作者:Cop ChidChanok 7 年以前
319
The Learning in 21st Century Education
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เน้นการพัฒนาเด็ก Gen Z ที่มีความต้องการในการดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้ตรงตามความพอใจและมีอิสระในการเลือกสิ่งที่ตนเองชอบ นอกจากนี้ยังต้องการความรวดเร็วในการสื่อสารและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นวัตกรรมและการสื่อสารจากสิ่งรอบตัวก็เป็นส่วนสำคัญที่เด็ก Gen Z ต้องการ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรคำนึงถึงแรงบันดาลใจภายใน, การเรียนรู้ทางสังคม, การเรียนรู้ที่แท้จริง, ความหลากหลายของสติปัญญา และการสร้างแบบจำลองทางจิต ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีทักษะที่หลากหลาย เช่น ทักษะสาระวิชาหลัก, ทักษะชีวิตและอาชีพ รวมถึงทักษะ 3R*
The Learning in 21st Century Education
ทักษะที่ครูควรมีสำหรับการสอนในศตวรรษที่ 21
3R*7C
7C ได้แก่
- Critical thinking & problem solving
ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
- Creativity & innovation
ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
- Cross-cultural understanding
ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
- Collaboration, teamwork & leadership
ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
- Communications, information & media literacy
ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
- Computing & ICT literacy
ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- Career & learning skills
ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้
3R - Reading อ่านออก
- (W)Riting เขียนได้
- (A)Rithmetics คิดเลขเป็น
ทักษะชีวิตและอาชีพ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
ทักษะสาระวิชาหลัก
ปัจจัยในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Social Learning
สามารถออกแบบกระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิดนิสัยรักการเรียน
Multiple Intelligence
การจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
Internal Motivation
ทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยง โดยใช้ฉันทะจาดอิทธิบาท4 เป็นแรงบันดาลใจ และทำให้เกิดอิทธิบาท4 ข้ออื่นๆตามมา
Mental Model Building
เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสมจนเกิดเป็นค่านิยมหรือค่านิยม แต่ทักษะนี้ จำต้องมีความสามารถรับรู้ข้อมูลหลักฐานใหม่และนำมาสังเคราะห์เป็นความรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้
Authentic learning
ให้ผู้เรียน เรียนรู้จากชีวิตจริงหรือใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด
ความเข้าใจบทบาทของการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑
เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า
เพื่อทำหน้าที่พลเมือง
เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน
ทำงานและเพื่อสังคม
การพัฒนาสมองห้าด้าน
สมองด้านจริยธรรม (ethical mind) ทักษะเชิงนามธรรม เรียนรู้ซึมซับได้โดยการชวนกันสมมติและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันว่าตัวเองเป็นอย่างไรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) คุณสมบัติด้านเคารพให้เกียรติผู้อื่นมีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คนเคลื่อนไหวเดินทางและสื่อสารได้ง่าย
สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind) คือ คุณสมบัติสำคัญที่สุดของสมองสร้างสรรค์คือ คิดนอกกรอบ แต่คนเราจะคิดนอกกรอบเก่งได้ต้องเก่งความรู้ในกรอบเสียก่อน ศัตรูสำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์ คือ การเรียนแบบท่องจำ
สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) คือ ความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมากลั่นกรองคัดเลือกเอามาเฉพาะส่วนที่สำคัญ
สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) คือ เป็นคนมีระเบียบวินัยบังคับตัวเองให้เรียนรู้เพื่ออยู่ในพรมแดนความรู้
ลักษณะเด็ก Gen z
สร้างนวัตกรรมสื่อสารจากสิ่งรอบตัว
ต้องการความรวดเร็วในการสื่อสาร
การร่วมมือและความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน
เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
ต้องการที่ดัดแปลงสิ่งต่างๆให้ตรงตามความพอใจ
มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนเองพอใจ