Categorías: Todo - ชุมชน - พัฒนา - การเรียนรู้ - ความรู้

por krissana krodkaew hace 5 años

173

สังคมความรู้ (Knowledge Society🐯)

สังคมความรู้หมายถึงการรวมตัวของชุมชนที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการใช้ความรู้เพื่อการพัฒนาในทุกด้าน โดยมีการแบ่งยุคของสังคมความรู้ออกเป็นสองยุคหลัก ยุคแรกเน้นการสะสม การผลิต และการจัดการความรู้โดยนักวิชาการและนักวิชาชีพซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตีค่าและประยุกต์ใช้ความรู้ ยุคที่สองมีความพอเพียงและสมดุลมากขึ้น โดยประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างและใช้ความรู้ นอกจากนี้ ลักษณะของสังคมแห่งการเรียนรู้ยังรวมถึงการมีสถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การพัฒนานวัตกรรม การมีภาคีเครือข่ายที่ร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง และการรับผิดชอบร่วมกันในการเรียนรู้และการพัฒนา ทุกคนในชุมชนมีบทบาทเป็นทั้งครูและผู้เรียน ทำให้เกิดการถ่ายโอนและสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อการประยุกต์ใช้ในชุมชนอย่างยั่งยืน

สังคมความรู้
(Knowledge Society🐯)

สังคมความรู้ (Knowledge Society🐯)

วัตถุประสงค์🦄

3.อธิบายกระบวนการจัดการความรู้ได้
2.อธิบายความหมาย ประเภทของความรู้ได้
1.อธิบายลักษณะสำคัญของสังคมความรู้ในแต่ละยุคได้

สังคมความรู้ เป็นกระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคลหรือสมาชิกในชุมชนหรือ สังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ องค์ความรู้ต่าง ๆ จน สามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ มีระบบการจัดการความรู้และระบบการเรียนรู้ที่ดีในสังคมความรู้ นั้นสารสนเทศนับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานส าคัญที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในด้านการประกอบธุรกิจ การค้าขาย การผลิตสินค้า การท่องเที่ยวและบริการ หรือการให้บริการ ทางสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและปกครอง รวมไปถึงสาระบันเทิงในยาม พักผ่อน เป็นต้น ในความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลในสาขาวิชาชีพต่างๆ ทั้งนักวิชาการ นักธุรกิจ นัก สังคมศาสตร์

สรุป

ความรู้นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในสังคมความรู้ ผู้ที่มีความสามารถในการจัดการความรู้ได้ดี จะช่วยให้สามารถพัฒนาศักยภาพตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมหรือองค์กรการเรียนรู้ได้ดี การสะสม ความรู้ถ่ายโอนความรู้สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคมจะช่วยสร้าง และพัฒนาบุคคลหรือองค์กรให้มีความรู้ ความสามารถ รวมถึงทักษะต่างๆ ในการดำรงชีพในสังคม ความรู้ในศตวรรษที่ 21

🐸สาระและเนื้อหา สังคมความรู้ (Knowledge Society)

5. กระบวนการจัดการความรู้(Processes of Knowledge)
กระบวนการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการกับความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรซึ่งมีดังนี้

7.การเรียนรู้ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน

6.การจัดการความรู้ในองค์กรการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

5.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก โดย การใช้พวกระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) หรือการประชาสัมพันธ์บน Web board

4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสม

3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต

2.การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถท าได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

1.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย

4. ความรู้ (Knowledge)
4.3 ประเภทรูปแบบความรู้(Type of Knowledge)แบ่งความรู้ออกเป็น 2ประเภทใหญ่ๆ

2) Explicit Knowledge ความรู้ที่เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้ เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ

1) Tacit Knowledge ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคลหรือความรู้ที่ซ่อนเร้น

4.2 ความหมายของความรู้(Definition of Knowledge)

ความรู้ หมายถึง ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่ง บางสิ่ง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการน าสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ โดยอาศัย 6กระบวนการที่แปรผลมาจากข้อมูล สารสนเทศ การศึกษา ประสบการณ์ต่างๆ ที่สะสมในอดีต และสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไม่จ ากัดในอนาคต

4.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ “ความรู้”

4.1.2 ความหมายของสารสนเทศ (Information)

สารสนเทศ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Information” ซึ่งมีผู้ได้ให้นิยามไว้ต่างๆ และได้สรุปความหมายไว้ว่า

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้ต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้วและสามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้ โดยสารสนเทศนั้นบันทึกไว้ในรูปแบบของวัสดุตีพิมพ์ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์นิตยสาร แผ่นพับ จุลสาร เอกสารจดหมายเหตุและวัสดุไม่ตีพิมพ์ได้แก่ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ วีดิทัศน์แผ่นเสียง เทปโทรทัศน์ข้อมูลจากฐานข้อมูลและจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงวิชา ความรู้ซึ่งคือข้อเท็จจริงที่มีการค้นคว้าได้หลักฐานหรือเหตุผลชัดเจน และจัดเข้าเป็นระเบียบแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

4.1.1 ความหมายของข้อมูล (Data)

คือ สัญลักษณ์ที่ยังไม่ได้แปรความ

3. ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้
3.11 ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน
3.10 ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน
3.9 สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้
3.8 การริเริ่มการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา
3.7 มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
3.6 มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
3.5 มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกันจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน
3.4 สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่มดำเนินการ(Key Institutions)
3.3 ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)
3.2 เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
3.1 ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง
2. ยุคของสังคมความรู้ (Knowledge Society Era) สังคมความรู้แบ่งเป็น 2 ยุค
2.2 สังคมความรู้ยุคที่ 2

เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล บูรณาการ ประชาชนและทุก ภาคส่วนมีบทบาทในการร่วมกันเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ใช้ความรู้ให้เป็นพลัง มีความเป็นอิสระ และพึ่งตนเอง นักวิชาการ นักวิชาชีพมีบทบาทเป็น Knowledge Broker ทำให้เกิดเป็นวิจัยแบบบูรณา ลักษณะสำคัญของสังคมความรู้ยุคที่ 2 คือ

4) มีการประยุกต์ความรู้มาใช้ภายในสังคม

3) มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในสังคม

2) มีการถ่ายโอนความรู้ภายสังคม

1) มีการสะสมความรู้ภายในสังคม

2.1 สังคมความรู้ยุคที่ 1

เป็นสังคมความรู้ที่มีพลังและอำนาจอยู่ด้วยกันเกิดการผลิต มีความสามารถในการแข่งขัน กลไกตลาด และความอยู่รอด ในยุคนี้นักวิชาการหรือนักวิชาชีพ จะมีบทบาทหลักในการจัดการความรู้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีความสามารถ 5 ด้านดังนี

5) Knowledge Dissemination คือ การกระจายความรู้ ปัจจุบันความรู้เป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคนที่จะเข้าถึงความรู้การวิจัยหรือความรู้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างพลังที่นำไปสู่ Empowerment ซึ่งความรู้ไม่ได้มีไว้ใช้เพียง อย่างเดียว แต่ความรู้นำมาสร้างเป็นพลังได้

4) Knowledge Optimization คือ การทำความรู้ให้ง่ายที่จะใช้ การนำความรู้ออกมาเป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ต้องมีพื้นฐานมาจากความรู

การทำคู่มือต่าง ๆ

3) Knowledge Valuation คือ การตีค่า การตีความรู้ ว่าเมื่อมีการใช้ความรู้นั้นแล้วมีความคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งในการตีค่าความรู้ที่มีหลักฐานถูกต้องตามหลักวิชาการแต่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก

5)ไม่สร้างความยุติธรรม และศักดิ์ศรีมนุษย์

4)ขัดกับความคิดความเชื่อ หรือวัฒนธรรม

3)ปฏิบัติจริงได้ยาก ขาดสิ่งจำเป็น

2) ใช้สำหรับสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือ ฟุ่มเฟือย

1)ความ ไม่คุ้มค่า หรือราคาแพงเกินกว่าผลประโยชน

2) Knowledge Validation คือ การประเมินความถูกต้องของความรู้ ความรู้มีทั้งของจริงและของหลอก

1) Knowledge Access คือ การเข้าถึงความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ

ได้แก่ การเข้าถึงความรู้ทาง Internet หรือ ICT Connectivity ต่าง ๆ ต้องประกอบไปด้วยความสามารถในการเข้าถึงความรู้ ความใฝ่รู้ เวลาในการหาความรู้ และการทำความรู้ให้ใช้ได้ง่าย

1.นิยามหรือความหมายของสังคมความรู้ (Definition of Knowledge Society)
สังคมที่มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศสูง จากความรู้ที่มีบุคลากรทำงานโดยใช้ทักษะและความรู้สูง อีกความหมายหนึ่งได้อธิบายถึงสังความรู้ว่าเป็นกระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคลหรือสมาชิกในชุมชนหรือสังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ องค์ความรู้ต่าง ๆ จนสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ มีระบบการจัดการความรู้และระบบ การเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนในสังคมทำให้เกิดพลัง