类别 全部 - การเรียนรู้ - การเข้าถึง - นวัตกรรม

作者:Palawat Keawkung 4 年以前

198

.......สังคมความรู้....... (Knowledge Society)

สังคมความรู้หมายถึงสังคมที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและความรู้ได้อย่างกว้างขวาง โดยมีการใช้ทักษะและความรู้ในระดับสูงในการดำเนินชีวิตและทำงาน สังคมความรู้แบ่งออกเป็นสองยุค ยุคแรกเน้นการผลิตและการแข่งขัน โดยนักวิชาการและนักวิชาชีพมีบทบาทหลักในการจัดการความรู้ มีการเข้าถึง ตรวจสอบ และกระจายความรู้ เพื่อให้เกิดการใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนยุคที่สองเน้นการพอเพียงและสมดุล โดยทุกภาคส่วนในสังคมมีบทบาทร่วมกันในการใช้และเป็นเจ้าของความรู้ นักวิชาการมีบทบาทเป็นผู้เชื่อมโยงความรู้ ทำให้เกิดการวิจัยแบบบูรณาการ สังคมแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญหลายประการ เช่น การมีภาคีเครือข่ายที่ร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนา การพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้ ความรับผิดชอบของบุคคลและชุมชนร่วมกัน สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม และมีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลางในการจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน

.......สังคมความรู้.......
(Knowledge Society)

.......สังคมความรู้....... (Knowledge Society)

4. ความรู้ (Knowledge)

4.2 ความหมายของความรู้(Definition of Knowledge)ความรู้ หมายถึง ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่ง บางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ โดยอาศัย กระบวนการที่แปรผลมาจากข้อมูล สารสนเทศ การศึกษา ประสบการณ์ต่างๆ ที่สะสมในอดีต และสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไม่จำกัดในอนาคต
4.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ “ความรู้” ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันจนในบางครั้งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งคำทั้ง 3 คำมีนักวิชาการหลายๆ ท่านได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศและความรู้
4.1.2 ความหมายของสารสนเทศ (Information) สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้ต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้วและสามารถนนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยสารสนเทศนั้นบันทึกไว้ในรูปแบบของวัสดุตีพิมพ์
4.1.1 ความหมายของข้อมูล (Data) ข้อมูล คือ กลุ่มของสัญลักษณ์ ข้อเท็จจริง ตัวเลข ข้อความ ภาพ และเสียงที่ยังไม่ผ่านกระบวนการประมวลผล วิเคราะห์หรือสังเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

1. นิยามหรือความหมายของสังคมความรู้ (Definition of Knowledge Society)

สังคมที่มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศสูง จากความรู้ที่มีบุคลากรทางานโดยใช้ทักษะและความรู้สูง

5. กระบวนการจัดการความรู้ (Processes of Knowledge)

7.การเรียนรู้
6.การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
5.การเข้าถึงความรู้
4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
2.การสร้างและแสวงหาความรู้
1.การบ่งชี้ความรู้

3. ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้

3.11 ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน
3.10 ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน
3.9 สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้
3.8 การริเริ่ม/การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา
3.7มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
3.6 มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
3.5 มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกันจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน
3.4 สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ดำเนินการ (Key Institutions)
3.3 ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)
3.2 เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
3.1 ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง

2. ยุคของสังคมความรู้(Knowledge Society Era)

2.2 สังคมความรู้ยุคที่ 2 เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุก ภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ใช้ความรู้ให้เป็นพลัง มีความเป็นอิสระ และ พึ่งตนเอง นักวิชาการ นักวิชาชีพมีบทบาทเป็น Knowledge Broker ทำให้เกิดเป็นวิจัยแบบบูรณาการที่ผลงานวิจัยย่อย ๆ หลาย ๆงานวิจัยรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาวิจัยย่อยและปัญหาใหญ่แบบครบวงจรวัฎจักรของความรู้ในสังคม
4) มีการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม
3) มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม
2) มีการถ่ายโอนความรู้ภายสังคม
1) มีการสะสมความรู้ภายในสังคม
2.1 สังคมความรู้ยุคที่ 1 เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอำนาจอยู่ด้วยกัน เกิดการผลิต มี ความสามารถในการแข่งขัน กลไกตลาด และความอยู่รอด ในยุคนี้นักวิชาการหรือนักวิชาชีพ จะมี บทบาทหลักในการจัดการความรู้ ใช้พลังของความรู้ มีความเป็นมืออาชีพการจัดการความรู้ หรือการ พัฒนาความรู้ (Knowledge Management) เป็นอย่างมาก
5) Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้
4) Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ให้ง่ายที่จะใช้
3) Knowledge Valuation คือ การตีค่า การตีความรู้ ว่าเมื่อมีการใช้ความรู้นั้นแล้วมี ความคุ้มค่าหรือไม
2) Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้
1) Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ