอคืนเป็นรายเดือนตามปีปฏิทิน โดยคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระได้
1. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเรียกเก็บ (ภาษีขาย) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งต้องพิจารณาทั้งจุดความรับผิดในการเสียภาษีและฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการคำนวณเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแยกออกเป็น 2 วิธี

ความผิดทางภาษี

ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จะต้องรับผิดทางภาษีตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย
2. ความผิดทางอาญา การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มในประมวลรัษฎากรบุคคลผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องรับผิดทางอาญาดังนี้ ความผิดเกี่ยวกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1) โทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการย้ายสถานประกอบการ (4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการหยุดประกอบกิจชั่วคราว (5) ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2) โทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ตัวแทนละเลยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมหรือปิดสถานประกอบการ (4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการโอนกิจการบางส่วนหรือการรับโอนกิจการทั้งหมด (5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเลิกกิจการหรือการโอนกิจการทั้งหมด
1. ความผิดทางแพ่ง ได้แก่ เบี้ยปรับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือมิใช้ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีจะต้องเสียเบี้ยปรับเมื่อกระทำความผิดในกรณีดังต่อไปนี้ แต่เบี้ยปรับอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี เงินเพิ่ม บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ จะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเดือนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ

เครดิตภาษีและการขอคืนภาษี

ผู้ประกอบการจดทะเบียนหากคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วปรากฏว่า ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายส่วนต่างดังกล่าวให้ถือเป็นเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ และมีสิทธิได้รับคืนภาษีหรือเครดิตภาษีไปชำระภาษี มูลค่าเพิ่มได้ตามเงื่อนไขตามมาตรา 84
การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ 1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษี (กรณีที่ไม่ประสงค์ที่จะยกไปชำระภาษีของเดือนถัดไป) (ขอคืนในแบบ ภ.พ. 30) 2. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เกิน ผิดหรือซํ้า (ใช้แบบ ค.10) 3. ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีซึ่งนำส่งภาษีไว้เกิน ผิด หรือซํ้า (ใช้แบบ ค.10) 4. ผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีแต่ได้ชำระภาษีไว้ (ใช้แบบ ค.10) เงื่อนไขการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีดังนี้ 1. การขายสินค้าหรือให้บริการในกรณีที่มีภาษีต้องขอคืน แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ขอคืน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษี (แบบ ค.10) ภายใน 3 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น 2. การขายสินค้าหรือการให้บริการกรณีอื่นให้ยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ได้ชำระภาษี (มาตรา 84/1)
การนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เครดิตภาษีที่เหลืออยู่จากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย) ผู้ประกอบการมีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนถัดไปได้ โดยจะต้องพันยอดยกไปทุกเดือน จะยกเครดิตภาษีไปชำระในเดือนภาษีอื่นไม่ได้ กรณีที่ไม่ได้นำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนถัดไป ก็ให้ขอคืนเป็นเงินสด (ใช้แบบ ภ.พ. 30 เป็นแบบคำร้องขอคืน)

การยื่นแบบแสดงรายการ และการชำระภาษี

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 3 ผู้นำเข้า ผู้นำเข้า ได้แก่ ผู้ซึ่งนำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศทั้งนี้ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือบุคคลใดก็ตาม แบบแสดงรายการที่ใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ได้แก่ แบบใบขนสินค้าขาเข้า ใช้สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นผู้นำเข้าไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม ผู้นำเข้าต้องชำระภาษีพร้อมกับการชำระอาการขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
กลุ่มที่ 2 ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ 1. ผู้จ่ายเงินที่จ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ได้แก่ (1) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ (2) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 (ปัจจุบันอัตราภาษี มูลค่าเพิ่มลดลงเหลืออัตราร้อยละ 7 ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 477 พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553) หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 โดยคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี

ภาษีซื้อต้องห้าม

ภาษีซื้อที่ต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
14. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งรายการในใบกำกับภาษีได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตาม หลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
13. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบที่รายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) เว้นแต่ใบกำกับภาษีที่เป็น “เอกสารออกเป็นชุด”
12. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการสถานบริการนํ้ามัน ในกรณีซื้อนํ้ามันเชื้อเพลิง หรือสินค้า หรือบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์
11. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ ซึ่งสถานประกอบการสาได้นำมาออกและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ โดยไม่มีข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกำกับภาษีคือ...”
10. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
9. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่รายการข้อความ หรือคำว่า “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ประกอบการทะเบียน” ตามมาตรา 86/4(2) มิได้ตีพิมพ์ขึ้นหรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
8. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่รายการคำว่า “ใบกำกับภาษี” ตามมาตรา 86/4(1) มิได้ตีพิมพ์ขึ้นหรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
7. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น
6. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ
5. ภาษีซื้อที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
2. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ ที่มิใช่รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน 10 คน
1. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ (ภาษีซื้อ) มาหักภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บ (ภาษีขาย) เพื่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนนั้นได้ต่อเมื่อภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ประมวลรัษฎากรกำหนดเท่านั้น ภาษีซื้อที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไม่สามารถนำไปหักจากภาษีขายได้ ซึ่งเรียกว่า “ภาษีซื้อต้องห้าม” ได้แก่
6. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
5. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
4. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน
3. กรณีมีใบกำกับภาษี แต่ใบกำกับภาษีดังกล่าวมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/4
2. กรณีมีใบกำกับภาษี แต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ
1. กรณีไม่มีใบกำกับภาษี

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการในกลุ่มที่ 1 ที่มีความประสงค์ใช้สิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้มีขายสินค้าหรือให้บริการราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเรียกว่า “ผู้ประกอบการจดทะเบียน”
การเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ย้าย หรือโอนกิจการ ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังกล่าวก่อนวันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 15 วัน การเปลี่ยนแปลงรายการที่ประกอบกิจการ การปิดกิจการ การเลิกกิจการต้องแจ้งต่อนายทะเบียนฯ ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ โดยใช้แบบ ภ.พ. 09 เป็นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบทะเบียน ภ.พ.20 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป และผู้ประกอบการจดทะเบียน จะต้องแสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ณ ที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่ายในสถานประกอบการเป็นรายสถานประกอบการ
สถานที่จดทะเบียน การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมกับแนบเอกสารดังกล่าวข้างต้น ณ สถานที่ดังต่อไปนี้ 1. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตพื้นที่ที่ สถานประกอบการตั้งอยู่ 2. กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ 3. กรณีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว
แบบคำขอจดทะเบียนและเอกสารหลักฐาน การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ใช้แบบ ภ.พ.01 ที่กรมสรรพากรจัดพิมพ์ขึ้นเป็นแบบคำขอจดทะเบียนซึ่งขอรับได้จากสำนักงานสรรพากรที่รับจดทะเบียนทุกแห่ง โดยให้ยื่นพร้อมกัน 3 ฉบับ แสดงรายการให้ถูกต้องตรงกัน ในการกรอกรายการในแบบ ภ.พ. 01 เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นผู้ประกอบการต้องแสดงสถานภาพต่างๆของการประกอบการให้ครอบถ้วนดังมีสาระสำคัญ ได้แก่ ชื่อผู้ประกอบการ ที่อยู่สถานที่ตั้งสถานประกอบการ พร้อมทั้งลงชื่อและประทับตรานิติบุคคล(ถ้ามี) ในแบบ ภ.พ. 01 ด้วย พร้อมกับแนบเอกสาร
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน 1. สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 2. สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการขายหนังสือ ขายปุ๋ย ขายปลาป่น อาหารสัตว์ เป็นต้น ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน 3. ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการได้ในเมื่อ (1) ผู้ประกอบการดังกล่าวมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและ (2) มีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร
ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน1.8 ล้านบาทต่อปี 2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย 3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร 4. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร 5. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว

การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับข้อกำหนดตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ไม่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี เป็นต้น การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 2 กิจการที่ได้รับการยกเว้นและไม่สามารถขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 1. การนำเข้าสินค้าของกลุ่มที่ 1 ข้อ 2-7 2. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน 3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางนํ้าหรือทางอากาศ 4. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล 5. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน 6. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ 7. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น 8. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ 9. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ 10. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี 11. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด 12. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน 13. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ 14. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น 15. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย 16. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น 17. การบริจาคสินค้าให้แก่สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือให้แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล 18. การขายบุหรี่ซิกาแรต ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งผู้ขายเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง 19. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบำรุงสภากาชาดไทย 20. การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล 21. การให้บริการสีข้าว
กลุ่มที่ 1 กิจการที่ได้รับการยกเว้นแต่สามารถขอเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ 3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา 4. การขายปุ๋ย 5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์ 6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์ 7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน จากคำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 32/2538 ให้การขายเทปประกอบการกับตำราเรียน ถือเป็นการขายตำราเรียนที่ได้รับการยกเว้น ให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันแจ้งต่ออธิบดี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่า

The key points are the arguments which will support your thesis. These can be agreeing arguments or disagreeing arguments too, in each case they need to reflect on the main idea.

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ บุคคล ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ประกอบการ 2. ผู้นำเข้า 3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/1
3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย (มาตรา 82/1)

3.7) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรให้ผู้ประกอบการดังกล่าวมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

3.6) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

3.5) ผู้โอนและผู้รับโอน ในกรณีโอนกิจการ

3.4) ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่ ในกรณีที่มีการควบเข้ากัน

3.3) ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร หรือผู้รับโอนสินค้า ถ้ามีการโอนสินค้าในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

3.2) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการ ในกรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ให้กับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการนั้นไปให้กับบุคคลอื่น

3.1) ตัวแทน ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร

2. ผู้นำเข้า

ผู้นำเข้า (มาตรา 82(2)) ได้แก่ ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือเป็นบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า “นำเข้า” หมายความว่า นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรและให้หมายความรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยมิใช่เพื่อการส่งออกด้วย

1. ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการจะมีองค์ประกอบ ดังนี้

1.3) ประกอบกิจการในราชอาณาจักร ได้แก่ - การขายสินค้าที่จะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักรเท่านั้น - การให้บริการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การให้บริการใน ราชอาณาจักรเท่านั้น หากเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การรับเหมาก่อสร้างในต่างประเทศ (ก) การให้บริการที่ทำในราชอาณาจักร โดยไม่คำนึงถึงว่าการใช้บริการนั้นจะอยู่ในต่างประเทศหรือในราชอาณาจักร (ข) การให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร โดยไม่คำนึงว่าการใช้บริการนั้นจะอยู่ในต่างประเทศหรือในราชอาณาจักร

1.2) กิจการที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ กิจการที่ขายสินค้า หรือการให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพไม่ว่าจะได้รับประโยชน์หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม นอกจากนั้นคำว่า “ขาย” ตามมาตรา 77/1(8) ยังหมายความรวมถึง (ก) การให้เช่าซื้อสินค้า (ข) การส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย (ค) การส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร ทั้งกรณีส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ และส่งสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร (ง) การนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ เว้นแต่การนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด (จ) มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (ฉ) มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบการ * การให้บริการ หมายถึง การให้ “บริการ” หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งไม่ใช่การขายสินค้า เช่น การรับจ้างทำของ การรับฝากทรัพย์ การรับซ่อมรถ การให้เช่าทรัพย์สิน การให้บริการรักษาความปลอดภัย กรณีที่กฎหมายไม่ถือว่าการกระทำในบางกรณีเป็น “บริการ” ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีบัญญัติไว้ตามมาตรา 77/1(10)(ก)(ข) และ (ค)

1.1) บุคคล ตามมาตรา 77/1 (1) หมายถึง - บุคคลธรรมดา หมายความรวมถึง กองมรดก - คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล -นิติบุคคล

นิยามภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อมที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน

In the introduction you should state the ideas what you want to defend along the essay.