Products
Mind Mapping Software
Outlining Software
甘特图软件
Uses
Mind Maps for Education
企业思维导图
用于个人发展的思维导图
思维导图的好处
資源
特点
教育
个人和工作
台式电脑
Video Tutorials
Watch tips and tricks about using Mindomo.
Help Center
Detailed help guide on configuring and using Mindomo.
文章
Top 29 Mind Map Examples
Gantt Chart Software
Concept Map Template
Free mind map software
What is a concept map?
Gantt Chart Maker
Mind Map App
Concept Map Maker
Mind map template
定价
登入
注册
Products
Mind Mapping Software
Outlining Software
甘特图软件
Uses
Mind Maps for Education
企业思维导图
用于个人发展的思维导图
思维导图的好处
資源
部落格
Video Tutorials
Help Center
甚麼是思維導圖?
在线创建思维导图
概念图制作者
文章
Top 29 Mind Map Examples
Gantt Chart Software
Concept Map Template
Free mind map software
What is a concept map?
Gantt Chart Maker
Mind Map App
Concept Map Maker
Mind map template
特点
教育
个人和工作
台式电脑
定价
注册
登入
类别
全部
-
สินค้า
-
ภาษี
-
บริการ
作者:
ณัฐณิชา วัชระสวัสดิ์
3 年以前
257
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือเรียกย่อๆ ว่า แวต(VAT) คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิต�
ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือแวต (VAT) เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น มีสองอัตราคือร้อยละ 0 และร้อยละ 7 อัตราร้อยละ 0 จะใช้กับการส่งออกสินค้าตามกฎหมาย การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย การขายสินค้าหรือการให้บริการให้กับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ การขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก ส่วนอัตราร้อยละ 7 จะใช้กับการขายสินค้าหรือบริการทุกประเภทที่ไม่อยู่ในข่ายยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ยังมีใบกำกับภาษีสองประเภทคือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปและใบกำกับภาษีอย่างย่อย ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กรมสรรพากรกำหนด ส่วนใบกำกับภาษีอย่างย่อยจะออกโดยผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าในลักษณะขายปลีกให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก
開啟
更多类似内容
เทคนิคที่ควรรู้ในการสืบค้นสารานเทศ
由วัชระ ประภารัตน์
supermagnet Camp#1
由Panyapiwat Chantharat
บทที่ 4 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
由Nattakan Tolang
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย
由Nattakan Tolang
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือเรียกย่อๆ ว่า แวต(VAT) คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.ร้อยละ 0 เป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือบริการสำหรับการประกอบการดังต่อไปนี้ 2.1 การส่งออกสินค้าตามมาตรา 81 (3) และตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.33/2536 ลงวันที่ 24 มิถุยน 2536 2.2 การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำ โดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 2.3 การขายสินค้าหรือการให้บริการส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 2.4 การขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ตามที่อธิบดีกำหนด 2.5 การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนด้วยกันหรือระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก รวมทั้งการขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์กับผู้ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
1.ร้อยละ 7 เป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือบริการทุกประเภท รวมทั้งการนำเข้า ซึ่งไม่อยู่ในข่ายยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฏากร อัตรานี้ได้รวมภาษีท้องถิ่นแล้ว(อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับประเทศไทยเดิมใช้อัตราร้อยละ 10 ปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ 7 เป็นการชั่วคราว
หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่ 2.1 รายงานภาษีซื้อ 2.2 รายงานภาษีขาย 2.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ 3.ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ผู้ประกอบที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี 2.ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย 3.ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร 4.ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว
2.ภาษีขาย (Output Tax) คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายวัตถุดิบ/สินค้าและบริการต่างๆ ของกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ให้คำนวณภาษีซื้อและภาษีขายประจำเดือน โดยดูจากบัญชีภาษีซื้อและภาษีขายหรือจากรายงานภาษีซื้อและภาษีขายและหาผลต่าง 2.กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ให้คำนวณภาษีขายในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งจะมีผลทำให้ภาษีขายเท่ากับ 0 และคำนวณภาษีซื้อในอัตราร้อยละ 7 ดังนั้นภาษีซื้อจะมียอดมากกว่าภาษีขาย ซึ่งมีผลทำให้ผู้ประกอบการได้รับคืนภาษี
สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาประกอบการตั้งอยู่ 2.กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ 3.กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความกำกับดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ประกอบการตั้งอยู่ก็ได้
ใบกำกับภาษี
เอกสารที่ถือเป็นใบกำกับภาษี 1.ใบเพิ่มหนี้ 2.ใบลดหนี้ 3.ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด 4.ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.ใบกำกับภาษีอย่างย่อย (Abbreviation Tax Invoice) หรือเรียกย่อๆว่า ABB Tax Invoice คือใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าในลักษณะขายปลีกให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ใบกำกับภาษีอย่างย่อยนี้อาจจะออกด้วยมือหรือออกด้วยเครื่องบันทึกเงินสด ใบกำกับภาษีแบบนี้ใช้เป็นหลักฐานในการชำระหรือเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ ดังนั้นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องแจ้งความประสงค์ต้องการใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
1.ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (Tax Invoice) คือเอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ใบกำกับภาษีแบบนี้ต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กรมสรรพากรกำหนด (มาตรา 86/4) และใช้เป็นหลักฐานในการชำระหรือเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ภาษีซื้อ (Input Tax) คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจาการซื้อวัตถุดิบ/สินค้า/สินทรัพย์และบริการต่างๆ จากกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม