Categorías: Todo

por Chanakan Songna hace 4 años

1612

อุทกภัย (Flood)

อุทกภัยเป็นภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำท่วม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ฝนตกหนัก หิมะละลาย หรือระดับน้ำทะเลที่หนุนสูง น้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้นสามารถก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัยสามารถทำได้โดยการเฝ้าระวังและปฏิบัติตามแนวทางที่เหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้พื้นที่น้ำท่วมและการตัดไฟฟ้าเมื่อระดับน้ำเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การอพยพออกนอกพื้นที่เสี่ยงเมื่อสถานการณ์รุนแรงก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การเตรียมความพร้อมและการตอบสนองจากภาครัฐก็มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย เช่น การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วมและมีสัญญาณเตือนภัยที่ชัดเจน ทั้งนี้ การเฝ้าระวังสถานการณ์และการปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยลดผลกระทบจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุทกภัย (Flood)

อุทกภัย (Flood)

สมาชิกในกลุ่ม

63118376 นางสาวชนากานต์ สองนา
63117170 นางสาวอัญชนา คุ้มสุวรรณ
63115810 นางสาวพรรณกมล เสนขวัญแก้ว
63115331 นางสาวศยามล ชมเทศ
63101539 นางสาวจีระนันท์ ช่วยเรือง

การช่วยเหลือจากเหตุอุทกภัย

การช่วยเหลือหลังอุทกภัย
3. ได้รับการส่งกลับภูมิลำเนาเดิม
2. การส่งเสริมโภชนาการ การให้ภูมิคุ้มกันโรค การรักษาพยาบาล การสุขาภิบาล การจัดหาน้ำสะอาด การให้สุขศึกษา และการสร้างขวัญกำลังใจ
1. ได้รับการสงเคราะห์ในเรื่องอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่พักอาศัย
การช่วยเหลือขณะเกิดอุทกภัย
3. การช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ผู้ประสบอุทกภัยบางรายอาจได้รับอุบัติเหตุ ขาดอาหาร และเกิดการเจ็บป่วยขึ้น
2.การขนย้ายผู้ประสบภัยควรขนย้ายหรือผู้ประสบภัย สัตว์เลี้ยง และทรัพย์สินออกจากบริเวณที่น้ำท่วม ซึ่งการขนย้ายนี้ จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้า และเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที
1. ค้นหาผู้ประสบภัย ขณะเกิดอุทกภัย บางแห่งน้ำอาจท่วมบ้านเรือนมิดหลังคา บางคนอยู่บนหลังคาบ้าน บางคนกำลังลอยคออยู่ในน้ำ หรือบางคนโดนน้ำพัดพาไปที่อื่น การค้นหาผู้ประสบภัย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยเหลือให้ได้รับความปลอดภัยโดยเร็วที่สุด

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุทกภัย

หลังเกิดอุทกภัย
7. การจัดการด้านสาธารณสุข เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
6. การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย จากหน่วงบรรเทาทุกข์ต่างๆ
5. ซ่อมแซมถนน สะพาน และรางรถไฟ ให้กลับสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด
4. ซ่อมแซมสาธารณูปโภค ให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด
3. ทำความสะอาดบ้านเรือน ถนนหนทางที่เต็มไปด้วยโคลน
2. ช่วยเหลือในการรื้อสิ่งปรักหักพัง ซ่อมแซมบ้านเรือน อาคาร ต่างๆ
1. ขนส่งคนอพยพกลับภูมิลำเนา
ขณะเกิดอุกภัย
7. ติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตดินฟ้าอากาศ หรือติดตามคำเตือนที่เกี่ยวกับลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
6. ระวังสัตว์ที่มีพิษที่หนีน้ำท่วมขึ้นมาอยู่บนบ้าน และหลังคา กัดต่อย เช่น งู ตะขาบ
5. ไม่ควรเล่นน้ำหรือว่ายน้ำเล่นในขณะน้ำท่วม
4. ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก
3. ทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
2. อยู่ในอาคารที่แข็งแรงและอยู่ที่สูงพ้นจากน้ำที่เคยท่วม
1. ตัดสะพานไฟ และปิดแก๊สหุงต้มให้เรียบร้อย
ก่อนเกิดอุทกภัย
3.ขุดลอกแหล่งน้ำที่ตื้นเขินเพื่อให้น้ำไหลได้ดี
2.เตรียมวางแผนอพยพไปยังสถานที่ปลอดภัย
1.ติดตามรายงานสภาวะอากาศจากทางราชการ

ลักษณะภูมิประเทศ

3. บริเวณปากแม่น้ำ เป็นอุทกภัยที่เกิดจากน้ำที่ไหลจากที่สูงกว่าและอาจจะมีน้ำทะเลหนุน ประกอบกับแผ่นดินทรุดจึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังในที่สุด
2. พื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำและชายฝั่ง เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นช้าๆ จากน้ำล้นตลิ่ง เมื่อเกิดจะกินพื้นที่บริเวณกว้าง น้ำท่วมเป็นระยะเวลานาน
1. บริเวณที่ราบ เนินเขา จะเกิดอุทกภัยแบบฉับพลัน น้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็วและมีพลังทำลายสูง ลักษณะแบบนี้ เรียกว่า “น้ำป่า” เกิดขึ้นเพราะมีน้ำหลากจากภูเขา อันเนื่องจากมีฝนตกหนักบริเวณต้นน้ำ จึงทำให้เกิดน้ำหลากท่วมฉับพลัน

ความหมายของอุทกภัย

อุทกภัย (Flood) คือ ภัยที่เกิดจากน้ำท่วม ซึ่งเป็นน้ำที่ท่วมพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นครั้งคราว เนื่องจากมีฝนตกหนักหรือหิมะละลาย ทำให้น้ำในลำน้ำหรือทะเลสาบไหลล้นตลิ่งหรือป่าลงมาจากที่สูง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอุทกภัย

โรคไข้เลือดออก โรคนี้มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคไข้เลือดออกมักทำให้เกิดอาการคล้ายกับการเป็นไข้หวัดทั่วไปจึงมักทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ เช่น มีไข้สูง ผื่นแดงตามร่างกาย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตา และอาเจียน เป็นต้น
โรคฉี่หนูเป็นโรคที่มีสัตว์ อย่างสุนัข แมว หนู วัว และควายเป็นพาหะนำโรค โดยเชื้อโรคจะเข้าสู่คนผ่านการหายใจและรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อที่อาจมาจากการสัมผัสกับมูลและปัสสาวะของสัตว์ หรือการสัมผัสกับน้ำขังที่ได้ชะล้างเอาเชื้อเหล่านี้มา
น้ำกัดเท้าเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในช่วงน้ำท่วม เกิดจากการที่เท้าแช่ในน้ำหรือสวมรองเท้าที่มีความชื้นเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังเปื่อยย่นและบางลง เป็นเหตุให้เชื้อโรค อย่างเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือปรสิตเข้าสู่ผิวหนัง
ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ที่มีคนเป็นพาหะนำโรค โรคนี้มักทำให้เกิดความเสียหายภายในลำไส้ และอาจลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง กระแสเลือด และผิวหนัง เป็นต้น
อาหารเป็นพิษ ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การปรุงอาหารสดใหม่ทุกมื้ออาจเป็นเรื่องที่ลำบาก จึงอาจมีการเก็บอาหารไว้สำหรับรับประทานในมื้อต่อ ๆ ไป ซึ่งการเก็บอาหารไว้นานเกินไปอาจทำให้เชื้อโรคเติบโตได้

การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย

ภาคประชาชน
5. หากสถานการณ์น้ำท่วมมีความรุนแรงจนถึงขั้นต้องอพยพออกนอกสถานที่ให้ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ และควรให้ ความช่วยเหลือคนชราหรือเด็กก่อน โดยปฏิบัติตามแผนการอพยพหนีภัยไปยังสถานที่ปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เช่น อยู่บนที่สูง
4.ในการช่วยเหลือคนตกน้ำ ให้ใช้ห่วงยาง ลูกมะพร้าว หรือเชือก โยนให้คนตกน้ำยึดตัวเองไว้ จะปลอดภัยมากกว่าลงไปช่วยด้วยตนเอง
3. หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำหรือจับปลาเพราะอาจโดนน้ำพัดพาจมน้ำได้ หากระดับน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นให้รีบตัดไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
2. ไม่เข้าใกล้ทางน้ำไหลหรือร่องน้ำเพราะอาจเกิดผืนดินถล่ม
1. หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำหรือเข้าใกล้เสาไฟฟ้าทั้งนอกและในบ้านเพราะอาจโดนไฟฟ้าดูด
ภาครัฐ
2.มีสัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน สถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ที่รางานสถานการณ์มีระดับการเตือนภัยน้ำท่วม 4 ประเภท

4.ภาวะปกติ

3.การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง

2.การเตือนภัยน้ำท่วม

1.การเฝ้าระวังน้ำท่วม

1.มีการจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม

ผลกระทบของอุทกภัย

4. พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ที่กำลังผลิดอกออกผลบนพื้นที่ต่ำ อาจถูกน้ำท่วมตายได้ สัตว์พาหนะ สัตว์เลี้ยง ตลอดจนผลผลิตที่เก็บกักตุน หรือมีไว้เพื่อทำพันธุ์จะได้รับความเสียหาย ความเสียหายทางอ้อม จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยทั่วไป เกิดโรคระบาด สุขภาพจิตเสื่อม และสูญเสียความปลอดภัย เป็นต้น
3. ระบบสาธารณูปโภค จะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ ไฟฟ้า เป็นต้น
2. เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดเป็นช่วงๆ โดยความแรงของกระแสน้ำ ถนนสะพานอาจจะถูกกระแสน้ำพัดให้พังทลายได้ สินค้าพัสดุที่อยู่ระหว่างการขนส่งจะได้รับความเสียหายมาก
1. น้ำท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวพังทลายได้ คน สัตว์พาหนะ และสัตว์อาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ำตาย

ปัจจัยของอุทกภัย

5. สิ่งกีดขวางทิศทางการไหลของน้ำ ในอดีตน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นดินจะไหลโดยอิสระลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันได้มีสิ่งกีดขวางเส้นทางการไหลของน้ำทั้งในลำน้ำ เช่น ตะกอน สิ่งก่อสร้างริมลำน้ำ กระชังปลา ส่วนบริเวณบนพื้นดินมีการสร้างถนน อาคาร บ้านเรือน และพื้นที่เกษตรกรรมขวางทิศทางการไหลของน้ำ น้ำจึงไมสามารถไหลและระบายได้ จึงเกิดน้ำท่วมขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ
4. พื้นที่รองรับน้ำตื้นเขิน นับเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วม เพราะปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาแต่ละปีมีปริมาณไม่แตกต่างกัน แต่ตะกอนในท้องน้ำของแม่น้ำลำคลองและบึงมีมาก เมื่อถึงช่วงฤดูฝนที่มีปริมาณน้ำมากจึงไม่มีแหล่งกักเก็บจึงเอ่อท่วมพื้นที่ต่างๆ
3. น้ำทะเลหนุน ถ้าหากมีน้ำทะเล ขึ้นสูงหนุนน้ำเข้าสู่ปากแม่น้ำจะทำให้น้ำเอ่อไหลล้นฝั่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ
2. พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม บริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี หากมีฝนตกหนักต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำจึงไม่สามารถระบายน้ำออกไปได้
1. ฝนตกหนักและต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจากเกิดลมพายุ ลมมรสุมมีกำลังแรงหรือหย่อมความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง ส่งผลให้ไม่สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ทัน

สาเหตุของอุทกภัย

มนุษย์
4.การจัดการน้ำที่ขาดประสิทธิภาพ
3.การสร้างสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ
2.การขยายเขตเมืองลุกล้ำพื้นที่ลุ่มต่ำ
1.การตัดไม้ทำลายป่า
ธรรมชาติ
4.น้ำทะเลหมุน
3.อิทธิพลจากมรสุม
2.ฝนตกหนักจากพายุหมุเขตร้อน
1.ฝนตกหนักจากพายุฝนฟ้าคะนอง